Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / ศาลพ่อท่านม่วงทอง
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

รายละเอียด

ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 25 (พ.ศ.2401-2500)

ที่อยู่
หมูที่ 1 ตำบล สิชล พิกัด (9.008090,99.891300)

สถานะ
อยู่ในความดูแลของชาวบ้าน/วัด/ชุมชน

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
กรรมการศาลเจ้า

ศาสนา
พุทธแบบไทย จีน และมุสลิม

เรื่องเล่าประเพณี

กิจกรรมที่จัดขึ้นในทุก ๆ ปี ถือว่าต้องปฏิบัติและไหว้เจ้า คือ 1) 15 ค่ำ เดือน 8 จีนไหว้พระจันทร์ 2) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จีนไหว้ส่งสิ้นปีเก่า 3) ขึ้น 4 ค่ำเดือนอ้าย จีนไหว้รับปีใหม่ 4) ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย จีนไหว้เจ้า การจัดงานประจำปีจะมีในเดือน 3 หลังตรุษจีน 15 วันสำหรับบุญใหญ่ ๆ ที่ทำคือ จะมีการไหว้ส่งก๋งขึ้นสวรรค์และไหว้รับ กรณีวันเทศกาลช่วง 15 ค่ำเดือน 8 เริ่มต้นจากปีใหม่จีนตรงกับช่วงเวียนเทียนในพุทธศาสนา ก่อน 15 ค่ำ 7-8 วันจะมีพิธีรับเทวดา นอกจากนี้ยังมีพิธีแก้บนหลังจาก 15 ค่ำ นับจากตรุษจีน 15 วัน พิธีแก้บนที่จัดขึ้นมี 1 ครั้งในรอบปี คนที่มาบนบานที่ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทองเมื่อสำเร็จตามที่บนไว้จะต้องมาแก้บนในวันที่ศาลเจ้าจัดขึ้น กรรมการศาลเจ้าจะประสานงานเพื่อืำพิธีแก้บนและมีการรับมหรสพมาแสดง สมัยก่อนจะมีการแสดงหนังตะลุงแต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นลิเก (ช่วงแรกคนนิยมหนะงตะลุงแต่พอยุคหลังความนิยมเสื่อมถอยจึงรับลิเกแทน ลิเกอยู่คู่ศาลเจ้ามาเกือบ 20 ปีแล้ว คณะลิเกที่มาแสดงอาจปักหลักที่ศาลเจ้า 7, 10, 15 วันแล้วจนกว่าคนที่บนไว้จะแก้บนเสร็จ (งานเทศกาลจัดต่อเนื่องทุกปี เว้นว่างเฉพาะช่วงโควิด 2 ปี ปัจจุบันจัดปกติแล้ว) หลังจากมีการแก้บนเสร็จจะมีการจัดงานหารายได้เข้าศาลเจ้า ประเพณีที่นี้จะมีกาประมูลเต่า เต่าในที่นี้คือขนมเต่าขาว ไม่ใช่ขนมเต่าแดงเหมือนที่จังหวัดภูเก็ต ขนมเต่าจะทำจากแป้งและน้ำตาลมากวนเทลงพิมพ์รูปเต่า เคี้ยวหนึบ ๆ รายได้ที่มาจากการประมูลเต่าในแต่ละปีหลักแสนบาท เมื่อถึงช่วงเวลาทำขนมเต่ากรรมการจะติดต่อร้านขนมให้ทำขนมเต่า 3 ขนาดคือขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ (เท่าเต่าทะเล) ตัวเล็กและตัวกลางจะนำมาขายในศาลเจ้า 5 วัน และตัวใหญ่จะนำมาประมูล สมัยก่อนซื้อมาตัวละ 10 บาท ขาย 20 บาท ขนาดกลางซื้อมา 20 ขาย 40 บาท ปัจจุบันขายเช่นนี้ไม่ได้อีกแล้วกำไรจะอยู่ที่ 20% ของราคาต้นทุน รายได้ทั้งหมดจะนำเข้าศาลเจ้า สำหรับเต่าตัวใหญ่จะถูกนำมาประมูล การประมูลเต่าจะเริ่มจาก 1) ไข่เต่าอาจจะมี 5-6 ลูก อาจเริ่มจาก 500 บาท ราคาอาจจะถึง 5,000 บาท (ไข่เต่าทำมาเพื่อคนที่ต้องการมีบุตร) 2) หางเต่า อาจได้ราคา 5,000, 6,000 และ 8,000 บาทแล้วแต่ความต้องการ 3) ขาขวา-ขาซ้าย 4) หัวเต่าอาจมีราคาถึง 100,000 บาท พอเหลือแต่ตัวเต่าก็จะประมูลอีกอาจมีราคา 5,000 บาทขึ้นไป ประมูลเสร็จจะมีการตัดแบ่งให้คนในงานกิน (ความเชื่อของคนจีนในแต่ละปีจะประมูลไปเป็นส่วน ๆ เพื่อช่วยก๋ง) ที่กล่าวมาทั้งหมดก่อนจะนำเต่ามาจะมีเจ้าภาพซื้อเต่ามาให้ศาลเจ้าก่อนประมาณ 10,000 บาท ปัจจุบันการหารายได้เข้าศาลเจ้าจะมีการขายลอตเตอรี่เข้ามาช่วยอีกทางหนึ่งด้วย รายได้จะถูกนำมาจ้างกรรมเฝ้าศาลและจ่ายค่าไฟ


เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

ถ้าถามถึงที่มาของชื่อศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทองต้องบอกว่า ไม่ทราบแน่ชัดว่าชื่อนี้ได้มาอย่างไร เพราะเป็นชื่อไทยแต่ป้ายชื่อเขียนเป็นภาษาจีนว่า “บุญเถ้าก๋ง” (หมายถึงเจ้าที่จีน) ตั้งแต่เล็กนายเคียงได้เห็นศาลเจ้าพ่อท่านม่วงตั้งขึ้นแล้ว ศาลแห่งนี้มีมาตั้งแต่รุ่นเตี่ยของนายเคียง สืบสุพันธุ์วงศ์อาจมากกว่า 80 ปี เขาเล่าว่า มีศาลเจ้าเก่าที่สร้างขึ้นก่อนศาลปัจจุบันตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ศาลเก่ามีลักษณะเป็นอาคารไม้โบราณแบบศาลเจ้าจีน ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของคลองท่าควายและคลองท่าเรือรี บ้านปากแพรก ที่ตั้งศาลจะมีลักษณะทางสามแพร่ง มีสายน้ำมารวมกัน แต่หน้าศาลหันหน้าไปทางทิศตะวันตกถือว่าผิดหลักการ ปกติศาลจะไม่ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก แต่ศาลจะหันหน้าไปทางคลอง เมื่อก่อนตรงนี้จะเป็นท่าเรือ อาจมีเรือใหญ่เทียบท่า จึงสันนิษฐานว่า บริเวณนี้เมื่อก่อนเคยเป็นท่าเรือที่คนจีนใช้สัญจร ก่อนลงเรือจึงต้องหาอะไรสักการะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจึงสร้างศาลขึ้นมา


ประเพณีที่เกี่ยวข้อง
(คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณี ช่วงที่จัด ขั้นตอนที่ดำเนินการ)

1) 15 ค่ำ เดือน 8 จีนไหว้พระจันทร์ 2) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จีนไหว้ส่งสิ้นปีเก่า 3) ขึ้น 4 ค่ำเดือนอ้าย จีนไหว้รับปีใหม่ 4) ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย จีนไหว้เจ้า การจัดงานประจำปีจะมีในเดือน 3 หลังตรุษจีน 15 วัน


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

นายเคียง สืบสุพันธุ์วงศ์ อายุ 70 ปี


การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
นายเคียง สืบสุพันธุ์วงศ์ (0818952841)

วันที่เก็บข้อมูล
26 ส.ค. 2566

แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

409 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ถ้ำเขาพรง นับเป็นถ้ำเก่าแก่ถ้ำหนึ่งของหมู่ 15 ต. ทุ่งปรัง อ.สิชล สถานที่ตั้งอยู่บนภูเขามีพระพุทธรูปทั้งพระนออนและพระนั่งประดิษฐานอยู่ในถ้ำและมีของเก่าแก่มากมายที่เหมาะกับเป็นแหล่งศึกษาด้านประวัติศาสตร์และศาสนา สำหรับถ้ำเขาพรงมีสองฝั่งคือ ถ้ำเขาพรงตะวันออกและถ้ำเขาพรงตะวันตก จากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์นายวิชัย อาจหาญ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าถ้ำเขาพรงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริเวณนี้ยังมีถ้ำนาคราชอีกถ้ำหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม
ถ้ำนาคราช
ถ้ำนาคราชตั้งอยู่ที่เขาพรงตะวันออก มีลักษณะเป็นถ้ำ เพิงผาถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดต่าง ๆ ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยเป็นรูปต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือรูปพญานาค หากมีฝนตกหนักในช่วงฤดูฝนอาจมีน้ำท่วมขังภายในถ้ำ และบริเวณ
อ่านเพิ่มเติม
เจดีย์โบราณ (เขาคอกวาง ต. สิชล)

เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้

อ่านเพิ่มเติม