ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง คำว่า ย่อมุมไม้สิบสอง เป็นคำอธิบายลักษณะส่วนมุมของอาคาร เจดีย์ พระเมรุหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ทำให้มุมมีหยักเป็นเหลี่ยมออกมา แทนที่ตรงมุมจะมีเพียงมุมเดียว กลับทำหักย่อลงทำให้เป็น 3 มุม เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่สิ่งก่อสร้าง การย่อมุมทำให้มุมหนึ่งเกิดเป็น 3 มุม อาคาร เจดีย์ หรือ พระเมรุ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างทรงสี่เหลี่ยมมี 4 มุม จึงกลายเป็น 12 มุม สำหรับการย่อมุมใรทาลสถาปัตยกรรมคือ การแตกมุมใหญ่ให้เป็นมุมย่อยหลายๆ มุม แต่ยังรวมอยู่ในรูปของมุมใหญ่ ตามหลักที่นิยมมาแต่โบราณมักเป็นเลขคี่ เช่น แตกเป็นสาม เป็นห้า เรียกว่าย่อไม้สิบสอง ย่อไม้ยี่สิบ การเรียกนับสิบสองหรือยี่สิบ คือเรียกตามจำนวนที่ย่อไม้ทั้งสี่มุมเป็นชื่อจำนวนที่ย่อรวมกัน สำหรับเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองนี้ เป็นอิทธิพลการสร้างเจดีย์ของภาคกลางและภาคเหนือไม่ใช่อิทธิพลของนครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่า แนวคิดนี้เชื่อว่าน่าจะเป็นแนวคิดของช่างในสมัยสุโขทัย เห็นได้จากเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ฐานขององค์ระฆังที่เป็นรูปวงกลมจะวางอยู่บนฐานเจดีย์ที่มีผังเป็นสี่เหลี่ยม แต่เพื่อให้เกิดความกลมกลืนสัมพันธ์กับระหว่างรูปทรงเหลี่ยมกับทรงกลม จึงเกิดแนวคิดในการตัดทอนเหลี่ยมมุม ให้ทั้งสองรูปทรงมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่ติดขัด ภายในเจดีย์มีการบรรจุกระดูกเอาไว้
ภายในเจดีย์มีการบรรจุกระดูกเอาไว้ด้วย สันนิษฐานว่ากระดูกนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกแบ่งมาจากของพระพยมวัง เนื่องจากสมัยนั้นตอนที่พระพนมวังและนางสะเดียงทองมอบหมายหน้าที่ให้ลูกหลานไปหักป่าให้เป็นนาในเมืองต่าง ๆ ได้ส่งเจ้าเชียงแสนซึ่งเป็นหลานของนางสะเดียงทองมาที่เมืองอลองเพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำนา ส่วนให้เมื่อลูกหลานเดินทางไปที่ใดมักนำกระดูกของพระพนมวังไปด้วยทุกที่ ฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่ากระดูกนั้นคือของพระพนมวังซึ่งอายุของกระดูกประมาณ 700 ปี
นายจิรพันธ์ สุคนธชาติ
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (1 ธันวาคม 2551). ย่อมุมไม้สิบสอง. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%91-%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%84
ปัจจุบันศาลเจ้าแห่งนี้เหลือแค่เพียงโครงสร้างไม้ หลังคายังคงมุงกระเบื้อง ตั้งอยู่บนเนินสูงในสวนปาล์มของชาวบ้าน ไม่เหลือร่องรอยอย่างอื่นให้ศึกษา