พระวิษณุ พระวิษณุ/นารายณ์ สวมหมวกทรงกระบอกสูงเรียบไม่มีลวดลาย คาดผ้าห้อยด้านหน้าเป็นวงโค้ง และผูกห้อยด้านหลัง มีสี่กร พระกรขวาบนหัก พระกรขวาล่างถือธรณี(ก้อนดิน) พระกรซ้ายและขวาล่าง มีหินเชื่อมถึงฐาน เป็นเทคนิคการสลักเพื่อไม่ไห้หักง่าย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง
ส. 41.5
พุทธศตวรรษที่ 12 - 13
พบในซากเทวสถานบ้านพังกำ กรมสิลปากรได้รับมอบมาจาก นายมาตร หงษ์ชู บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 9 ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมอบเงินรางวัลให้แก่ผู้พบ 50,000 บาท เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2526
หิน หินปูน
อาคารจัดแสดงห้องพราหมณ์-ฮินดู ในตู้รูปตัว U
ศิวลึงค์แบบประเพณีนิยม ประกอบด้วยชั้นล่างสุด พรหมภาคอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นกลางวิษณุภาครูปทรงแปดเหลี่ยม ชั้นบนรุทรภาครูปทรงกระบอกปลายมนมีการสลักเส้นตั้งเส้นหนึ่งเรียกว่าเส้นพรหมสูตรและเส้นลากออกไปด้านข้างทั้งสองข้างเรียกว่าเส้นปารศวสูตร เลียนแบบอวัยวะเพศชาย ทำด้วยทองคำ วัดขนาดแยกตามส่วนได้ดังนี้ รุทรภาค สูง 1.2 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.9 ซม. วิษณุภาค สูง 0.4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 ซม. พรหมภาค สูง 0.4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 ซม. ฐานทำด้วยเงิน ลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 0.8 ซม. ลึก 0.6 ซม. พร้อมแผ่นทอง 3 แผ่น สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง
ดินเผา
หิน
หิน