Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / เจดีย์โบราณ (เขาคอกวาง ต. สิชล)
เจดีย์โบราณ (เขาคอกวาง ต. สิชล)

รายละเอียด

เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ (พ.ศ.)

ที่อยู่
หมูที่ 1 ตำบล สิชล พิกัด (9.005720,99.928000)

สถานะ
ขุดค้นโดยกรมศิลป์โดยไม่ได้พัฒนาต่อ

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
ชุมชน

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) ที่ตั้ง แหลมเขาคอกวาง ต. สิชล อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับที่ดินเอกชน ทิศใต้ ติดกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก ติดกับทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินเอกชน สภาพทั่วไป เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้ ประวัติความเป็นมา นายชาญวัฒนา อิสระวัฒนา (เจ้าของที่ดิน) เล่าว่า พื้นที่บริเวณนี้คุณตาของนายชาญวัฒนา อิสระวัฒนาเข้ามาบุกเบิกจับจองเพื่อทำมาหากินประมาณ 120 ปีมาแล้ว ขณะบุกเบิกพบเจดีย์ตั้งบนยอดเขาแล้ว แต่ไม่ปรากฏชื่อหรือประวัติการสร้าง ภายหลังจึงตั้งชื่อเรียกตามชนิดของต้นไม้ที่ปกคลุมองค์เจดีย์ว่า “เจดีย์ร่มโพธิ์ร่มไทร” ปัจจุบันมีการปรับพื้นที่และซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดบริเวณฐานเจดีย์เนื่องจากมีการขุดเจาะหาสิ่งมีค่าภายในเจดีย์ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ 1. เจดีย์ เป็นทรงระฆังก่ออิฐสอปูน ลักษณะฐานเจดีย์เป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมจตุรัสยาวประมาณด้านละ 2.7 เมตร สูงประมาณ 60 เซนติเมตร องค์ระฆังยืดสูงเป็นทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่านรอบวงประมาณ 2.5 เมตร มีลวดบัวรัดบริเวณส่วนล่างขององค์ระฆัง ส่วนยอดชำรุดหักพัง มีต้นโพธิ์ต้นไทรปกคลุมหนาแน่น เจดีย์สูงประมาณ 5 เมตร ปูนที่ใช้สอเป็นปูนหมักปูนตำ มีส่วนผสมของเปลือกหอยในเนื้อปูน ลักษณะอิฐที่ใช้ก่อสร้างส่วนฐานเป็นอิฐทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 11 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร หนา 5.5 เซฯติเมตร ก่อเรียงแบบสั้นสลับยาว ส่วนองค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐหน้าวัวขนาด หน้าแคบกว้าง 13 เซฯติเมตร หน้ายาวกว้าง 17 เซนติเมตร ความยาว 13.5 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร 2. กำแพงหิน มีลักษณะเป็นแนวกำแพง สร้างจากการเรียงหินขนาดต่าง ๆ ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเรียง 3 ด้าน ยกเว้นด้านตะวันออก กำแพงด้านเหนือกว้าง 4 เมตร ด้านใต้กว้าง 6 เมตร ด้านตะวันตกยาว 15 เมตร ขนาดความสูงในแต่ละด้านไม่เท่ากัน เนื่องจากพื้นที่เดิมของภูเขามีการลาดเทจากด้านตะออกไปด้านตะวันตก กำแพงหินด้านตะวันตกสูงประมาณ 1.6 เมตร สูงกว่าด้านอื่น ๆ กำแพงดังกล่าวใช้เป็นกำแพงกันดิน เพื่อปรับพื้นที่ให้ราบสำหรับการก่อสร้างเจดีย์ และเป็นลานโล่งเพื่อใช้ประโยชน์ ลักษณะการก่อกำแพงหินกันดิน เพื่อปรับสภาพสำหรับสร้างเจดีย์สามารถเห็นตามแหล่งโบราณสถานอื่น ๆ เช่น โบราณสถานเขาคา อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช โบราณสถานเขาศรีวิชัย อ. พุนพุน จ. สุราษฏร์ธานี นอกจากนี้พบว่าเจดีย์องค์นี้มีลักษณะทรงระฆังคล้ายคลึงกับเจดีย์ต่าง ๆ ที่พบในเขต จ. นครศรีธรรมราช เช่น เจดีย์บ้านไสอิฐ ต. เสาเภา อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช เจดีย์วัดเขาพระบาท ต. เขาพระบาท อ. เชียรใหญ๋ จ. นครศรีธรรมราช


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช


วันที่เก็บข้อมูล
9 ก.ย. 2566

เอกสารอ้างอิง

รายงานการขุดค้น สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช


แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

354 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ถ้ำเขาพรงตะวันออก
...
ถ้ำเขาพรง นับเป็นถ้ำเก่าแก่ถ้ำหนึ่งของหมู่ 15 ต. ทุ่งปรัง อ.สิชล สถานที่ตั้งอยู่บนภูเขามีพระพุทธรูปทั้งพระนออนและพระนั่งประดิษฐานอยู่ในถ้ำและมีของเก่าแก่มากมายที่เหมาะกับเป็นแหล่งศึกษาด้านประวัติศาสตร์และศาสนา สำหรับถ้ำเขาพรงมีสองฝั่งคือ ถ้ำเขาพรงตะวันออกและถ้ำเขาพรงตะวันตก จากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์นายวิชัย อาจหาญ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าถ้ำเขาพรงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริเวณนี้ยังมีถ้ำนาคราชอีกถ้ำหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม
ถ้ำนาคราช
ถ้ำนาคราชตั้งอยู่ที่เขาพรงตะวันออก มีลักษณะเป็นถ้ำ เพิงผาถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดต่าง ๆ ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยเป็นรูปต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือรูปพญานาค หากมีฝนตกหนักในช่วงฤดูฝนอาจมีน้ำท่วมขังภายในถ้ำ และบริเวณ
อ่านเพิ่มเติม
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม