Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / ศาลเจ้าโคกหลา
ศาลเจ้าโคกหลา

รายละเอียด

ปัจจุบันศาลเจ้าแห่งนี้เหลือแค่เพียงโครงสร้างไม้ หลังคายังคงมุงกระเบื้อง ตั้งอยู่บนเนินสูงในสวนปาล์มของชาวบ้าน ไม่เหลือร่องรอยอย่างอื่นให้ศึกษา


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 25 (พ.ศ.2401-2500)

ที่อยู่
หมูที่ 2 ตำบล เขาน้อย พิกัด (8.9318140,99.8095900)

สถานะ
ถูกทิ้งร้าง

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
เอกชน

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าประเพณี

ศาลเจ้าโคกหลาแห่งนี้เป็นศาลเจ้าชาวไทยเชื้อสายจีน โคกหลาคือหลา (ศาลา) เก่า ที่ตั้งอยู่บนเนินสูงซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่า โคก ครั้งอดีตเมื่อถึงประเพณีชักพระเดือน 11 (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) ชาวบ้านละแวกวัดเขาน้อยจะประดับเรือพนมพระและเรือพนมพระถูกลากจากวัดเขาน้อย ผ่านทุ่งนาและค้างแรมที่โคกหลา 1 คืน ก่อนจะลากลับมาที่วัดเขาน้อยอีกครั้งในวันถัดไป สมัยนั้นใช้หนวน (หนวนหรือหลวน เป็นคำที่คนท้องถิ่นในภาคใต้ใช้เรียกพาหนะที่คล้ายเกวียนแต่ไม่มีล้อ ซึ่งทั่วไปจะหมายถึง เลื่อน ที่ใช้บรรทุกของหนัก) ในการลาก ตามความเชื่อที่ลากไปโคกหลาเพราะต้องการลากเพื่อให้เกิดเป็นพิธี ไม่ต้องลากไปไกลก็ได้แต่ตลอดคืนที่เรือพนมพระไปค้างคืนจะต้องมีคนคุมอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันการลากพระได้เปลี่ยนไปเป็นการค้างคืนที่หน้าอำเภอสิชลแทน


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

นายจิรพันธ์ สุคนธชาติ


การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
นายจิรพันธ์ สุคนธชาติ (0817376646)

วันที่เก็บข้อมูล
28 ต.ค. 2566

แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่ปรากฏภาพที่เกี่ยวข้อง

151 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
เจดีย์โบราณหน้าวัดเขาน้อย

ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง คำว่า ย่อมุมไม้สิบสอง เป็นคำอธิบายลักษณะส่วนมุมของอาคาร เจดีย์ พระเมรุหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ทำให้มุมมีหยักเป็นเหลี่ยมออกมา แทนที่ตรงมุมจะมีเพียงมุมเดียว  กลับทำหักย่อลงทำให้เป็น 3 มุม เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่สิ่งก่อสร้าง การย่อมุมทำให้มุมหนึ่งเกิดเป็น 3 มุม  อาคาร เจดีย์ หรือ พระเมรุ  ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างทรงสี่เหลี่ยมมี 4 มุม จึงกลายเป็น 12 มุม สำหรับการย่อมุมใรทาลสถาปัตยกรรมคือ การแตกมุมใหญ่ให้เป็นมุมย่อยหลายๆ มุม แต่ยังรวมอยู่ในรูปของมุมใหญ่ ตามหลักที่นิยมมาแต่โบราณมักเป็นเลขคี่ เช่น แตกเป็นสาม เป็นห้า เรียกว่าย่อไม้สิบสอง ย่อไม้ยี่สิบ การเรียกนับสิบสองหรือยี่สิบ คือเรียกตามจำนวนที่ย่อไม้ทั้งสี่มุมเป็นชื่อจำนวนที่ย่อรวมกัน สำหรับเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองนี้ เป็นอิทธิพลการสร้างเจดีย์ของภาคกลางและภาคเหนือไม่ใช่อิทธิพลของนครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่า แนวคิดนี้เชื่อว่าน่าจะเป็นแนวคิดของช่างในสมัยสุโขทัย เห็นได้จากเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ฐานขององค์ระฆังที่เป็นรูปวงกลมจะวางอยู่บนฐานเจดีย์ที่มีผังเป็นสี่เหลี่ยม แต่เพื่อให้เกิดความกลมกลืนสัมพันธ์กับระหว่างรูปทรงเหลี่ยมกับทรงกลม จึงเกิดแนวคิดในการตัดทอนเหลี่ยมมุม ให้ทั้งสองรูปทรงมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่ติดขัด ภายในเจดีย์มีการบรรจุกระดูกเอาไว้

อ่านเพิ่มเติม