Sichon Heritage
แหล่งประวัติศาสตร์
/ แหล่งประวัติศาสตร์
แหล่งประวัติศาสตร์ในตำบล
21 พ.ย. 2566
127
ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ถ้ำเขาพรง นับเป็นถ้ำเก่าแก่ถ้ำหนึ่งของหมู่ 15 ต. ทุ่งปรัง อ.สิชล สถานที่ตั้งอยู่บนภูเขามีพระพุทธรูปทั้งพระนออนและพระนั่งประดิษฐานอยู่ในถ้ำและมีของเก่าแก่มากมายที่เหมาะกับเป็นแหล่งศึกษาด้านประวัติศาสตร์และศาสนา สำหรับถ้ำเขาพรงมีสองฝั่งคือ ถ้ำเขาพรงตะวันออกและถ้ำเขาพรงตะวันตก จากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์นายวิชัย อาจหาญ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าถ้ำเขาพรงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริเวณนี้ยังมีถ้ำนาคราชอีกถ้ำหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม
2 ก.พ. 2567
91
ถ้ำนาคราช
ถ้ำนาคราชตั้งอยู่ที่เขาพรงตะวันออก มีลักษณะเป็นถ้ำ เพิงผาถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดต่าง ๆ ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยเป็นรูปต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือรูปพญานาค หากมีฝนตกหนักในช่วงฤดูฝนอาจมีน้ำท่วมขังภายในถ้ำ และบริเวณ
อ่านเพิ่มเติม
1 พ.ค. 2567
86
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม
1 พ.ค. 2567
57
เจดีย์โบราณ (เขาคอกวาง ต. สิชล)

เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้

อ่านเพิ่มเติม
1 พ.ค. 2567
86
เจดีย์บ้านไสอิฐ

เจดีย์บ้านไสอิฐ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานกว้าง 190 เซนติเมตร สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ด้านเหนือและด้านตะวันตกยังคงสมบูรณ์กว่าด้านอื่น ส่วนด้านทิศใต้ถูกเจาะพังทลายจนถึงส่วนแกนกลางเจดีย์ บริเวณฐานเจดีย์ด้านเหนือ และด้านตะวันตกมีร่องรอยการก่อฐานประกบฐานเขียง หนาด้านละประมาณ 20 เซฯติเมตร และบนฐานเขียงด้านตะวันตกยังมีร่องรอยการก่ออิฐประกบเข้ากับองค์เจดีย์ เพื่อขยายขนาดขององค์เจดีย์ให่ใหญ๋ขึ้น แต่ร่องรอยที่มีอยู่ปรากฏเพียง 3 ชั้นอิฐเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม
29 พ.ค. 2567
141
บ่อน้ำซับหน้าถ้ำนาคราช
บ่อน้ำซับ/น้ำทรัพย์แห่งนี้ปรากฏอยู่ในลำคลองท่าเชี่ยว บริเวณหน้าศาลาพ่อท่านนาคราช เหตุที่เรียกบ่อน้ำซับเนื่องจากเป็นแหล่งน้ำออกหรือรูน้ำที่ออกตลอดปีหรือน้ำซับผิวดิน ที่มีน้ำไหลออกมาอยู่ตลอดปีไม่เหือดแห้ง ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นมาหลายชั่วอายุคน มาภายหลังเรียก บ่อทรัพย์ ปัจจุบันบ่อน้ำทรัพย์แห่งนี้เริ่มแห้งเหือดเนื่องจากมีการสร้างเขื่อน และมีการกักเก็บน้ำไว้ช่วงต้นน้ำเพื่อทำการเกษตร
อ่านเพิ่มเติม
29 พ.ค. 2567
192
ถ้ำแจ้ง วัดเขาน้อย

ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อย เป็นแหล่งศึกษาด้านศิลปกรรมเนื่องจากมีพระพุทธรูปโบราณหลากหลายยุค ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยอยุธยา พุทธศิลป์จะมีลักษณะบ่งบอกความเป็นท้องถิ่น หนึ่งในนั้นมีพระพุทธรูปทรงเครื่องด้วย คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องสันนิษฐานว่ามีหลายคติ เช่น พระพุทธเจ้าเคยเป็นเจ้าชายมาก่อน จึงมีศักดิ์ที่สามารถทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราชได้ หรือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเปรียบได้กับพระจักรพรรดิราชาธิราช คือเป็นพระราชาแห่งพระราชาทั้งหลาย นอกจากนี้ยังมีคติเรื่องชมพูบดีสูตร กล่าวคือพระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิเพื่อสั่งสอนพญามหาชมพู รวมทั้งหมายถึงพระศรีอารยเมตไตรย หรือพระอนาคตพุทธเจ้า

อ่านเพิ่มเติม
29 พ.ค. 2567
71
ศาลเจ้าตาปะขาว

ณ ศาลเจ้าแห่งนี้มีรูปเคารพได้แก่ ต้าแปะกง (เชื่อกันว่าคนท้องถิ่นเรียกต้าแปะกงเพี้ยนเป็นตาปะขาว) เทพกวนอู เจ้าแม่กวนอิม และพระพุทธรูป ไม่มีป้ายจารึก ศาลเจ้าตาปะขาวมี 2 ศาล ศาลแรกจะอยู่ด้านล่างมีขนาดเล็กและศาลใหม่อยู่ด้านบน

อ่านเพิ่มเติม
29 พ.ค. 2567
64
ศาลพ่อขุนทะเล

ศาลพ่อขุนทะเล คือศาลที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ที่ตั้งศาลอยู่บริเวณปากน้ำสิชล ภายในศาลพวงมาลัยเรือและก้อนหินที่ได้จากการระเบิดหินเป็นเครื่องสักการะ นอกจากนี้ยังมีองค์จตุคามรามเทพประดิษฐานอยู่ด้วย

อ่านเพิ่มเติม
29 พ.ค. 2567
73
เจดีย์วัดนาแล

เจดีย์ที่พบมี 2 องค์ ทรงระฆังคว่ำ ขณะค้นพบเหลือแค่คอเจดีย์ มีพระพุทธรูปประดิษฐานบนยอดคอเจดีย์ สร้างด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ กว้างแผ่นละประมาณ 3.5 นิ้ว ยาวประมาณ 13.5 นิ้ว

อ่านเพิ่มเติม