เป็นเขื่อนขนาดเล็กที่สร้างจากการเรียงโขดหินอย่างเป็นระเบียบเป็นแนวยาว เพื่อกันการกัดเซาะของน้ำและการงอกของทราย ปลายเขื่อนมีประภาคารเพื่อส่งสัญญาณให้เรือที่เดินทางรู้ว่าต้องแล่นเรือไปทางใดล
"ที่มาของการสร้างเขื่อนกันน้ำที่ปากน้ำสิชล"
ก่อนหน้านี้ตรงนี้ไม่มีเขื่อนหินกั้นน้ำ ตรงกลางจะเป็นร่องน้ำ หินไม่เสมอกันมีทั้งเล็กใหญ่ เวลาเรือเข้าจะวิ่งชนหินเหล่านั้นก่อให้เกิดความเสียหายเยอะมากจึงคิดสร้างเขื่อนกั้นน้ำขึ้นมา ประกอบกับที่หาดทรายตรงนี้เมื่อประทะกระแสน้ำก็จะพัดทรายเข้ามาทำให้ทรายเข้ามาต่อร่องน้ำเกือบติดกัน เมื่อน้ำเหนือมาน้ำจะท่วมและไหลเชี่ยว ปากร่องน้ำก็ถูกคลื่นลมกัดเซาะส่งผลให้ในอดีตแถบนี้เปรียบเสมือนสุสานเรือ ช่วงที่เผชิญปัญหาหนัก ๆ คือเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ช่วงนี้เรื่ออับปางเยอะ ปีหนึ่งเสียหายหลายร้อยล้าน เช่นเดียสกันกับปากน้ำท่าหมากและปากดวดที่ต้องเผชิญปัญหานี้จึงปิดตัวลง ส่วนเรือที่เข้ามาเมื่อก่อนจำกัดความหนักอยู่ที่ 10-15 ตัน แต่หลังจากสร้างเขื่อนสามารถให้เรือหนัก 40-50 ตันวิ่งเข้ามาได้ นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลว่า เขื่อนที่ปากน้ำสิชลนี้คือเขื่อนกั้นน้ำแรกในประเทศไทย เป็นความคิดในการแก้ปัญหาร่องน้ำได้อย่างไร จึงคิดว่าน่าจะมีเขื่อนกั้นทรายแบบนี้ขึ้นมา จึงยื่นหนังสือต่อรัฐบาลเพราะอนุมัติการสร้างเขื่อนกันทรายแห่งนี้ขึ้น สำหรับเขื่อนกั้นทรายที่ปากน้ำสิชลมี 2 เขื่อน สำหรับเขื่อนที่หนึ่งใช้เวลาถึง 15 ปีจึงดำเนินการสร้างเขื่อนกั้นทรายโดยใช้หินมาสร้าง เขื่อนตัวที่ 1 สร้างมาเกือบ 30 กว่าปีแล้ว หลังสร้างตัวที่หนึ่งสำหรับยังแก้ปัญหาได้ไม่สมบูรณ์จึงสร้างตัวที่สองขึ้นมาอีก เพราะหากมีเขื่อนแค่ฝั่งเดียวน้ำจะซัดเรือแตกอีกจึงขอสร้างเขื่อนที่ 2 ขึ้น เขื่อนตัวที่สองใช้เวลาขอรัฐบาลเพียงไม่ถึงปี โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้เขื่อนที่สร้างสมบูรณ์พร้อมรับเรือเข้า พร้อมกับส่งหนักสือไป 3 ฉบับถึงรัฐบาล ฉบับที่ 1 บอกเหตุผลของการสร้างเขื่อนเพิ่ม ฉบับที่ 2 เพื่อสอบถามการดำเนินการสร้าง และฉบับที่ 3 เพื่อขอบคุณที่มาสร้างเขื่อนให้ชาวปากน้ำสิชล เขื่อนตัวแรกใช้เวลาสร้างห่างจากตัวที่สองประมาณ 2-3 ปี นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลเสริมว่า เขื่อนแห่งนี้ถือเป็นเขื่อนแรกและเขื่อนต้นแบบให้ที่อิ่น ๆ แก้ปัญหาเรืออับปาง เขื่อนเช่นนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยแท้
นายสุธรรม วิชชุไตรภพ อายุ 84 ปี