ศาลาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในศาลาประกอบด้วยรูปเคารพของทวดปู่หูน้ำฉา มีรูปปั้นเสือและงู (ตาโหนใบ้) ที่เป็นตัวแทนของทวดปู่หูน้ำฉา ถัดมามีรูปปั้นตาแก้วคนเลี้ยงช้าง ศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากคลองท่าทนประมาณ 200 เมตร ซึ่งตั้งบริเวณหูน้ำฉา เมื่อมองภาพมุมสูงพื้นที่ตรงนี้มีส่วนโค้งเว้าคล้ายหูจึงเป็นที่มาของทวดปู่หูน้ำฉา
หลังจากพระเข้าพรรษา 9 วัน ที่ศาลาทวดปู่หูน้ำฉาแห่งนี้จะจัดพิธีทำบุญตักบาตร ทำบุญเสดาะเคราะห์ ขอพรทวดปู่หูน้ำฉาขึ้น เป็นวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็น 100 ปี ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566 แรม 9 ค่ำ เดือน 8 มีการนิมนต์พระมาทำพิธี มีมหรสพหนังตะลุง โนรา มีการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน มีพิธีสะเดาะเคราะห์โดยชาวบ้านจะสร้างแพขึ้นมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตัดเล็บ ตัดผมแล้วนำไปลอยแพ เมื่อแพล่องไปจะมีทำเนียมอยู่หนึ่งอย่างคือ โจรจะต้องไปรออยู่ปลายทางแล้วทำการปล้นแพ คนในแพต้องจ่ายเงินให้โจรแพจึงจะผ่านไปได้ ครั้งหนึ่งในงานมีพิธีเชิญทวดปู่หูน้ำฉาเข้าทรงด้วยการเชื้อโนรา ขณะดนตรี ปี่ กลองกำลังเล่น มีชายแก่คนหนึ่งปกติเดินเหินไม่สะดวก เลื้อยเหมือนงูมาหาของเส้นไหว้ ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่า ทวดปู่หูน้ำฉามาเข้าทรงอย่างแน่นอน ณ ศาลาทวดปู่หูน้ำฉาแห่งนี้เป็นที่เคารพศรัทธาของชางบ้านมาช้านาน ไม่สามารถลบหลู่ได้ เขื่อกันว่า ถ้าหากมีคนมาเล่นน้ำแล้วทำท่าคลาน 4 ขา เหมือนช้างในคลองจะมีอันเป็นไปหนึ่งอย่าง เข่น ปวดท้อง เป็นต้น ที่เป็นเช่นนั้นเชื่อว่าเพราะบารมีตาแก้ว การคลานสี่ขาประหนึ่งทำท่าช้างจึงไม่สามารถลบหลู่ได้
เมื่อกล่าวถึงที่มาของศาลาทวดปวดปู่หูน้ำฉามีหลายตำนาน ตำนานแรกคือ ในสมัยเมืองอลองมี 2 สามีภรรยาชื่อ “ทวดมั่ง” (สมี) และ “ทวดมี” (ภรรยา) ชาวนาขอม (ปัจจุบันอยู่ใน ต. สิชล อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช) เดินทางมายังบ้านหูน้ำฉา ต. เทพราช อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช เพื่อหักร้างทางพงทำการเกษตร เมื่อมาถึงได้สร้างหนำ (ขนำ) ขึ้นหนึ่งหลังเพื่อพักอาศัย พืชผลที่ทวดมั้ง และทวดมีปลูกเจริญงอกงามดีมาก โดยเฉพาะทุเรียนโตไวแข่งกับพืชพื้นเมืองเพราะแถบนี้ดินดีอุดมสมบูรณ์ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวทุเรียนทวดทั้งสองเก็บทุเรียนมารวบรวมไว้และ “ทำบุญสวน” การกระทำเช่นนี้เป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องรักษา
