Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / ศาลพระเสื้อเมืองอลอง
ศาลพระเสื้อเมืองอลอง

รายละเอียด

พระเสื้อเมือง บ้างเรียก ผีเสื้อเมือง หรือ ผีเสื้อ เป็นเทวดาผู้รักษาบ้านเมือง เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง มีการสร้างเทวรูปพระเสื้อไว้ในศาล สำหรับศาลพระเสื้อเมืองอลอง (ท่านในฐาน) ที่เห็นปัจจุบันคือศาลที่สร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2550 ภายในศาลมีเทวรูปหนึ่งองค์ เทวรูปเสื้อเมืองมือขวา ถือจักรอันเป็นอาวุธของพระรามหรือพระนารายณ์ ศาลเดิมเป็นศาลาไม้ รูปเคารพทำจากไม้ตะเคียนแกะสลัก


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 25 (พ.ศ.2401-2500)

ที่อยู่
ตำบล ฉลอง พิกัด (8.923780,99.822500)

สถานะ
อยู่ในความดูแลของชาวบ้าน/วัด/ชุมชน

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
ชุมชน

ศาสนา
ความเชื่อท้องถิ่น

เรื่องเล่าประเพณี

ในทุกปีจะมีพิธีบวงสรวงศาลพระเสื้อเมืองในช่วงเดือนเมษายน พิธีกรรมนี้ปฎิบัติสืบต่อกันมาช้านานตั้งแต่ครั้งอดีต สิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานพิธีคือ การเชื้อโนรา (การเชื้อโนรา คือ นำคณะโนรามาแสดงในงาน แต่ทางภาคใต้จะใช้คำว่า เชื้อ) เมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะพร้อมใจกันมากราบไหว้ มีการนิมนต์พระมาฉันข้าว ต่างคนต่างทำอาหารมาเลี้ยงพระ และช่วยกันลงเงินลงแรงเพื่อให้งานลุล่วงไป ประเพณีเช่นนี้สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตไม่ทราบว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เด่นชัดคือความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้ มีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างถิ่นมาสักการะ บ้างก็มาบนบาน เมื่อได้ดั่งที่ปรารถนาจะมาแก้บนด้วยข้าวเหนียวเปียก


เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

"ความศรัทธาต่อท่านในฐาน" มีเรื่องราวเล่าขานสืบต่อกันว่า ศาลพระเสื้อเมืองหรือท่านในฐานถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สักการะ ศูนย์รวมจิตใจ ที่พึ่งทางใจของเหล่าทหารเมื่อครั้งอดีต สันนิษฐานว่าพื้นที่ตรงนี้อาจเคยเป็นฐานทัพของทหารขณะเดินทางไปรบ นอกจากนี้ศาลพระเสื้อเมืองมีหน้าที่ในการป้องกันมิให้ภัยอันตรายเกิดแก่บ้านเมือง รวมถึงให้ความสงบสุขแก่คนในเมือง ศาลพระเสื้อเมืองแห่งนี้ไม่แน่ชัดว่าเป็นศาลของชาวไทยหรือชาวจีน แต่นายวัชระ งามขำสันนิษบานว่า “น่าจะเป็นของบูรพกษัตริย์ทหารไทย” สร้างขึ้นก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ มีตำนานหนึ่งเล่าว่า พระนเรศวรเดินทางมาตีเมืองนครศรีธรรมราชและผ่านเส้นทางนี้ อาจเป็นได้ที่จะใช้สถานที่ตรงนี้เป็นฐานที่พักและเมื่อชนะสงครามได้ตั้งทัพที่บริเวณวัดเขาน้อย สร้างเจดีย์ไว้ 1 องค์ ขณะนี้ศาลพระเสื้อเมืองอลองอยู่ภายใต้การดูแลของกรรมการชุมชน และได้รับเงินสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมอำเภอสิชล ในการบูรณะ


ประเพณีที่เกี่ยวข้อง
(คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณี ช่วงที่จัด ขั้นตอนที่ดำเนินการ)

ประเพณีบวงสรวงประจำปี


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

นายวัชนะ งามขำ อายุ 73 ปี


การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
นายวัชนะ งามขำ (0649039860)

วันที่เก็บข้อมูล
15 มิ.ย. 2566

แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

297 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ศาลาทวดปู่หูน้ำฉา

ศาลาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในศาลาประกอบด้วยรูปเคารพของทวดปู่หูน้ำฉา มีรูปปั้นเสือและงู (ตาโหนใบ้) ที่เป็นตัวแทนของทวดปู่หูน้ำฉา ถัดมามีรูปปั้นตาแก้วคนเลี้ยงช้าง ศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากคลองท่าทนประมาณ 200 เมตร ซึ่งตั้งบริเวณหูน้ำฉา เมื่อมองภาพมุมสูงพื้นที่ตรงนี้มีส่วนโค้งเว้าคล้ายหูจึงเป็นที่มาของทวดปู่หูน้ำฉา

อ่านเพิ่มเติม
ศาลาเทดา (เทวดา) เขาพลีเมือง

ศาลาเทดาเขาพลีเมืองสร้างด้วยปูน สี่เสา ตัวอาคารโล่ง ด้านในมีรูปปั้นเทดาเป็นชายสูงวัย รูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา ผมยาวเกล้ามวยผม นุ่งขาว ห่มขาว ถือไม้เท้า ด้านหน้ามีรูปปั้นเสื้อ

อ่านเพิ่มเติม