Sichon Heritage
เจดีย์โบราณ (เขาคอกวาง ต. สิชล)
เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) ที่ตั้ง แหลมเขาคอกวาง ต. สิชล อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับที่ดินเอกชน ทิศใต้ ติดกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก ติดกับทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินเอกชน สภาพทั่วไป เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้ ประวัติความเป็นมา นายชาญวัฒนา อิสระวัฒนา (เจ้าของที่ดิน) เล่าว่า พื้นที่บริเวณนี้คุณตาของนายชาญวัฒนา อิสระวัฒนาเข้ามาบุกเบิกจับจองเพื่อทำมาหากินประมาณ 120 ปีมาแล้ว ขณะบุกเบิกพบเจดีย์ตั้งบนยอดเขาแล้ว แต่ไม่ปรากฏชื่อหรือประวัติการสร้าง ภายหลังจึงตั้งชื่อเรียกตามชนิดของต้นไม้ที่ปกคลุมองค์เจดีย์ว่า “เจดีย์ร่มโพธิ์ร่มไทร” ปัจจุบันมีการปรับพื้นที่และซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดบริเวณฐานเจดีย์เนื่องจากมีการขุดเจาะหาสิ่งมีค่าภายในเจดีย์ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ 1. เจดีย์ เป็นทรงระฆังก่ออิฐสอปูน ลักษณะฐานเจดีย์เป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมจตุรัสยาวประมาณด้านละ 2.7 เมตร สูงประมาณ 60 เซนติเมตร องค์ระฆังยืดสูงเป็นทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่านรอบวงประมาณ 2.5 เมตร มีลวดบัวรัดบริเวณส่วนล่างขององค์ระฆัง ส่วนยอดชำรุดหักพัง มีต้นโพธิ์ต้นไทรปกคลุมหนาแน่น เจดีย์สูงประมาณ 5 เมตร ปูนที่ใช้สอเป็นปูนหมักปูนตำ มีส่วนผสมของเปลือกหอยในเนื้อปูน ลักษณะอิฐที่ใช้ก่อสร้างส่วนฐานเป็นอิฐทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 11 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร หนา 5.5 เซฯติเมตร ก่อเรียงแบบสั้นสลับยาว ส่วนองค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐหน้าวัวขนาด หน้าแคบกว้าง 13 เซฯติเมตร หน้ายาวกว้าง 17 เซนติเมตร ความยาว 13.5 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร 2. กำแพงหิน มีลักษณะเป็นแนวกำแพง สร้างจากการเรียงหินขนาดต่าง ๆ ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเรียง 3 ด้าน ยกเว้นด้านตะวันออก กำแพงด้านเหนือกว้าง 4 เมตร ด้านใต้กว้าง 6 เมตร ด้านตะวันตกยาว 15 เมตร ขนาดความสูงในแต่ละด้านไม่เท่ากัน เนื่องจากพื้นที่เดิมของภูเขามีการลาดเทจากด้านตะออกไปด้านตะวันตก กำแพงหินด้านตะวันตกสูงประมาณ 1.6 เมตร สูงกว่าด้านอื่น ๆ กำแพงดังกล่าวใช้เป็นกำแพงกันดิน เพื่อปรับพื้นที่ให้ราบสำหรับการก่อสร้างเจดีย์ และเป็นลานโล่งเพื่อใช้ประโยชน์ ลักษณะการก่อกำแพงหินกันดิน เพื่อปรับสภาพสำหรับสร้างเจดีย์สามารถเห็นตามแหล่งโบราณสถานอื่น ๆ เช่น โบราณสถานเขาคา อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช โบราณสถานเขาศรีวิชัย อ. พุนพุน จ. สุราษฏร์ธานี นอกจากนี้พบว่าเจดีย์องค์นี้มีลักษณะทรงระฆังคล้ายคลึงกับเจดีย์ต่าง ๆ ที่พบในเขต จ. นครศรีธรรมราช เช่น เจดีย์บ้านไสอิฐ ต. เสาเภา อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช เจดีย์วัดเขาพระบาท ต. เขาพระบาท อ. เชียรใหญ๋ จ. นครศรีธรรมราช

