Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / พระพุทธรูปโบราณ ณ ถ้ำเขาพรงตะวันออก
พระพุทธรูปโบราณ ณ ถ้ำเขาพรงตะวันออก

รายละเอียด

ภายในถ้ำเขาพรงมีพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชจำนวนหลายสิบองค์ ทั้งพระพุทธรูปโบราณประทับนั่งขัดสมาธิ จำนวน 27 องค์ พระพุทธไสยาสน์ 1 องค์ ขนาดยาวประมาณ 7 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยพระพุทธรูปทั้งหมดประดิษฐานบนแท่นคอนกรีตสูงจากพื้นดินราว 1 เมตร ต่อเนื่องกับผนังถ้ำตลอดแนวยาวกว่า 32 เมตร พระพุทธรูปที่พบทำจากปูนปั้นและหินทรายขนาดต่าง ๆ


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ ก่อนประวัติศาสตร์ (พ.ศ.ก่อนประวัติศาสตร์)

ที่อยู่
หมูที่ 15 ตำบล ทุ่งปรัง พิกัด (8.928290,99.857100)

สถานะ
ขุดค้นโดยกรมศิลป์โดยไม่ได้พัฒนาต่อ

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
สำนักศิลปากรที่ 12

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าประเพณี

ด้วยความเก่าแก่ของพระพุทธรูปภายในถ้ำจึงเป็นที่สนใจของใครหลายคน หลายครั้งนักแสวงลาภได้เข้าไปเพื่อค้นหาสิ่งมีค่า ซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณเชื่อกันว่า ได้ใส่แก้ว แหวน เงิน ทอง ของมีค่าไว้ในองค์พระ จึงมีการเจาะหาสมบัติหาลายแทงเลยทำให้พระพุทธรูปที่อยู่ในถ้ำถูกทำลาย องค์หลัก ๆ ที่ถูกบันทึกว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์คือ องค์เขียวและองค์ขาว โดยมีคำกล่าวถึงพระสององค์นี้ว่า “พระเขียวโฉ่ฉาว พระขาวขวางกัน หัวรีต่อหัวสั้น ตรงไหนตรงนั้นแหละ” คำกล่าวนี้เชื่อกันว่า คือลายแทงสมบัติแต่ก็ไม่มีใครสามารถตีความหมายได้ ชาวบ้านเล่าต่อกันว่า พระในถ้ำศักดิ์สิทธิ์มาก หากใครคิดทำลายจะต้องมีอันเป็นไปไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง


ประเพณีที่เกี่ยวข้อง
(คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณี ช่วงที่จัด ขั้นตอนที่ดำเนินการ)

“วิสาขบูชาแห่ผ้าขึ้นถ้ำ” จัดขึ้นในวันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 6 หรือเดือนเวสาขะ ประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อฟื้นฟูถ้ำเขาพรงให้กลับสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอสิชล กิจกรรมถูกจัดขึ้นบริเวณสำนักสงฆ์ถ้ำเขาพรง พิธีกรรมสำคัญคือ แห่ผ้าพระบฏขึ้นไปห่อองค์พระในถ้ำเขาพรง โดยมีการจัดริ้วขบวนอย่างสวยงาม เริ่มแห่ผ้าพระบฏตั้งแต่ลานเอนกประสงค์ เดินเป็นขบวนตามแนวถนนจนถึงอุโบสถ และริ้วขบวนจะนำผ้าพระบฏหรือผ้าสี เครื่องสักการะอื่น ๆ เดินทางต่อไปยังถ้ำและนำผ้าพระบฎไปห่มองค์พระในถ้ำ


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

1. นางอรอุมา แซ่จิ้ว อายุ 60 ปี
2. นายโอภาส แก้วเสน อายุ 68 ปี
3. นายนาถวัฒน์ ทองทรัพย์ อายุ 56 ปี


การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
FB: นาถวัฒน์ ทองทรัพย์

วันที่เก็บข้อมูล
3 มี.ค. 2566

เอกสารอ้างอิง

1. บัญชา พงษ์พานิช. (17 พฤษภาคม 2563). เพื่อแผ่นดินเกิด วัดถ้ำเขาพรงตะวันออกติดต่อกันกับวัดเจดีย์ที่ไอ้ไข่อยู่. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.bunchar.com/version1/index.php/belovedhomeland/3967-20200515-7-this-the-eastern-cave-temple-nearby-whereaikailive 2. นายธีรยุทธ บัวทอง. (23 มกราคม 2563). ถ้ำเขาพรง มนต์เสน่ห์แห่งประวัติศาสตร์. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://travel.trueid.net/detail/lvkXX1mG4GGn 3. นงคราญ ศรีชาย, วิโรจน์ พร้อมศรีทอง, ยงยุทธ แจ่มวิมล, วรางคณา ทองสุข และสุภาวดี อุ่ยสกุล. (2540). โบราณสถานในเขตควบคุมดูแลรักษา สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช


แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

295 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
พระลากวัดเขาน้อย

เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา

อ่านเพิ่มเติม
กลองมโหระทึก

“ลักษณะเฉพาะของกลองมโหระทึก” กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อมีอายุประมาณ 2000-3000 ปี ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนาม สำหรับกลองมโหระทึกที่ถูกค้นพบที่บ้านเทพราชแห่งนี้มีแค่ส่วนของหน้ากลองที่เป็นแผ่นเรียบ หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์สาดแสงสบแฉก ถัดไปเป็นลายเรขาคณิต (ขีดและวงกลมสลับกัน และเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีนที่เชื่อมต่อกันไปโดยรอบวง) และลายนกบิน สภาพยังคงสมบูรณ์ แม้จะมีบางส่วนถูกรถไถทำลายไปบ้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 ซม.

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปภายในถ้ำมืด

ถ้ำมืดตั้งอยู่ภายในเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปซึ่งเป็นร่องรอยของอารยธรรมสมัยอยุธยา ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) 

อ่านเพิ่มเติม