พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม นั่งเรียนกันสองแถว แถวละ 3 องค์ รวมทั้งหมด 6 องค์ องค์กลางบน นั่งในซุ้มปราสาทเรือนยอดแบบขอม ขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธสองข้างด้านล่างมีพระพุทธนั่งเรียงกันสามองค์ ทั้งหมดขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนตอเมตร) ก. 7.1 ส. 11.2 สร้างจากดินเผา
พบที่วัดนาขอม อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช นายลภ ดำรักษ์ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2518 ปัจจุบันจัดแสดงที่อาคารจัดแสดง ห้องพระพุทธศาสนา ตู้ M 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา
“ลักษณะเฉพาะของกลองมโหระทึก” กลองมโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อมีอายุประมาณ 2000-3000 ปี ลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ส่วนหน้ากลองและฐานนั้นผายออก มีด้านหนึ่งเป็นแผ่นเรียบซึ่งเป็นส่วนของหน้ากลอง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นส่วนฐานเป็นรูปกรวยและกลวง ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนาม สำหรับกลองมโหระทึกที่ถูกค้นพบที่บ้านเทพราชแห่งนี้มีแค่ส่วนของหน้ากลองที่เป็นแผ่นเรียบ หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์สาดแสงสบแฉก ถัดไปเป็นลายเรขาคณิต (ขีดและวงกลมสลับกัน และเป็นวงกลมลวดลายคล้ายประแจจีนที่เชื่อมต่อกันไปโดยรอบวง) และลายนกบิน สภาพยังคงสมบูรณ์ แม้จะมีบางส่วนถูกรถไถทำลายไปบ้าง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 52 ซม.