ทวดมั่งและทวดมีทำมาหากินกันไปกระทั่งทวดมีล้มป่วยลง ลูกหลานจึงมารับกลับไปรักษาตัวที่บ้านนาขอม รักษาอยู่หลายเดือนทวดมีก็เสียชีวิตลง เมื่อจัดพิธีศพทวดมีเสร็จทวดมั่งได้กลับมาอยู่ที่หนำ บ้านหูน้ำฉาตามเดิม ลูกหลานแวะเวียนกันนำอาหารมาให้ 7 วันครั้ง 15 วันครั้ง แต่อยู่มาวันหนึ่งทวดมั่งสั่งลูกหลานว่า “ถ้ามาถึงหนำแล้วไม่พบกู ให้นำข้าวของเหล่านั้นไปแขวนไว้ที่หน้านำ และให้รีบกลับไปอย่าทันค่ำ” ลูกหลานก็ปฏิบัติตามทวดมีสั่งเรื่อยมา ที่ทวดมั่งสั่งเช่นนั้นเพราะตอนนั้นท่านเริ่มกลายร่างมีขนขึ้นตามร่างกาย มีเล็บงอกยาวคล้ายสัตว์ (โบราณเล่าว่า ถ้าใครที่มีวิชาอาคม ล่นไสยศาวตร์จะไม่มีวันตายแต่จะกลายร่างเป็นเสือ) ท่านเกรงว่าลูกหลานจะกลัว วันหนึ่งลูกหลานมาหากลับต้องตกตะลึงเมื่อเห็นเสือตัวใหญ่นอนใต้ถุนหนำ และเห็นงูบองหลา (จงอาง) อยู่ที่เสาหนำ ต่างพากันวิ่งหนีกลับบ้าน
หลังจากทวดมั่งก็หายไปไม่กลับมาที่หนำอีกเลย หนำที่ทวดมั่งอาศัยยังคงอยู่และมีผู้คนมากราบไหว้บูชา และเรียกชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาว่า “ทวดปู่หูน้ำฉา” ทวดปู่หูน้ำฉาจะจำแลงเป็น เสือหนึ่งตัว เรียกว่า “ทวดเสือ” (ทวดเสือคือทวดมั่งที่จำแลงเป็นเสือ” และงูบองหลาหนึ่งตัว เรียกว่า “ทวดงู” (ทวดงูคือทวดมีจำแลงเป็นงูบองหลา) กระทั่งเวลาล่วงเลยไปนานมีตาแก้วควาญช้าง ตาแก้วมีช้างคู่ใจอยู่เชือกหนึ่งรับจ้างลากซุง วันหนึ่งตาแก้วและช้างเดินทางมาถึงบริเวณคลองน้ำฉา และผ่านมาพบหนำของทวดมั่งและทวดมีที่ร้างไปแล้ว ตาแก้วไขอใช้หนำร้างเป็นที่พักหลับนอน ครั้งหนึ่งตาแก้วเห็น “มีเสื้อตัวหนึ่งขึ้นมาจากคลองด้านหนำ และมีงูจงอางขึ้นมาอีกฝั่งหนึ่ง” ตาแก้วจึงมั่นใจว่านั้นคือทวดปู่หูน้ำฉา มาแสดงกายให้เห็น หลังจากนั้นตาแก้วจึงนำเรื่องไปเล่าให้ชาวบ้านฟังและวันที่ตาแก้วเห็นทวดปู่หูน้ำฉาคือ 9 วันหลังจากออกพรรษา ชาวบ้านจึงใช้เกณฑ์นี้ในการทำพิธีบวงสรวงทวดปู่หูน้ำฉา สืบทอดกันมาจนปัจจุบัน เมื่อเสร็จจากการพาช้างไปลากซุงตาแก้วจะตกปลอกช้างที่ตีนคู่หน้าเพื่อไม่ให้ไปหากินไกล คืนหนึ่งมีช้างป่าโขลงหนึ่งเจอกับช้างตาแก้วสู้กันจนช้างตาแก้วตกปลอกหายไป ผ่านไปคืนหนึ่งช้างเถื่อนเชือกหนึ่งเดินผ่านมาที่หนำทวด ตาแก้วคิดว่าเป็นช้างของตนจึงรีบวิ่งไปจับ ตาแก้วขึ้นไปอยู่บนคาคบไม้เมื่อช้างเดินผ่านก็กระโดดลงคอช้างทันทีและใช้ตะขอช้างสับที่คอ ช้างตกใจจึงสะบัดหัวไปมาตาแก้วหล่นลงช้างทั้งเหยียบทั้งแทง เป็นเหตุให้ตาแก้วเสียชีวิตลง ตาแก้วสู้กับช้างเชือกนั้นโดยไม่ทราบว่านั้นคือช้างเถื่อนมิใช่ช้างตน ภายหลังมีการสร้างรูปจำลองตาแก้วไว้ที่ศาลาของทวดปู่หูน้ำฉาด้วย
ตำนานที่สองคือ สำหรับตาทวด ตาโป ตาทวดน้ำฉานั้นเดิมมีคนหนีไข้น้ำมาอยู่ในป่าริมคลองน้ำฉา ชื่อว่า ตาพัฒกับยายจวน มาอยู่กินกันเป็นเวลานาน จึงมีลูกหลานมากมาย เมื่อแก่ชราลงตาพัฒและยายจวนให้ลูกหลานไปปลูกชนำที่ริมน้ำให้และสองตายายก็ไปอยู่กันที่นั้น โดยให้ลูก ๆ หลาน ๆ พาข้าวห่อไปให้กินเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งลูกหลานพาข้าวห่อไปให้สองตายายตามปกติและได้เห็นว่า ตามหน้าตามตัวของตาแตกเป็นล่อง ๆ ก็ตกใจและถามว่าไปโดนอะไรมา ตาจ็บหรือเปล่า ตาตอบว่าไม่เจ็บ ไท่ได้เป็นอะไร มันเป็นเรื่องของคนแก่ ๆ และบอกว่าต่อไปตัวจะเป็นลายและงอกขน มือเท้าจะหดไปเอง จะงอกหางและขนเหมือนกันหมด เจ้าอย่าได้ตกใจและกลัวไปเลย ตาไม่เจ็บ หากเจ้ามาแล้วไม่เจอตาให้นำห่อข้าวผู้ไว้ที่ขนำเราจะมากินเอง และนับจากนั้นเป็นเวลานานที่ลูกหลานนำอาหารมาให้แต่ไม่เจอตากับยสย มีแต่ร้องรอยการกินข้างห่อ เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้น 200-300 กว่าปีมาแล้วแบะไม่มีใครทราบถึงการตายของตาพัฒและยายจวน ต่อมาจึงมีการตั้งศาลาบูชาขึ้นที่คลองท่าทนจวบจนปัจจุบัน
อยู่มาวันหนึ่งควาญช้างชื่อตาแก้ว หมอช้างที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ในสมัยนั้น ได้มาพักแรม ณ บริเวณศาลาแห่งนี้และเห็นเสือกับงูขึ้นจากคลอง ตาแก้วเชื่อว่านั้นตาทวดทั้งสองจึงใช้วันที่เห็นคือวันแรม 9 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปีเป็นพิธีบวงสรวงตาทวด ตาแก้วนำข้าวปลาอาหารมาที่ขนำเพื่อบูชาตาทวด สักพักตาทวดก็มากินข้าวห่อจนหมด มาในรูปแบบเสือและงู แล้วบอกกับตาแก้วว่า ถ้าต้องการอะไรให้บนบานถึงเรา เราจะมาช่วย นสยแก้วดีใจมากได้ตัดเล็ล ตัดผม เอาข้าวปลาอาหารไปลอยแพให้ที่คลองที่มีงูกับเสือขึ้นมากิน ต่อมาคนต่างพากันบนบานฝากฝัง ควาย วัว หมู ไก่ และอื่น ๆ อีกมากมายก็ได้ผลทั้งหมด
ต่อมานายแก้ว ร่วมกับตาเลื่อนและยายปลิก (พ่อตาแม่ยายของตาจบ) จึงได้สร้างศาลาใหม่ให้ตาทวดแทนศาลาขนำหลังเก่า และตั้งชื่อวังเหนือก้อนหินว่า วังตาทวด วังล่างก้อนหินว่า วังตาโหนใบ้ พร้อมกันนี้ตั้งชื่อเสือว่า ตาทวดตาโป และตั้งขื่องูว่า ตาทวดน้ำฉา (บางคนเรียกว่าพ่อท่านน้ำฉา) สืบต่อกันมา และได้สร้างศาลาให้ตาทวดทั้งสองใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ตามแต่สมัย และทำบุญกันมาตลอดอยู่ที่คลองตีนตามที่นายแก้วควาญช้างได้ทำมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการทำบุญตักบาตรและลอยแพ ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
ศาลาตาทวดน้ำฉามีคนศรัทธามากขึ้นจึงมีคนคิดสร้างศาลาใหม่โดยมีนายจบ เพชรชู นางสวงน เพชรชู นายไข เสมรัฐ นายแสง นางแปลก นายเปีย นางทิม โจทฤทธิ์ เป็นหัวแรงในการสร้าง รวมถึงชาวบ้านึนอื่น ๆ ในสมัยนั้นร่วมกันสร้างเป็นศาลาไม้และได้นิมนต์พระครูประสาทธรรมวิพัช หรือท่านครูบุญรักมาทำบุญเปิดศาลา และตั้งชื่อศาลาว่า ศาลาจวนสงบ ต่อมาได้ชำรุดและสร้างใหม่ ภายใต้การนำของนายกลบ โจทฤทธิ์ นางหวิด โจทฤทธิ์ นายสมศักดิ์ ชินรัตน์ นายคุ่ยหรือบุญทวน เพชรชู นางต้อง เพชรชู และชาวบ้านคนอื่น ๆ ได้ร่วมกันสร้างให้เป็นศาลาที่ทำด้วยปูนซึ่งใช้เป็นศาลาจนถึงปัจจุบันนี้
