Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / วัดถ้ำเทียนถวาย
วัดถ้ำเทียนถวาย

รายละเอียด

วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดเก่าแก่ ถูกสร้างโดยวิธีการขว้างด้วยเลฑฑุบาต(เลฑฑุบาตมีความหมายทางตรงว่า “ก้อนดิน อาณาเขตที่สร้างด้วยก้อนดิน” แต่ความหมายทั่วไปคือ “วัดสำคัญในเมืองนั้น ๆ ที่ถูกสร้างโดยการใช้วิธีเลฑฑุบาต ซึ่งครั้งอดีตการสร้างวัดกำหนดว่าวัดนั้น ๆ จะได้อาณาเขตเท่าใดต้องทำพิธีปั้นดินเป็นก้อน ๆ แล้วขว้างออกไปเพื่อให้ได้อาณาเขต การวัดระยะทางเช่นนี้วัดจากคนขว้างจนถึงที่ก้อนดินตกเป็น 1 เลฑฑุบาต เนื่องจากเมื่อก่อนยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนั้น ๆ จึงใช้วิธีนี้แทน วิธีนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2) วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือจดเขาวัดถ้ำ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทางสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 20 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2428 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง วิหาร กว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีฌาปนสถาน หอระฆัง โรงครัว และกุฏิเจ้าอาวาส ปูชณียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูง 80 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 พระประธานประจำศาลาการเปรียญปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 48 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 1 (พ.ศ.1-100)

ที่อยู่
หมูที่ 14 ตำบล ทุ่งปรัง พิกัด (8.977950,99.866900)

สถานะ
อยู่ในความดูแลของชาวบ้าน/วัด/ชุมชน

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
ชุมชน

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าประเพณี

ครั้งอดีตเคยมีการทำเทียนถวายวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

วัดถ้ำเทียนถวายเมื่อมองออกไปจะเห็นภูเขาวัดถ้ำ ภูเขาแห่งนี้ปกคลุมไปด้วยผืนป่า มีต้นไม้นานาชนิด และมีถ้ำหลายแห่ง สำหรับลักษณะของภูเขาวัดถ้ำมีลักษณะเป็นหน้าหลาก ในอดีตเคยเป็นที่อยู่ของผึ้ง ทั้งบนต้นไม้และหน้าผา สันนิษฐานว่า อาจนำขี้ผึ้งบริเวณหน้าผาไปทำเทียนด้วย สำหรับวิธีการจับผึ้งในสมัยก่อนหากมีผึ้งอยู่บนต้นไม้หลายญวณ ต้องจุดธูป เทียน นำใบไม้มา 3 ใบมาประกบกันและท่องคาถาและตอกลงบนต้นไม้ มีการช้านางผึ้ง (บูชา) หากบนหน้าผาต้องหาคนมีวิชาอาคมจึงจะขึ้นไปจับผึ้งได้ ปัจจุบันวิธีการจับผึ้งก็ยังคงต้องทำพิธีก่อนจับผึ้งเสมอเช่นกันแต่อาจตัดทอนบางขั้นตอนไป และด้วยมีผึ้งมากวัดถ้ำเทียนถวายจึงมีหน้าที่ทำเทียนโดยใช้ขี้ผึ้งจากถ้ำวัดเขาส่วนหนึ่งเพื่อถวายแด่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร แม้ว่าวัดถ้ำเทียนถวายจะมีหน้าที่ทำเทียนเพื่อส่งไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร แต่หน้าที่ทำเทียนเป็นของคนในชุมชนแห่งนี้อยู่ก่อนเพราะชุมชนแถบนี้เป็นชุมชนใหญ่มาแต่เดิม (ชุมชนใน อ. สิชลแบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคพราหมณ์ และยุคพุทธ) ชุมชนแถบนี้จะอยู่อาศัยกันเป็นหย่อม ๆ มีพื้นที่นาเป็นส่วนใหญ่ รอบนาจะสร้างบ้านบนโคก ถัดมาจะเป็นนาและมีเขาวัดถ้ำเทียนถวายเป็นศูนย์กลาง


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)
1. นายอุดร วิบูลย์ศิลป์
2. นายวิเชียร วิบุลศิลป์
3. นายนิวัฒน์ งามขำ
4. นายธัญยพงศ์ นาคกายสิทธิ์

การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
นายอุดร วิบูลย์ศิลป์ (0848416283), นายวิเชียร วิบุลศิลป์ (0636348765), นายนิวัฒน์ งามขำ (0819581999) และนายธัญยพงศ์ นาคกายสิทธิ์ (0949462643)

วันที่เก็บข้อมูล
8 มิ.ย. 2566

เอกสารอ้างอิง

กองพุทธศานสถาน สำนักงานพระพุทธศานาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 23. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศานาแห่งชาติ


แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

565 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
เรือนเก่าอดีตเจ้าเมืองอลอง (ขุนทิพย์ขุนทิพย์พิมลแห่งแขวงสุชลฉลอง)
ปัจจุบันเรือนเก่าหลังนี้หลงเหลือแค่ตอเสาที่สร้างจากไม้แกนขี้เหล็กทั้งต้น ชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเรือนถูกรื้อไปสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งเรือนเก่าของขุนทิพย์
อ่านเพิ่มเติม
เตาถลุงเหล็ก ณ บ้านสวนพอด้วน

เป็นเตารูปทรงคล้ายจอมปลวก สูง 80 เซนติเมตร กว้างด้านละ 2 เมตร มีช่องเข้าทางทิศตะวันออก วัสดุที่ครอบเตาเป็นตะกรันเหล็ก ลักษณะของเตาที่พบมีความสอดคล้องกับเตาถลุงเหล็กที่พบทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างทางเหนือสมัยถูกต้อนมายังเมืองอลองเมื่อครั้งอดีต 

อ่านเพิ่มเติม
บ้านไม้กึ่งปูนของตระกูล นพเดช

บ้านหลังนี้เดิมที่เป็นบ้านไม้ยกพื้นสูง ไม้ที่สร้างบ้านถูกรื้อมาจากเรือนหลังเก่าของขุนทิพย์พิมล ปัจจุบันใต้ถุนบ้านปรับปรุงใหม่โดยก่ออิฐถือปูน เมื่อขึ้นไปด้านบนพบกับลานกว้าง ๆ มีห้องอยู่ด้านข้าง 2 ห้อง ห้องด้านข้างสร้างไว้สำหรับลูกสาว ส่วนลานกว้างไว้เป็นที่หลับนอนของลูกชาย ที่บ้านหลังนี้มีภูมิปัญญาการเจาะไม้กระดานไว้นอกชานบ้านให้เป็นช่องเพื่อใช้สำหรับปัสสาวะของผู้หญิงบนเรือน ห้องน้ำแยกออกจากตัวบ้าน มีครัวอยู่ใต้ถุนบ้าน

อ่านเพิ่มเติม