ถ้ำตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำยังไม่มีใครลงไปสำรวจอย่างจริงจังแต่มีลักษณะเป็นเหวลึกลงไป ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ)
"เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของทวดเขียว" คนในแถบนี้ไม่มีใครกล้าหยิบหรือนำอะไรออกจากถ้ำ เพราะต่างเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ชื่อว่า “ทวดเขียว” มีคนเล่าว่า ในช่วงค่ำขณะเดินทางมาจาก ต. ฉลอง ต้องเดินทางผ่านช่องเขาไปทางหน้าถ้ำ พวกเขาเห็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำยืนคล่อมทางอยู่ กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องเดินลอดหว่างขาชายรูปร่างสูงใหญ่นั้นไป และหากชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นภายในหมู่บ้านจะมีงูบองหลา (จงอาง) มาแสดงให้เห็นเพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง นอกจากนี้ยังมีพวกแสวงโชค แสวงหาของขลังมาตีพระพุทธรูปในถ้ำเพื่อต้องการเหล็กไหล สมัยก่อนมีคนมาทำพิธีเพื่อขอเหล็กไหลจากถ้ำ (ตามความเชื่อเหล็กไหลคือของศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่า มีเทพรักษาสถิตอยู่แตกต่างกันตามชนิดของเหล็กไหล) คนที่มาแสวงหาเหล็กไหลส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เพราะคนในชุมชนเองไม่กล้าขึ้นไปหาเพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์
1. นายอุดร วิบูลย์ศิลป์
2. นายวิเชียร วิบุลศิลป์
3. นายนิวัฒน์ งามขำ
4. นายธัญยพงศ์ นาคกายสิทธิ์
ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย