Sichon Heritage
รายละเอียดสถานที่
/ รายละเอียดสถานที่ / วัดนาแล
วัดนาแล

รายละเอียด

วัดนาแลไม่ทราบว่าสร้างปีใด หากดูตามหลักฐานของอิฐที่เหลืออยู่ จากความหนา กว้าง และยาวของอิฐบ่งบอกได้ว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนกลางแต่ร้างไปนาน ต่อมามีชาวบ้านไสตาโครตบวชเรียนมาจนมีความรู้แตกฉานได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ชาวบ้านเรียกว่า “อุปปัชฌาย์สงค์ ท่านเห็นว่าเป็นวัดใกล้บ้านจึงหาพระมาไว้จำพรรษาที่นาแล (นั่งแล) ได้เพียง 2 รูป คือพระพร้อม สุธัมโม และพระเรื้อย จันทาโพ มาจำพรรษาในปี พ.ศ. 2431 จึงสร้างวัดขึ้น ฝังลูกนิมิตรที่โบสถ์เก่าปี พ.ศ. 2461 วัดจึงพอเจริญไปได้ กระทั่งพระเรื้อยและพระพร้อมจากไป พระอุปัชฌาย์สงค์จึงให้พระจีน ฆังคะสุวรรณโน จากวัดเขาน้อย ต. เขาน้อย (เดิมตำบลฉลอง) มาอยู่เป็นพระประจำในปี พ.ศ. 2443 วัดจึงเจริญขึ้นตามลำดับและพระภิกษุจีนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธานับถือของชาวบ้านในทุกด้าน ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดนาแลตลอดมา ในปี พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นสัญบัตร ฉายา พระครูจินตามัยคุณ และมรณภาพในปี พ.ศ. 2497 (พระครูจินตามัยคุณได้เปลี่ยนชื่อวัดนาแลเป็นวัดสโสสรสันนิบาต) หลังจากพระครูจินตามัยคุณมรณภาพพระครูจินดามยคุณเป็นเจ้าอาวาสต่อ พ.ศ. 2514 พระครูจินดามายคุณลาออกจากเจ้าอาวาส กระทั่ง พ.ศ. 2515 พระครูอินทวัชรคุณ รับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อ วัดนาแลก่อนพ่อท่านสงจะเข้ามาพัฒนาเคยเป็นวัดร้างมาก่อน มีนาด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก แต่เดิมวัดนาแลชาวบ้านเรียกว่าแลนา เพราะพื้นที่วัดเป็นนา ส่วนคำว่าแลนามาจาก ณ สถานที่แห่งนี้มีเจดีย์โบราณ 1 องค์มีพระพุทธรูปบนเจดีย์ชาวบ้านจึงเชื่อว่า พระท่านกำลังนั่งแลนา ในกาลต่อมาเลยเพี้ยนกลายมาเป็นนาแล ต่อมามีผู้คนเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงมีการทำนา ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักจึงอาจเป็นที่มาว่าชื่อบ้านนาแลที่เพี้ยนมาจากนั่งแล เดิมวัดนาแลเป็นที่เลี้ยงควายเพราะไม่มีประตูและรั้ววัด ลานวัดก็ไม่มีใช้ลานต้นพิกุนทำกิจกรรม พื้นที่ก็ต่ำเวลาฝนตกจะนั่งไม่ได้ หลังจากท่านพระครูอินทวัชรคุณเป็นเจ้าอาวาสจึงพัฒนาในหลาย ๆ อย่าง ท่านชอบเดินทางไปยังวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศเพื่อดูว่า วัดอื่นเขาพัฒนากันอย่างไรแล้วจึงกลับมาพัฒนาวัดนาแลให้ดีขึ้นโดยร่วมกับนายบรรเจิดซึ่งเป็นพระเพื่อนที่บวชอยู่ในขณะนั่น (เจ้าของร้านขายกะปิเจ๊พา) พัฒนาวัด มีการปรับพื้นที่ถมทราย บูรณะโรงครัว สร้างโบสถ์ โรงธรรม อาคาร และเมรุใหม่ นอกจากนี้ยังรณรงค์เรื่องความสะอาดให้เกิดขึ้นในวัด เมื่อชาวบ้านเห็นจึงช่วยกันรักษาความสะอาดและเห็นความสำคัญของวัดนาแลมากขึ้น ต่อมาได้สร้างรั้วล้อมวัดเพื่อไม่ให้ควายเข้ามาในวัด และปิดประตูด้านทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ปิดทางทิศใต้ คงไว้แค่ประตูด้านทิศเหนือ เพราะท่านพระครูท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์ให้คำแนะนำว่า ควรปิดประตูทั้ง 3 ด้าน หากไม่ปิดวัดจะไม่เจริญ เพราะการมีประตู 3 ทางเหมือนวัดอกแตก และแบ่งระหว่างเขตของสงฆ์และเขตฆารวาสอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่งพระครูอินทวัชรคุณได้แต่งบทประพันธ์เกี่ยวกับวัดนาแลไว้ว่า “วัดนาแลพระ วัดคงอร่ามด้วยประชาดีแล นาอยู่คงบุญญาถ่องแท้ แลลิ่วลิบลับตานาดูมากนา พระอยู่สงัดพำนักแท้แก่คู่.... พ่อท่านจีน พ่อท่านร่าน พ่อท่านเพชร(เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) ได้สร้างโรงเรียน และทำคุณประโยชน์แก่ชุมชน สังคม บ้านเมืองมากมาย และพัฒนาวัด บำรุงโรงเรียน สอนศาสนาผู้คนอย่างต่อเนื่องจนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของผู้คนใกล้ใกล จนใน ปี 2558 ทางวัดได้นำอิฐโบราณมาแปรรูปทำเป็นเจดีย์ โดยประดิษฐานไว้ที่เดิม ที่เคยมีเจดีย์องค์เดิมอยู่ โดยภายในบรรจุ พระธาตุ และอัฐิธาตุของพ่อท่านสงค์ พ่อท่านจีน และ พ่อท่านร่านด้วย โดยอิฐทั้งหมดสมัยก่อนพ่อท่านจีนท่านได้รื้อซากเจดีย์และอิฐต่างๆมาสร้างเสนาสนะภายในวัดและเอาไปสร้างโรงเรียน ซึ่งในภายหลังเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก็ได้นำกลับมาจากอาคารเก่าเกือบทั้งหมด


