Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / พระลากวัดเขาน้อย
พระลากวัดเขาน้อย

รายละเอียด

เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ.1901-2000)

ที่อยู่
ตำบล เขาน้อย พิกัด (8.938000,99.812700)

สถานะ
อยู่ในความดูแลของชาวบ้าน/วัด/ชุมชน

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
ชุมชน

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าประเพณี

ทุกปีเมื่อถึงช่วงชักพระเดือน 11 จะมีการอัญเชิญพระลากทองคำขึ้นเรือพระและแห่ไปยังหน้าอำเภอสิชล และพักแรมที่หน้าอำเภอ 2 คืนเพื่อให้คนสักการะก่อนจะอัญเชิญกลับวัดเขาน้อย ในอดีตเมื่อถึงช่วงเดือน 5 ของทุกปีจะมีประเพณีชักพระเดือน 5 พระลากวัดเขาน้อยได้ถูกอัญเชิญขึ้นเรือพระในช่วงเดือน 5 ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีการอัญเชิญพระลากลงมาสรงน้ำพระอีกด้วย


เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

"พระลากศูนย์รวมใจของชาวสิชล" พระลากวัดเขาน้อย ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอลองนับเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ไม่สามารถบอกได้ว่า ใครสร้างและสร้างเมื่อใด มีเพียงตำนานที่เล่าสืบต่อกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่ลอยแพมาทางทะเลมาขึ้นที่ปากน้ำเทพา ชาวบ้านอัญเชิญประดิษฐานที่วัดทุ่งคา แต่ให้นิมิตที่จะไปอยู่ทางตอนเหนือของต้นน้ำ ชาวบ้านจึงร่วมกันทำแพลอยไปที่วัดสำเภาคืน และทำพิธีเบิกเนตร ต่อมาวัดสำเภาคืนเปลี่ยนชื่อเป็นวัดเบิก เสร็จแล้วได้ลอยแพต่อไปที่วัดเขาน้อย ทางวัดจึงจัดพิธีฉลองใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนชื่อเมืองที่มีเขาน้อยเป็นศูนย์กลางว่าเมืองฉลอง เรื่องเล่าของพระลากวัดเขาน้อยที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์มีมากมาย เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบกันมาว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยแพมาหยุดที่ปากน้ำเทพา หล่อด้วยสัมริด มีจารึกแนบคู่มาว่า ขอนิมนต์ประดิษฐานในละแวกบ้านเมืองอลอง จึงได้มีคนทำพิธีอาราธนาขึ้นฝั่งและนำมาประดิษบานที่วัดหนึ่งละแวกตำบลเสาเภา มีเรื่องเล่าว่า เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนแท่นท่านกลับล้มลง ไม่ว่าจะพยายามยกมาตั้งใหม่โดยใช่เชือกบ้าง เสาไม้ไผ่บ้างมาค้ำยันพระพุทธรูปองค์นี้ก็ยืนไม่ตรงสักที หลังจากนั้นชาวบ้านและผู้นำชุมชนต่างปรึกษาหารือกันจนตกลงว่าหากดูตามการลอยแพมาและจารึกที่แนบมา ควรจะนิมนต์ไปอยู่ทางทิศตะวันตก และได้จัดทำหนังสือใบบอกแจ้วงไปยังเจ้าเมืองอลอง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกขึ้นไปทางเทพา หลังเจ้าเมืองอลองรับใบบอกแจ้งได้จัดขบวนไปนิมนต์พระพุทธรูปอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดสำเภาคืน ใกล้ตัวเมืองอลอง ครั้งนิมนต์พระพุทธรูปประดิษฐานบนแท่นไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ พระพุทธรูปไม่ล้มลง ชาวบ้านต่างพากันดีใจและถือเป็นมิ่งขวัญแก่เมืองอลอง จึงพร้อมกันทำพิธีเบิกเนตร หลังทำพิธีเบิกเนตรไม่นานพระพุทธรูปองค์นี้แสดงอภินิหารอีกเช่นเคยมีที่เทพา จึงได้นิมนต์ไปไว้ที่วัดกลางที่ห่างจากวัดเบิกไม่มากนัก เมื่อถึงวัดกลางนำขึ้นประดิษฐานลงบนแท่นก็ล้มครืนลงอีก และทอดพระเศรียรไปทางทิศตะวันตกอีก คืนนั้นเองได้เข้าฝันต่อท่านเจ้าอาวาสว่า ให้นิมนต์ไปประดิษฐานที่วัดเขาน้อย จึงอัญเชิญไปไว้ที่วัดเขาน้อยตั้งแต่บัดนั้นกระทั่งปัจจุบัน อีกตำนานหนึ่งที่ชาวบ้านเล่าต่อกันมาคือ นายวิชัย อาจหาญได้บอกเล่าถึงที่มาของพระลากวัดเขาน้อยว่า พบที่ถ้ำหอม อยู่ที่เขาพรงตะวันออกแล้วพาเดินทางขึ้นเหนือไปเรื่อย ๆ กระทั่งมาพักที่วัดกลาง และพาไปเบิกเนตรที่วัดเบิก มีคนขโมยไปไว้ในป่าสาคู และมีคนพาต่อไปยังวัดเขาน้อยสิ่งที่พิสูจน์ความศักดิ์สิทธิ์ของพระลากวัดเขาน้อยคือ เคยมีคนคิดจะขโมยพระลากและสิ่งของที่อยู่ภายในวัด แต่ต้องเจออันเป็นไปเพราะคิดชั่ว


ประเพณีที่เกี่ยวข้อง
(คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณี ช่วงที่จัด ขั้นตอนที่ดำเนินการ)

1. ประเพณีชักพระเดือน 5
2. ประเพณชักพระเดือน 11


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

นายวัชนะ งามขำ อายุ 73 ปี นายวิชัย อาจหาญ อายุ 71 ปี


การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
นายวัชนะ งามขำ (0649039860)

วันที่เก็บข้อมูล
15 มิ.ย. 2566

แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

504 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
กลองมโหระทึก

“ลักษณะเฉพาะของกลองมโหระทึก” กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อมีอายุประมาณ 2000-3000 ปี ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนาม สำหรับกลองมโหระทึกที่ถูกค้นพบที่บ้านเทพราชแห่งนี้มีแค่ส่วนของหน้ากลองที่เป็นแผ่นเรียบ หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์สาดแสงสบแฉก ถัดไปเป็นลายเรขาคณิต (ขีดและวงกลมสลับกัน และเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีนที่เชื่อมต่อกันไปโดยรอบวง) และลายนกบิน สภาพยังคงสมบูรณ์ แม้จะมีบางส่วนถูกรถไถทำลายไปบ้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 ซม.

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปโบราณ ณ ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ภายในถ้ำเขาพรงมีพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชจำนวนหลายสิบองค์ ทั้งพระพุทธรูปโบราณประทับนั่งขัดสมาธิ จำนวน 27 องค์ พระพุทธไสยาสน์ 1 องค์ ขนาดยาวประมาณ 7 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยพระพุทธรูปทั้งหมดประดิษฐานบนแท่นคอนกรีตสูงจากพื้นดินราว 1 เมตร ต่อเนื่องกับผนังถ้ำตลอดแนวยาวกว่า 32 เมตร พระพุทธรูปที่พบทำจากปูนปั้นและหินทรายขนาดต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปภายในถ้ำมืด

ถ้ำมืดตั้งอยู่ภายในเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปซึ่งเป็นร่องรอยของอารยธรรมสมัยอยุธยา ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) 

อ่านเพิ่มเติม