“ลักษณะเฉพาะของกลองมโหระทึก” กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อมีอายุประมาณ 2000-3000 ปี ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนาม สำหรับกลองมโหระทึกที่ถูกค้นพบที่บ้านเทพราชแห่งนี้มีแค่ส่วนของหน้ากลองที่เป็นแผ่นเรียบ หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์สาดแสงสบแฉก ถัดไปเป็นลายเรขาคณิต (ขีดและวงกลมสลับกัน และเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีนที่เชื่อมต่อกันไปโดยรอบวง) และลายนกบิน สภาพยังคงสมบูรณ์ แม้จะมีบางส่วนถูกรถไถทำลายไปบ้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 ซม.
ส่วนหน้ากลองมโหระทึกนี้ถูกค้นพบโดย นายมานิต แก้วเรือง (เสียชีวิต) ซึ่งเป็นสามีของนางวิไล แก้วเรือง ส่วนหน้ากลองมโหระทึกถูกค้นพบเมื่อครั้งที่นายมานิตย์ แก้วเรืองนำรถไถไปไถที่เพื่อปลูกยาเส้น ไถลึกลงไปประมาณ 1 ฟุตถึงพบกับหน้ากลอง ครั้งอดีตพื้นที่ตรงนี้นายเหลียด ใจห้าว (บิดาของนางวิไล แก้วเรือง) ไปจับจองเดิมเป็นสวนมังคุดโบราณอยู่ก่อน เมื่อนายเหลียด ใจห้าวชราภาพนายมานิตย์ แก้วเรืองผู้เป็นลูกเขยจึงนำรถไปไถเพื่อปรับพื้นที่ทำสวนยาเส้นต่อไปและปัจจุบันได้กลายมาเป็นสวนปาล์มน้ำมัน พื้นที่ตรงนี้อยู่ข้างลำคลองเหลียน (คลองเปลี่ยนในปัจจุบัน) ที่ไหลไปออกบ้านหิน วันที่พบคนขับรถไถคิดว่า “ชิ้นส่วนของหน้ากลองมโหระทึกคือ ฝาถังน้ำมัน” จึงเอามาตั้งไว้ข้าง ๆ ถูกค้นพบ 40 ปีมาแล้ว ตอนแรกหน้ากลองได้ถูกส่งไปเก็บไว้ที่บ้านนางพินซึ่งเป็นยายของนางวิไล แก้วเรือง เพราะต้องการเก็บไว้ในสถานที่ที่ปลอดภัย (เนื่องจากเมื่อก่อนนางวิไล แก้วเรืองและสามีต้องออกไปทำสวนกลัวว่าถ้าไว้ที่บ้านตนเองอาจจะหายได้ เพราะบ้านยังคงเป็นแค่บ้านไม้ไม่แข็งแรงมากนัก) ก่อนจะถูกนำกลับมาเก็บไว้ที่บ้านของนางวิไล แก้วเรืองหลังจากคุณยายเสียชีวิต และขณะนี้บ้านได้ถูกสร้างขึ้นใหม่แล้วไม่ต้องกลัวหายอีกต่อไป หลากหลายคนได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมแม้กระทั่งชาวต่างชาติก็ให้ความสนใจมาถ่ายรูปกันมากมาย ครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเยือนเขาคา ทางเจ้าหน้าที่ได้มาขอยืมไปเพื่อให้พระองค์ทอดพระเนตรด้วย สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราชลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบแต่นางวิไล แก้วเรืองไม่ได้มอบให้ขอเก็บไว้ดูแลเอง เนื่องจากมีคนละแวกบ้านที่ทำงานในสำนักศิลปากรได้สั่งไว้ว่า “ใครมาขออย่าให้เด็ดขาดเพราะของชิ้นนี้ประเมิณค่าไม่ได้” หลังจากพบกลองมโหระทึกนายมานิตย์ แก้วเรืองได้ฝันว่า “เห็นงูตัวใหญ่ปรากฎกายอยู่และมีคนแก่บอกว่า ทำให้ถูกตะ (ทำให้ดีนะ) ได้แหละได้เหลย (ได้อีก)” ทำให้ดีนะ ได้อีกในที่นี้หมายถึง เส้นไหว้เจ้าที่เจ้าทางให้ถูกต้องแล้วจะพบกับของโบราณอีกแน่นอน หลายคนที่มาเยี่ยมชมถูกหวยกันเยอะมาก
นางวิไล แก้วเรือง
เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา
ถ้ำมืดตั้งอยู่ภายในเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปซึ่งเป็นร่องรอยของอารยธรรมสมัยอยุธยา ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ)