ถ้ำภาพเขียนสีอยู่ด้านทิศเหนือของเขาวัดถ้ำ บริเวณที่รัยกว่า "ในวัง" มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขาหันไปทางทิศใต้ ลักษณะเป็นโพรงถ้ำแนวนอนแคบ ๆ ภายในมีภาพเขียนสีโบราณที่ถูกเขียนไว้ตามฝาผนังถ้ำ เขียนเป็นรูปอดีตพุทธประทับนั่งเรียงกันเป็นแถว จำนวน 15 องค์ ปัจจุบันภาพลบเลือนไปมากแล้ว จากร่องรอยที่เหลืออยู่สันนิษฐานว่า แต่ละองค์แสดงปางมารวิชัย และมีพุทธลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ปรากฏว่า มีอดีตพุทธบางองค์ประทับนั่งบนฐานสูง และมีการค้นพบถ้วยชามโบราณอีกด้วย ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรูบริเวณก้น เครื่องถ้วยจีนราชวงศ์หมิง (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) และชิ้นส่วนปะติมากรรมสำริด เป็นต้น
"เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของทวดเขียว" คนในแถบนี้ไม่มีใครกล้าหยิบหรือนำอะไรออกจากถ้ำ เพราะต่างเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ชื่อว่า “ทวดเขียว” มีคนเล่าว่า ในช่วงค่ำขณะเดินทางมาจาก ต. ฉลอง ต้องเดินทางผ่านช่องเขาไปทางหน้าถ้ำ พวกเขาเห็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำยืนคล่อมทางอยู่ กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องเดินลอดหว่างขาชายรูปร่างสูงใหญ่นั้นไป และหากชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นภายในหมู่บ้านจะมีงูบองหลา (จงอาง) มาแสดงให้เห็นเพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง นอกจากนี้หน้าถ้ำภาพเขียนสีเมื่อถึงฤดูฝน น้ำจะตกจากภูเขาโดยรอบแล้วตกลงยังพื้นที่ตรงนั้นประมาณ 10 ไร่ เมื่อน้ำตกลงมาก็ไปตามช่องไม่ใหญ่มากด้านล่าง ไม่มีใครทราบว่าน้ำที่ตกลงมาไปสิ้นสุดที่ใด พอประมาณการได้ว่าถ้ำแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับถ้ำเขาพรงคือข้างล่างอาจจะมีแอ่งน้ำที่ใหญ่มากรองรับอยู่ นอกจากนี้ยังมีพวกแสวงโชค แสวงหาของขลังมาตีพระพุทธรูปในถ้ำเพื่อต้องการเหล็กไหล สมัยก่อนมีคนมาทำพิธีเพื่อขอเหล็กไหลจากถ้ำ (ตามความเชื่อเหล็กไหลคือของศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่า มีเทพรักษาสถิตอยู่แตกต่างกันตามชนิดของเหล็กไหล) คนที่มาแสวงหาเหล็กไหลส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เพราะคนในชุมชนเองไม่กล้าขึ้นไปหาเพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์
1. นายอุดร วิบูลย์ศิลป์
2. นายวิเชียร วิบุลศิลป์
3. นายนิวัฒน์ งามขำ
4. นายธัญยพงศ์ นาคกายสิทธิ์
เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา
“ลักษณะเฉพาะของกลองมโหระทึก” กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อมีอายุประมาณ 2000-3000 ปี ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนาม สำหรับกลองมโหระทึกที่ถูกค้นพบที่บ้านเทพราชแห่งนี้มีแค่ส่วนของหน้ากลองที่เป็นแผ่นเรียบ หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์สาดแสงสบแฉก ถัดไปเป็นลายเรขาคณิต (ขีดและวงกลมสลับกัน และเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีนที่เชื่อมต่อกันไปโดยรอบวง) และลายนกบิน สภาพยังคงสมบูรณ์ แม้จะมีบางส่วนถูกรถไถทำลายไปบ้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 ซม.