Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / ช้างแผ่นดุนทอง
ช้างแผ่นดุนทอง

รายละเอียด

"ลักษณะเฉพาะของ “ช้างแผ่นดุนทอง” การดุน หมายถึง การทำให้แผ่นโลหะต่างๆ เช่น แผ่นเงิน แผ่นทอง ฯลฯ เป็นรูปรอยนูนขึ้นมา เรียกกรรมวิธีนี้ว่า ดุนลาย และอาจเรียกลวดลายที่ทำขึ้นนี้ว่า ลายดุน สำหรับวัตถุโบราณที่พบบนเขาคาชิ้นนี้ดุนด้วยแผ่นทองรูปช้างพลายเต็มตัว มีงา มีหางและกำลังเหลียวมอง สันนิษฐานว่าสร้างตอนกษัตริย์เสด็จเยือนในการลงเสาเอกของเทวาลัย กรมศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราชได้เคยมาดูเช่นกันแต่คุณวิลาศไม่ได้มอบให้ ความเก่าแก่ของช้างแผ่นดุนทองคำชิ้นนี้มีอายุราว ศตวรรษที่ 13-14 ในยุคตามพรลิงค์ "


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 13 (พ.ศ.1201-1300)

ที่อยู่
หมูที่ 11 ตำบล เสาเภา พิกัด (8.877220,99.871200)

สถานะ
ขุดค้นโดยกรมศิลป์โดยไม่ได้พัฒนาต่อ

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์

ศาสนา
พราหมณ์

เรื่องเล่าประเพณี

ในราวปี พ.ศ. 2536-2538 ไม่แน่ชัด ราว ๆ 28-29 ปีมาแล้ว ขณะที่สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราชทำการบูรณะโบราณสถานเขาคา นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์กลับจากทำสวนแตงโม ได้เดินขึ้นไปบนเนินหมายเลข 2 บนเขาคา ซึ่งขณะนั้นมีการปรับปรุงพื้นที่บนเขาคาโดยสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช คนงานที่ปรับปรุงพื้นที่ได้ขุดไถดิน และรถไถได้ดันดินที่ไถไปทิ้ง นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์เดินผ่านมาจึงเห็นช้างแผ่นดุนทองวางอยู่บนกองดินที่ถูกนำไปทิ้ง ความฝันหลังจากได้ครอบครอง “ช้างแผ่นดุนทอง” หลังจากได้ครอบครองช้างแผ่นดุนทองแล้ว นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์ฝนว่ามีคนมาบอกว่า “ลูกเห้อ (ลูกเอ่ย) อย่าให้ไป ไว้ให้ลูกให้หลานอย่าเห็นแก่เงินแก่ทอง” นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์จึงเก็บไว้จนปัจจุบัน และหลังจากได้ครอบครองมีผู้คนแวะเวียนมาเยี่ยมชมมากมาย หลายคนถูกหวยรวยเบอร์เพราะเห็นเลขเด็ดบนแผ่นช้างดุนทองคำ


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์ อายุ 76 ปี


วันที่เก็บข้อมูล
22 ก.ค. 2566

แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

278 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
พระลากวัดเขาน้อย

เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา

อ่านเพิ่มเติม
กลองมโหระทึก

“ลักษณะเฉพาะของกลองมโหระทึก” กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อมีอายุประมาณ 2000-3000 ปี ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนาม สำหรับกลองมโหระทึกที่ถูกค้นพบที่บ้านเทพราชแห่งนี้มีแค่ส่วนของหน้ากลองที่เป็นแผ่นเรียบ หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์สาดแสงสบแฉก ถัดไปเป็นลายเรขาคณิต (ขีดและวงกลมสลับกัน และเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีนที่เชื่อมต่อกันไปโดยรอบวง) และลายนกบิน สภาพยังคงสมบูรณ์ แม้จะมีบางส่วนถูกรถไถทำลายไปบ้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 ซม.

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปโบราณ ณ ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ภายในถ้ำเขาพรงมีพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชจำนวนหลายสิบองค์ ทั้งพระพุทธรูปโบราณประทับนั่งขัดสมาธิ จำนวน 27 องค์ พระพุทธไสยาสน์ 1 องค์ ขนาดยาวประมาณ 7 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยพระพุทธรูปทั้งหมดประดิษฐานบนแท่นคอนกรีตสูงจากพื้นดินราว 1 เมตร ต่อเนื่องกับผนังถ้ำตลอดแนวยาวกว่า 32 เมตร พระพุทธรูปที่พบทำจากปูนปั้นและหินทรายขนาดต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม