Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / พระพุทธรูปภายในถ้ำแจ้ง
พระพุทธรูปภายในถ้ำแจ้ง

รายละเอียด

ถ้ำแจ้งตั้งอยู่ภายในเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปโบราณมีลักษณะหูยาวลงมา มีดอกบัวห้อยสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสมัยมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อยู่บริเวณด้านตะวันออกของเขาวัดถ้ำ ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) 


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 24 (พ.ศ.2301-2400)

ที่อยู่
ตำบล ทุ่งปรัง

สถานะ
ขุดค้นโดยกรมศิลป์โดยไม่ได้พัฒนาต่อ

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
ชุมชน

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าประเพณี

"เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของทวดเขียว" คนในแถบนี้ไม่มีใครกล้าหยิบหรือนำอะไรออกจากถ้ำ เพราะต่างเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ชื่อว่า “ทวดเขียว” มีคนเล่าว่า ในช่วงค่ำขณะเดินทางมาจาก ต. ฉลอง ต้องเดินทางผ่านช่องเขาไปทางหน้าถ้ำ พวกเขาเห็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำยืนคล่อมทางอยู่ กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องเดินลอดหว่างขาชายรูปร่างสูงใหญ่นั้นไป และหากชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นภายในหมู่บ้านจะมีงูบองหลา (จงอาง) มาแสดงให้เห็นเพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง นอกจากนี้ยังมีพวกแสวงโชค แสวงหาของขลังมาตีพระพุทธรูปในถ้ำเพื่อต้องการเหล็กไหล สมัยก่อนมีคนมาทำพิธีเพื่อขอเหล็กไหลจากถ้ำ (ตามความเชื่อเหล็กไหลคือของศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่า มีเทพรักษาสถิตอยู่แตกต่างกันตามชนิดของเหล็กไหล) คนที่มาแสวงหาเหล็กไหลส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เพราะคนในชุมชนเองไม่กล้าขึ้นไปหาเพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์ ณ ถ้ำแจ้งจะมีความศักดิ์สิทธิ์มากหากใครหยิบอะไรในถ้ำไปจะต้องนำกลับมาคืนมิเช่นนั้นจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นกับผู้ที่เอาไป และมีคนเคยเห็นงูบองหลา (จงอาง) มาเลื้อยอยู่หน้าถ้ำ


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

1. นายอุดร วิบูลย์ศิลป์
2. นายวิเชียร วิบุลศิลป์
3. นายนิวัฒน์ งามขำ
4. นายธัญยพงศ์ นาคกายสิทธิ์


การติดต่อผู้ให้ข้อมูล
1.นายอุดร วิบูลย์ศิลป์ (0848416283) 2. นายวิเชียร วิบุลศิลป์ (0636348765) 3. นายนิวัฒน์ งามขำ (0819581999) 4. นายธัญยพงศ์ นาคกายสิทธิ์ (0949462643)

วันที่เก็บข้อมูล
8 มิ.ย. 2566

แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

262 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
พระลากวัดเขาน้อย

เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา

อ่านเพิ่มเติม
กลองมโหระทึก

“ลักษณะเฉพาะของกลองมโหระทึก” กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อมีอายุประมาณ 2000-3000 ปี ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนาม สำหรับกลองมโหระทึกที่ถูกค้นพบที่บ้านเทพราชแห่งนี้มีแค่ส่วนของหน้ากลองที่เป็นแผ่นเรียบ หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์สาดแสงสบแฉก ถัดไปเป็นลายเรขาคณิต (ขีดและวงกลมสลับกัน และเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีนที่เชื่อมต่อกันไปโดยรอบวง) และลายนกบิน สภาพยังคงสมบูรณ์ แม้จะมีบางส่วนถูกรถไถทำลายไปบ้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 ซม.

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปโบราณ ณ ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ภายในถ้ำเขาพรงมีพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชจำนวนหลายสิบองค์ ทั้งพระพุทธรูปโบราณประทับนั่งขัดสมาธิ จำนวน 27 องค์ พระพุทธไสยาสน์ 1 องค์ ขนาดยาวประมาณ 7 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยพระพุทธรูปทั้งหมดประดิษฐานบนแท่นคอนกรีตสูงจากพื้นดินราว 1 เมตร ต่อเนื่องกับผนังถ้ำตลอดแนวยาวกว่า 32 เมตร พระพุทธรูปที่พบทำจากปูนปั้นและหินทรายขนาดต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม