Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / เจดีย์บ้านไสอิฐ
เจดีย์บ้านไสอิฐ

รายละเอียด

เจดีย์บ้านไสอิฐ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานกว้าง 190 เซนติเมตร สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ด้านเหนือและด้านตะวันตกยังคงสมบูรณ์กว่าด้านอื่น ส่วนด้านทิศใต้ถูกเจาะพังทลายจนถึงส่วนแกนกลางเจดีย์ บริเวณฐานเจดีย์ด้านเหนือ และด้านตะวันตกมีร่องรอยการก่อฐานประกบฐานเขียง หนาด้านละประมาณ 20 เซฯติเมตร และบนฐานเขียงด้านตะวันตกยังมีร่องรอยการก่ออิฐประกบเข้ากับองค์เจดีย์ เพื่อขยายขนาดขององค์เจดีย์ให่ใหญ๋ขึ้น แต่ร่องรอยที่มีอยู่ปรากฏเพียง 3 ชั้นอิฐเท่านั้น


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ (พ.ศ.)

ที่อยู่
หมูที่ 6 ตำบล เสาเภา พิกัด (8.922420,99.893700)

สถานะ
ขุดค้นโดยกรมศิลป์โดยไม่ได้พัฒนาต่อ

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
ชุมชน

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

จากหลักฐานที่ปรากฏจึงสามารถกำหนดรูปแบบการสร้างเจดีย์องค์นี้ได้ 2 สมัย คือ สมัยแรก สร้างรูปแบบเจดีย์เป็นทรงโอคว่ำตั้งอยู่บนฐานเขียงสูง โดยฐานเจดีย์มีความกว้างประมาณ 150 เซนติเมตร ฐานเขียงมีความสูง 50 เซฯติเมตร ต่อด้วยชั้นอิฐบัวและขุดฐานบัวประกอบท้องไม้ประดับลูกแก้วสองเส้น ถัดขึ้นไปเป็นแนวอิฐลดหลั่นกันสามชั้นรองรับองค์ระฆังทรงโอคว่ำ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ และแกนฉัตรไม่ประดับเสาหาน โดยบัลลังก์และแกนฉัตรที่กล่าวอ้างนี้เป็นชั้นเดียวกัน ทำด้วยดินเผา ได้พบข้างเจดีย์ก่อนการขุดค้น เหนือแกนฉัตรเป็นส่วนยอดแบบปล้องไฉน โดยปล้อง”ฉนมีลักษณะซ้อนกันอย่างองค์เจีย์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เนื่องจากพบชิ้นส่วนอิฐรูปโค้งที่สามารถนำมาประกอบเข้าเป็นวงสำหรับซ้อนชั้นได้ จากการจำลองรูปแบบสมบูรณ์ได้ประมาณความสูงของเจดีย์องค์นี้ไว้ประมาณ 320 เซนติเมตร จากรูปแบบของเจดีย์องค์นี้ในสมัยแรกน่าจะสร้างขึ้นโดยอาศัยรูปแบบของกลุ่มเจดีย์รายรอบองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับการบูรณะประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 แต่รูปแบบขององค์ระฆังที่เพรียวขึ้นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอยุทธาตอนกลางแล้ว จึงกำหนดอายุเจดีย์ในสมัยแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 สมัยที่สอง มีการขยายขนาดของเจดีย์จึงพบการก่ออิฐประกบผิวองค์เจดีย์ในสมัยแรก หนาด้านละประมาณ 20 เซนติเมตร มีผลให้ฐานเจดีย์ขยายขนาดเป็นด้านละ 190 เซฯติเมตร แต่เนื่องจากหลักฐานในสมัยนี้พังทลายไปเกือบหมดจึงไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบองค์เจดีย์ในสมัยนี้ได้


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช


วันที่เก็บข้อมูล
9 ก.ย. 2566

เอกสารอ้างอิง

รายงานการขุดค้น สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช


แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

169 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ถ้ำเขาพรง นับเป็นถ้ำเก่าแก่ถ้ำหนึ่งของหมู่ 15 ต. ทุ่งปรัง อ.สิชล สถานที่ตั้งอยู่บนภูเขามีพระพุทธรูปทั้งพระนออนและพระนั่งประดิษฐานอยู่ในถ้ำและมีของเก่าแก่มากมายที่เหมาะกับเป็นแหล่งศึกษาด้านประวัติศาสตร์และศาสนา สำหรับถ้ำเขาพรงมีสองฝั่งคือ ถ้ำเขาพรงตะวันออกและถ้ำเขาพรงตะวันตก จากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์นายวิชัย อาจหาญ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าถ้ำเขาพรงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริเวณนี้ยังมีถ้ำนาคราชอีกถ้ำหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม
ถ้ำนาคราช
ถ้ำนาคราชตั้งอยู่ที่เขาพรงตะวันออก มีลักษณะเป็นถ้ำ เพิงผาถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดต่าง ๆ ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยเป็นรูปต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือรูปพญานาค หากมีฝนตกหนักในช่วงฤดูฝนอาจมีน้ำท่วมขังภายในถ้ำ และบริเวณ
อ่านเพิ่มเติม
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม