พระวิษณุ ประติมากรรมนูนสูงรูปพระวิษณุหิน 2 กร ประทับยืนสมภังค์ (ยืนตรง) พระเศียรชำรุดแต่มีแผ่นหลังที่มีร่องรอยศิรจักร พระหัตถ์ขวาทรงถือก้อนดิน (ธรณี) พระหัตถ์ซ้ายทรงคทา ทรงโธตียาวลงมาถึงข้อพระบาทขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี คาดผ้าที่พระโสณีห้อยเป็นวงโค้ง มีชายผ้าห้อยด้านหน้า
ส. 31 ฐก. 13 หนา 6
พุทธศตวรรษที่ 13
นายเนียม ประจันพล อายุ 80 ปี ราษฎรบ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 15 บ้านราชพฤกษ์ ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช พบเทวรูปพระวิษณุที่โบราณสถานเขาคา บริเวณโบราณสถานหมายเลข 4 (ประมาณ 50 ปีมาแล้ว) และได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่บ้านตน ต่อมาได้มอบให้สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับมอบเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558
หิน
ห้องทะเบียน/ตู้เหล็ก/ชั้น 3
ศิวลึงค์แบบประเพณีนิยม ประกอบด้วยชั้นล่างสุด พรหมภาคอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นกลางวิษณุภาครูปทรงแปดเหลี่ยม ชั้นบนรุทรภาครูปทรงกระบอกปลายมนมีการสลักเส้นตั้งเส้นหนึ่งเรียกว่าเส้นพรหมสูตรและเส้นลากออกไปด้านข้างทั้งสองข้างเรียกว่าเส้นปารศวสูตร เลียนแบบอวัยวะเพศชาย ทำด้วยทองคำ วัดขนาดแยกตามส่วนได้ดังนี้ รุทรภาค สูง 1.2 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.9 ซม. วิษณุภาค สูง 0.4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 ซม. พรหมภาค สูง 0.4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 ซม. ฐานทำด้วยเงิน ลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 0.8 ซม. ลึก 0.6 ซม. พร้อมแผ่นทอง 3 แผ่น สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง
ดินเผา
หิน
หิน หินปูน