บ้านหลังนี้เดิมที่เป็นบ้านไม้ยกพื้นสูง ไม้ที่สร้างบ้านถูกรื้อมาจากเรือนหลังเก่าของขุนทิพย์พิมล ปัจจุบันใต้ถุนบ้านปรับปรุงใหม่โดยก่ออิฐถือปูน เมื่อขึ้นไปด้านบนพบกับลานกว้าง ๆ มีห้องอยู่ด้านข้าง 2 ห้อง ห้องด้านข้างสร้างไว้สำหรับลูกสาว ส่วนลานกว้างไว้เป็นที่หลับนอนของลูกชาย ที่บ้านหลังนี้มีภูมิปัญญาการเจาะไม้กระดานไว้นอกชานบ้านให้เป็นช่องเพื่อใช้สำหรับปัสสาวะของผู้หญิงบนเรือน ห้องน้ำแยกออกจากตัวบ้าน มีครัวอยู่ใต้ถุนบ้าน
"ภูมิปัญญาการสร้างบ้าน" บนบ้านจะมีการเจาะไม้กระดานสำหรับเป็นช่องปัสสาสะของผู้หญิงในยามค่ำคืน สาเหตุที่ต้องเจาะไม่กระดานให้เป็นช่องปัสสาวะเนื่องจาก สมัยก่อนห้องน้ำจะอยู่ด้านล่างแยกกับตัวบ้าน เมื่อตกกลางคืนอาจเกิดอันตรายกับผู้หญิงได้ถ้าหากจะเข้าห้องน้ำ เช่น อาจมีโจรมาดักปล้น เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงเจาะแผ่นกระดานด้านบนบ้านไว้สำหรับใช้ปัสสาวะ นอกจากนี้บนเรือนหลังนี้ยังมี “ขื่อ” สร้างไว้สำหรับจับคนป่วย คนสติไม่ดี หรือคนกระทำผิดมามัดไว้ก่อนจะส่งทางการ ลักษณะของขื่อ คือ จะมีเสาร้อยด้วยน็อตอยู่ 1 เสาทำจากไม้ ตอกลงไปบนกระดานของบ้าน มีโซ้ร้อยไว้เป็นช่วง ๆ ไว้สำหรับจองจำคนที่มีอาการไม่ปกติ และล้อมรอบด้วยกรงขนาดไม่ใหญ่มากนัก ปัจจุบันถูกตัดออกไปหมดแล้ว นอกจากนี้ที่หน้ายังมีต้นมะม่วงแก้มแดงที่โตมากต้นหนึ่ง มีอายุ 100-200 ปี หลายครั้งที่มีคนเห็นผู้หญิงอุ้มเด็กเดินเข้าไปยังต้นมะม่วงนี้
นายศุภวัฒน์ อ๋องผู้ดี อายุ 60 ปี
เป็นเตารูปทรงคล้ายจอมปลวก สูง 80 เซนติเมตร กว้างด้านละ 2 เมตร มีช่องเข้าทางทิศตะวันออก วัสดุที่ครอบเตาเป็นตะกรันเหล็ก ลักษณะของเตาที่พบมีความสอดคล้องกับเตาถลุงเหล็กที่พบทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างทางเหนือสมัยถูกต้อนมายังเมืองอลองเมื่อครั้งอดีต