อายุสมัย/ยุค
พุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ.1901-2000)

ที่อยู่
หมูที่ 1 ตำบล เสาเภา พิกัด (8.870436,99.902497)

สถานะ
อยู่ในความดูแลของชาวบ้าน/วัด/ชุมชน

ผู้ครอบครอง/ผู้ดูแล
วัดนาแล

ศาสนา
พุทธ

เรื่องเล่าประเพณี

แต่เดิมวัดนาแลชาวบ้านเรียกว่าแลนา เพราะพื้นที่วัดเป็นนา ส่วนคำว่าแลนามาจาก ณ สถานที่แห่งนี้มีเจดีย์โบราณ 1 องค์มีพระพุทธรูปบนเจดีย์ชาวบ้านจึงเชื่อว่า พระท่านกำลังนั่งแลนา ในกาลต่อมาเลยเพี้ยนกลายมาเป็นนาแล ต่อมามีผู้คนเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงมีการทำนา ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักจึงอาจเป็นที่มาว่าชื่อบ้านนาแลที่เพี้ยนมาจากนั่งแล เดิมวัดนาแลเป็นที่เลี้ยงควายเพราะไม่มีประตูและรั้ววัด ลานวัดก็ไม่มีใช้ลานต้นพิกุนทำกิจกรรม พื้นที่ก็ต่ำเวลาฝนตกจะนั่งไม่ได้ หลังจากท่านพระครูอินทวัชรคุณเป็นเจ้าอาวาสจึงพัฒนาในหลาย ๆ อย่าง ท่านชอบเดินทางไปยังวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศเพื่อดูว่า วัดอื่นเขาพัฒนากันอย่างไรแล้วจึงกลับมาพัฒนาวัดนาแลให้ดีขึ้นโดยร่วมกับนายบรรเจิดซึ่งเป็นพระเพื่อนที่บวชอยู่ในขณะนั่น (เจ้าของร้านขายกะปิเจ๊พา) พัฒนาวัด มีการปรับพื้นที่ถมทราย บูรณะโรงครัว สร้างโบสถ์ โรงธรรม อาคาร และเมรุใหม่ นอกจากนี้ยังรณรงค์เรื่องความสะอาดให้เกิดขึ้นในวัด เมื่อชาวบ้านเห็นจึงช่วยกันรักษาความสะอาดและเห็นความสำคัญของวัดนาแลมากขึ้น ต่อมาได้สร้างรั้วล้อมวัดเพื่อไม่ให้ควายเข้ามาในวัด และปิดประตูด้านทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ปิดทางทิศใต้ คงไว้แค่ประตูด้านทิศเหนือ เพราะท่านพระครูท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์ให้คำแนะนำว่า ควรปิดประตูทั้ง 3 ด้าน หากไม่ปิดวัดจะไม่เจริญ เพราะการมีประตู 3 ทางเหมือนวัดอกแตก และแบ่งระหว่างเขตของสงฆ์และเขตฆารวาสอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่งพระครูอินทวัชรคุณได้แต่งบทประพันธ์เกี่ยวกับวัดนาแลไว้ว่า “วัดนาแลพระ วัดคงอร่ามด้วยประชาดีแล นาอยู่คงบุญญาถ่องแท้ แลลิ่วลิบลับตานาดูมากนา พระอยู่สงัดพำนักแท้แก่คู่.... พ่อท่านจีน พ่อท่านร่าน พ่อท่านเพชร (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) ได้สร้างโรงเรียน และทำคุณประโยชน์แก่ชุมชน สังคม บ้านเมืองมากมาย และพัฒนาวัด บำรุงโรงเรียน สอนศาสนาผู้คนอย่างต่อเนื่องจนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของผู้คนใกล้ใกล จนใน ปี 2558 ทางวัดได้นำอิฐโบราณมาแปรรูปทำเป็นเจดีย์ โดยประดิษฐานไว้ที่เดิม ที่เคยมีเจดีย์องค์เดิมอยู่ โดยภายในบรรจุ พระธาตุ และอัฐิธาตุของพ่อท่านสงค์ พ่อท่านจีน และ พ่อท่านร่านด้วย โดยอิฐทั้งหมดสมัยก่อนพ่อท่านจีนท่านได้รื้อซากเจดีย์และอิฐต่างๆมาสร้างเสนาสนะภายในวัดและเอาไปสร้างโรงเรียน ซึ่งในภายหลังเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก็ได้นำกลับมาจากอาคารเก่าเกือบทั้งหมด



