Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / บ้านไม้กึ่งปูนของตระกูล นพเดช
บ้านไม้กึ่งปูนของตระกูล นพเดช

รายละเอียด

บ้านหลังนี้เดิมที่เป็นบ้านไม้ยกพื้นสูง ไม้ที่สร้างบ้านถูกรื้อมาจากเรือนหลังเก่าของขุนทิพย์พิมล ปัจจุบันใต้ถุนบ้านปรับปรุงใหม่โดยก่ออิฐถือปูน เมื่อขึ้นไปด้านบนพบกับลานกว้าง ๆ มีห้องอยู่ด้านข้าง 2 ห้อง ห้องด้านข้างสร้างไว้สำหรับลูกสาว ส่วนลานกว้างไว้เป็นที่หลับนอนของลูกชาย ที่บ้านหลังนี้มีภูมิปัญญาการเจาะไม้กระดานไว้นอกชานบ้านให้เป็นช่องเพื่อใช้สำหรับปัสสาวะของผู้หญิงบนเรือน ห้องน้ำแยกออกจากตัวบ้าน มีครัวอยู่ใต้ถุนบ้าน


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 25 (พ.ศ.2401-2500)

ที่อยู่
หมูที่ 14 ตำบล ทุ่งปรัง พิกัด (8.975569,99.870084)

สถานะ
อยู่ในความดูแลของชาวบ้าน/วัด/ชุมชน

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
นายศุภวัฒน์ อ๋องผู้ดี

ศาสนา
ไม่ระบุ

เรื่องเล่าประเพณี

"ภูมิปัญญาการสร้างบ้าน" บนบ้านจะมีการเจาะไม้กระดานสำหรับเป็นช่องปัสสาสะของผู้หญิงในยามค่ำคืน สาเหตุที่ต้องเจาะไม่กระดานให้เป็นช่องปัสสาวะเนื่องจาก สมัยก่อนห้องน้ำจะอยู่ด้านล่างแยกกับตัวบ้าน เมื่อตกกลางคืนอาจเกิดอันตรายกับผู้หญิงได้ถ้าหากจะเข้าห้องน้ำ เช่น อาจมีโจรมาดักปล้น เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงเจาะแผ่นกระดานด้านบนบ้านไว้สำหรับใช้ปัสสาวะ นอกจากนี้บนเรือนหลังนี้ยังมี “ขื่อ” สร้างไว้สำหรับจับคนป่วย คนสติไม่ดี หรือคนกระทำผิดมามัดไว้ก่อนจะส่งทางการ ลักษณะของขื่อ คือ จะมีเสาร้อยด้วยน็อตอยู่ 1 เสาทำจากไม้ ตอกลงไปบนกระดานของบ้าน มีโซ้ร้อยไว้เป็นช่วง ๆ ไว้สำหรับจองจำคนที่มีอาการไม่ปกติ และล้อมรอบด้วยกรงขนาดไม่ใหญ่มากนัก ปัจจุบันถูกตัดออกไปหมดแล้ว นอกจากนี้ที่หน้ายังมีต้นมะม่วงแก้มแดงที่โตมากต้นหนึ่ง มีอายุ 100-200 ปี หลายครั้งที่มีคนเห็นผู้หญิงอุ้มเด็กเดินเข้าไปยังต้นมะม่วงนี้


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

นายศุภวัฒน์ อ๋องผู้ดี อายุ 60 ปี


การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
นายศุภวัฒน์ อ๋องผู้ดี (0945819141)

วันที่เก็บข้อมูล
8 มิ.ย. 2566

แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

313 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
วัดถ้ำเทียนถวาย
วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดเก่าแก่ ถูกสร้างโดยวิธีการขว้างด้วยเลฑฑุบาต(เลฑฑุบาตมีความหมายทางตรงว่า “ก้อนดิน อาณาเขตที่สร้างด้วยก้อนดิน” แต่ความหมายทั่วไปคือ “วัดสำคัญในเมืองนั้น ๆ ที่ถูกสร้างโดยการใช้วิธีเลฑฑุบาต ซึ่งครั้งอดีตการสร้างวัดกำหนดว่าวัดนั้น ๆ จะได้อาณาเขตเท่าใดต้องทำพิธีปั้นดินเป็นก้อน ๆ แล้วขว้างออกไปเพื่อให้ได้อาณาเขต การวัดระยะทางเช่นนี้วัดจากคนขว้างจนถึงที่ก้อนดินตกเป็น 1 เลฑฑุบาต เนื่องจากเมื่อก่อนยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนั้น ๆ จึงใช้วิธีนี้แทน วิธีนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2) วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือจดเขาวัดถ้ำ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทางสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 20 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2428 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง วิหาร กว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีฌาปนสถาน หอระฆัง โรงครัว และกุฏิเจ้าอาวาส ปูชณียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูง 80 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 พระประธานประจำศาลาการเปรียญปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 48 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527
อ่านเพิ่มเติม
เรือนเก่าอดีตเจ้าเมืองอลอง (ขุนทิพย์ขุนทิพย์พิมลแห่งแขวงสุชลฉลอง)
ปัจจุบันเรือนเก่าหลังนี้หลงเหลือแค่ตอเสาที่สร้างจากไม้แกนขี้เหล็กทั้งต้น ชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเรือนถูกรื้อไปสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งเรือนเก่าของขุนทิพย์
อ่านเพิ่มเติม
เตาถลุงเหล็ก ณ บ้านสวนพอด้วน

เป็นเตารูปทรงคล้ายจอมปลวก สูง 80 เซนติเมตร กว้างด้านละ 2 เมตร มีช่องเข้าทางทิศตะวันออก วัสดุที่ครอบเตาเป็นตะกรันเหล็ก ลักษณะของเตาที่พบมีความสอดคล้องกับเตาถลุงเหล็กที่พบทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างทางเหนือสมัยถูกต้อนมายังเมืองอลองเมื่อครั้งอดีต 

อ่านเพิ่มเติม