58 views
×

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม
ศาลเจ้าตาปะขาว

ณ ศาลเจ้าแห่งนี้มีรูปเคารพได้แก่ ต้าแปะกง (เชื่อกันว่าคนท้องถิ่นเรียกต้าแปะกงเพี้ยนเป็นตาปะขาว) เทพกวนอู เจ้าแม่กวนอิม และพระพุทธรูป ไม่มีป้ายจารึก ศาลเจ้าตาปะขาวมี 2 ศาล ศาลแรกจะอยู่ด้านล่างมีขนาดเล็กและศาลใหม่อยู่ด้านบน

อ่านเพิ่มเติม
ศาลพ่อขุนทะเล

ศาลพ่อขุนทะเล คือศาลที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ที่ตั้งศาลอยู่บริเวณปากน้ำสิชล ภายในศาลพวงมาลัยเรือและก้อนหินที่ได้จากการระเบิดหินเป็นเครื่องสักการะ นอกจากนี้ยังมีองค์จตุคามรามเทพประดิษฐานอยู่ด้วย

อ่านเพิ่มเติม
เขื่อนกั้นทรายและคลื่นที่ร่องน้ำปากน้ำสิชล

เป็นเขื่อนขนาดเล็กที่สร้างจากการเรียงโขดหินอย่างเป็นระเบียบเป็นแนวยาว เพื่อกันการกัดเซาะของน้ำและการงอกของทราย ปลายเขื่อนมีประภาคารเพื่อส่งสัญญาณให้เรือที่เดินทางรู้ว่าต้องแล่นเรือไปทางใดล

อ่านเพิ่มเติม
ศาลาเทดา (เทวดา) เขาพลีเมือง

ศาลาเทดาเขาพลีเมืองสร้างด้วยปูน สี่เสา ตัวอาคารโล่ง ด้านในมีรูปปั้นเทดาเป็นชายสูงวัย รูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา ผมยาวเกล้ามวยผม นุ่งขาว ห่มขาว ถือไม้เท้า ด้านหน้ามีรูปปั้นเสื้อ

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด ส. 102 สร้างจากหินศิลา

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง  สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 124 สร้างจากหินศิลา

อ่านเพิ่มเติม
ผอบดินเผา พร้อมฝา

ผอบดินเผา พร้อมฝา ทรงคล้ายก้อนอิฐ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการคว้านรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางด้านใน พร้อมฝา สภาพชำรุด แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ ส. 8.5 ก. 15 ย. 16 สร้างจากดินเผา

อ่านเพิ่มเติม
ผอบหิน พร้อมฝา

ผอบหิน พร้อมฝา ผอบหินทรงกลม ตรงกลางคว้านเป็นรูรูปสี่เหลี่ยมลึกสอบลง กินหลุมรูปสี่เหลี่ยมทั้งฝาและตัวผอบ ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ สผ. 26 ส. 12 สร้างจากหิน

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 20.3 สร้างจากสำริด

อ่านเพิ่มเติม
พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม

พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม นั่งเรียนกันสองแถว แถวละ 3 องค์ รวมทั้งหมด 6 องค์ องค์กลางบน นั่งในซุ้มปราสาทเรือนยอดแบบขอม ขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธสองข้างด้านล่างมีพระพุทธนั่งเรียงกันสามองค์ ทั้งหมดขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนตอเมตร) ก. 7.1 ส. 11.2 สร้างจากดินเผา

อ่านเพิ่มเติม
พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์

พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์ ขนาด (เซนติเมตร) ส. 67.5 สร้างจากหินศิลา ลักษณะบั้นพระองค์เล็กพระโสณีผายพระเพลาใหญ่พระกรทั้ง 4 ข้างสลักแยกออกจากพระวรกายทรงยืนอยู่บนฐานที่มีเดือยและสวมกีรีฎมกุฏทรงเตี้ยทรงพระภูษาโจงยาวครอบข้อพระบาทและขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี ไม่มีผ้าคาดพระโสณี

อ่านเพิ่มเติม