ประเพณีที่เกี่ยวข้อง
(คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณี ช่วงที่จัด ขั้นตอนที่ดำเนินการ)

ประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา


ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ-สกุล)

พระครูอินทวัชรคุณ (เพชร อินทวีโร) 85 พรรษา


วันที่เก็บข้อมูล
11 ต.ค. 2566

เอกสารอ้างอิง

พิชญพงษ์ เพชรทับ. (9 กันยายน 2563). วัดนาแลและพ่อท่านจีน. [เว็บบล็อค]. สืบค้นจาก https://ikaicom.wordpress.com/2020/09/09/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/


แผนที่

ภาพที่เกี่ยวข้อง

242 views
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
วัดถ้ำเทียนถวาย
วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดเก่าแก่ ถูกสร้างโดยวิธีการขว้างด้วยเลฑฑุบาต(เลฑฑุบาตมีความหมายทางตรงว่า “ก้อนดิน อาณาเขตที่สร้างด้วยก้อนดิน” แต่ความหมายทั่วไปคือ “วัดสำคัญในเมืองนั้น ๆ ที่ถูกสร้างโดยการใช้วิธีเลฑฑุบาต ซึ่งครั้งอดีตการสร้างวัดกำหนดว่าวัดนั้น ๆ จะได้อาณาเขตเท่าใดต้องทำพิธีปั้นดินเป็นก้อน ๆ แล้วขว้างออกไปเพื่อให้ได้อาณาเขต การวัดระยะทางเช่นนี้วัดจากคนขว้างจนถึงที่ก้อนดินตกเป็น 1 เลฑฑุบาต เนื่องจากเมื่อก่อนยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนั้น ๆ จึงใช้วิธีนี้แทน วิธีนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2) วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือจดเขาวัดถ้ำ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทางสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 20 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2428 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง วิหาร กว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีฌาปนสถาน หอระฆัง โรงครัว และกุฏิเจ้าอาวาส ปูชณียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูง 80 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 พระประธานประจำศาลาการเปรียญปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 48 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527
อ่านเพิ่มเติม
เรือนเก่าอดีตเจ้าเมืองอลอง (ขุนทิพย์ขุนทิพย์พิมลแห่งแขวงสุชลฉลอง)
ปัจจุบันเรือนเก่าหลังนี้หลงเหลือแค่ตอเสาที่สร้างจากไม้แกนขี้เหล็กทั้งต้น ชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเรือนถูกรื้อไปสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งเรือนเก่าของขุนทิพย์
อ่านเพิ่มเติม
เตาถลุงเหล็ก ณ บ้านสวนพอด้วน

เป็นเตารูปทรงคล้ายจอมปลวก สูง 80 เซนติเมตร กว้างด้านละ 2 เมตร มีช่องเข้าทางทิศตะวันออก วัสดุที่ครอบเตาเป็นตะกรันเหล็ก ลักษณะของเตาที่พบมีความสอดคล้องกับเตาถลุงเหล็กที่พบทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างทางเหนือสมัยถูกต้อนมายังเมืองอลองเมื่อครั้งอดีต 

อ่านเพิ่มเติม