ต่อมาขอกล่าวถึงประวัตินายแก้ว ผู้สร้างศาลาคนแรก นายแก้วเป็นควาญช้าง หมอช้างที่มีชื่อเสียงทางไสยศาสตร์ เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสมัยนั้น ได้พาช้างของตนหลังจากเสร็จสิ้นงานไปปล่อยป่าตามคลองเผียนอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งนายแก้วพาช้างไปปล่อยตามเดิมแต่เมื่อไปเอาช้างกลับนสยแก้วหลงว่าช้างป่าคือช้างตัวเอง จึงเข้าไปจับและได้ต่อสู่กันเป็นเวลาหนึ่งคืนเต็ม ๆ ช้างป่าตัวนั้นก็ตาย ส่วนนายแก้วได้เดินมาอาบน้ำที่คลองเผียนเกิดหมดแรงและตายที่นั้น คนจึงนับถือเช่นกันและบนบานมาถึงทุกวันนี้
ศาลาทวดปู่หูน้ำฉาเดิมเป็นศาลาหลังเล็ก ๆ มีการสร้างใหม่ 3 รอบแล้วก่อนมาเป็นศาลาหลังปัจจุบัน ช่วงปี พ.ศ. 2554 น้ำท่วมใหญ่ระดับสูงถึงศาลาหลังเก่าที่อยู่ริมคลองส่งผลให้พระพุทธรูปที่อยู่บนหิ้งถูกน้ำท่วมด้วยแต่พระพุทธรูปไม่จมน้ำ กลับลอยขึ้นมา ใกล้ ๆ ศาลาทวดปู่หูน้ำฉาเคยมีสวนทุเรียนโบราณ 100 ปี และจะได้ทุเรียนมาทำบุญทุกปี นอกจากทุเรียนแล้วยังมีผลไม้ชนิดอื่นด้วย ผลไม้บางส่วนถูกนำมาถวายพระและอีกส่วนถูกนำไปตั้งให้ทวดปู่หูน้ำฉาเพื่อให้ท่านรู้ว่า นี้คือผลผลิตที่ท่านช่วยดูแล หลายคนมาขอให้ท่านช่วยดูแลหมู ดูแลควาย ดูแลผลผลิต เมื่อผลผลิตออกผลดีจะนำเปียกมาถวายท่านเพื่อแก้บน จะถวายกี่หามขึ้นอยู่กับการบรบาน เปียกคือข้าวเหนี่ยวต้ม ใส่เกลือและกะทิ ต้มเหมือนข้าวต้ม อาจเป็นข้าวเหนียวขาวหรือดำก็ได้ แต่วิธีนำมาถวายต้องหามมา 2 คน ไม่จำเป็นว่าเปียกต้องใส่หม้อใส่จานมาก็ได้แต่ต้องนำมาายในลักษณะของการหาม หากจะกล่าวเรื่องบนบาน มี 2 ส่วนคือ บนบานเรื่องผลผลิตทางการเกษตรให้บนกับทวดปู่หูน้ำฉาหากได้ตามขอให้แก้บนด้วยเปียก อาจไกว้หร้มคอกในกรณีเลี้ยงสัตว์ และหากบนบานเรื่องการพนันให้บนตาแก้วหากชนะแก้บนด้วยไก่ 1 ตัว เหล้าขาว 1 ขวด
งานประจำปีทำบุญตักบาตร ทำบุญเสดาะเคราะห์ ขอพรทวดปู่หูน้ำฉา
คำรพ เกิดมีทรัพย์. (2563). ทวดหูน้ำฉา: ที่มาและเรื่องราว. สารนครศรีธรรมราช. 50(1), 61-66.
พระเสื้อเมือง บ้างเรียก ผีเสื้อเมือง หรือ ผีเสื้อ เป็นเทวดาผู้รักษาบ้านเมือง เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง มีการสร้างเทวรูปพระเสื้อไว้ในศาล สำหรับศาลพระเสื้อเมืองอลอง (ท่านในฐาน) ที่เห็นปัจจุบันคือศาลที่สร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2550 ภายในศาลมีเทวรูปหนึ่งองค์ เทวรูปเสื้อเมืองมือขวา ถือจักรอันเป็นอาวุธของพระรามหรือพระนารายณ์ ศาลเดิมเป็นศาลาไม้ รูปเคารพทำจากไม้ตะเคียนแกะสลัก
ศาลาเทดาเขาพลีเมืองสร้างด้วยปูน สี่เสา ตัวอาคารโล่ง ด้านในมีรูปปั้นเทดาเป็นชายสูงวัย รูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา ผมยาวเกล้ามวยผม นุ่งขาว ห่มขาว ถือไม้เท้า ด้านหน้ามีรูปปั้นเสื้อ