จากหลักฐานที่ปรากฏจึงสามารถกำหนดรูปแบบการสร้างเจดีย์องค์นี้ได้ 2 สมัย คือ สมัยแรก สร้างรูปแบบเจดีย์เป็นทรงโอคว่ำตั้งอยู่บนฐานเขียงสูง โดยฐานเจดีย์มีความกว้างประมาณ 150 เซนติเมตร ฐานเขียงมีความสูง 50 เซฯติเมตร ต่อด้วยชั้นอิฐบัวและขุดฐานบัวประกอบท้องไม้ประดับลูกแก้วสองเส้น ถัดขึ้นไปเป็นแนวอิฐลดหลั่นกันสามชั้นรองรับองค์ระฆังทรงโอคว่ำ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ และแกนฉัตรไม่ประดับเสาหาน โดยบัลลังก์และแกนฉัตรที่กล่าวอ้างนี้เป็นชั้นเดียวกัน ทำด้วยดินเผา ได้พบข้างเจดีย์ก่อนการขุดค้น เหนือแกนฉัตรเป็นส่วนยอดแบบปล้องไฉน โดยปล้อง”ฉนมีลักษณะซ้อนกันอย่างองค์เจีย์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เนื่องจากพบชิ้นส่วนอิฐรูปโค้งที่สามารถนำมาประกอบเข้าเป็นวงสำหรับซ้อนชั้นได้ จากการจำลองรูปแบบสมบูรณ์ได้ประมาณความสูงของเจดีย์องค์นี้ไว้ประมาณ 320 เซนติเมตร จากรูปแบบของเจดีย์องค์นี้ในสมัยแรกน่าจะสร้างขึ้นโดยอาศัยรูปแบบของกลุ่มเจดีย์รายรอบองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับการบูรณะประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 แต่รูปแบบขององค์ระฆังที่เพรียวขึ้นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอยุทธาตอนกลางแล้ว จึงกำหนดอายุเจดีย์ในสมัยแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 สมัยที่สอง มีการขยายขนาดของเจดีย์จึงพบการก่ออิฐประกบผิวองค์เจดีย์ในสมัยแรก หนาด้านละประมาณ 20 เซนติเมตร มีผลให้ฐานเจดีย์ขยายขนาดเป็นด้านละ 190 เซฯติเมตร แต่เนื่องจากหลักฐานในสมัยนี้พังทลายไปเกือบหมดจึงไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบองค์เจดีย์ในสมัยนี้ได้
พระวิษณุ ประติมากรรมนูนสูงรูปพระวิษณุหิน 2 กร ประทับยืนสมภังค์ (ยืนตรง) พระเศียรชำรุดแต่มีแผ่นหลังที่มีร่องรอยศิรจักร พระหัตถ์ขวาทรงถือก้อนดิน (ธรณี) พระหัตถ์ซ้ายทรงคทา ทรงโธตียาวลงมาถึงข้อพระบาทขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี คาดผ้าที่พระโสณีห้อยเป็นวงโค้ง มีชายผ้าห้อยด้านหน้า
ขนาด (ซม.) ส. 31 ฐก. 13 หนา 6 ทำจากหิน
"ลักษณะเฉพาะของ “ช้างแผ่นดุนทอง”
การดุน หมายถึง การทำให้แผ่นโลหะต่างๆ เช่น แผ่นเงิน แผ่นทอง ฯลฯ เป็นรูปรอยนูนขึ้นมา เรียกกรรมวิธีนี้ว่า ดุนลาย และอาจเรียกลวดลายที่ทำขึ้นนี้ว่า ลายดุน สำหรับวัตถุโบราณที่พบบนเขาคาชิ้นนี้ดุนด้วยแผ่นทองรูปช้างพลายเต็มตัว มีงา มีหางและกำลังเหลียวมอง สันนิษฐานว่าสร้างตอนกษัตริย์เสด็จเยือนในการลงเสาเอกของเทวาลัย กรมศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราชได้เคยมาดูเช่นกันแต่คุณวิลาศไม่ได้มอบให้ ความเก่าแก่ของช้างแผ่นดุนทองคำชิ้นนี้มีอายุราว ศตวรรษที่ 13-14 ในยุคตามพรลิงค์
"
วัดนาแลไม่ทราบว่าสร้างปีใด หากดูตามหลักฐานของอิฐที่เหลืออยู่ จากความหนา กว้าง และยาวของอิฐบ่งบอกได้ว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนกลางแต่ร้างไปนาน ต่อมามีชาวบ้านไสตาโครตบวชเรียนมาจนมีความรู้แตกฉานได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ชาวบ้านเรียกว่า “อุปปัชฌาย์สงค์ ท่านเห็นว่าเป็นวัดใกล้บ้านจึงหาพระมาไว้จำพรรษาที่นาแล (นั่งแล) ได้เพียง 2 รูป คือพระพร้อม สุธัมโม และพระเรื้อย จันทาโพ มาจำพรรษาในปี พ.ศ. 2431 จึงสร้างวัดขึ้น ฝังลูกนิมิตรที่โบสถ์เก่าปี พ.ศ. 2461 วัดจึงพอเจริญไปได้ กระทั่งพระเรื้อยและพระพร้อมจากไป พระอุปัชฌาย์สงค์จึงให้พระจีน ฆังคะสุวรรณโน จากวัดเขาน้อย ต. เขาน้อย (เดิมตำบลฉลอง) มาอยู่เป็นพระประจำในปี พ.ศ. 2443 วัดจึงเจริญขึ้นตามลำดับและพระภิกษุจีนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธานับถือของชาวบ้านในทุกด้าน ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดนาแลตลอดมา ในปี พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นสัญบัตร ฉายา พระครูจินตามัยคุณ และมรณภาพในปี พ.ศ. 2497 (พระครูจินตามัยคุณได้เปลี่ยนชื่อวัดนาแลเป็นวัดสโสสรสันนิบาต) หลังจากพระครูจินตามัยคุณมรณภาพพระครูจินดามยคุณเป็นเจ้าอาวาสต่อ พ.ศ. 2514 พระครูจินดามายคุณลาออกจากเจ้าอาวาส กระทั่ง พ.ศ. 2515 พระครูอินทวัชรคุณ รับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อ วัดนาแลก่อนพ่อท่านสงจะเข้ามาพัฒนาเคยเป็นวัดร้างมาก่อน มีนาด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก แต่เดิมวัดนาแลชาวบ้านเรียกว่าแลนา เพราะพื้นที่วัดเป็นนา ส่วนคำว่าแลนามาจาก ณ สถานที่แห่งนี้มีเจดีย์โบราณ 1 องค์มีพระพุทธรูปบนเจดีย์ชาวบ้านจึงเชื่อว่า พระท่านกำลังนั่งแลนา ในกาลต่อมาเลยเพี้ยนกลายมาเป็นนาแล ต่อมามีผู้คนเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงมีการทำนา ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักจึงอาจเป็นที่มาว่าชื่อบ้านนาแลที่เพี้ยนมาจากนั่งแล เดิมวัดนาแลเป็นที่เลี้ยงควายเพราะไม่มีประตูและรั้ววัด ลานวัดก็ไม่มีใช้ลานต้นพิกุนทำกิจกรรม พื้นที่ก็ต่ำเวลาฝนตกจะนั่งไม่ได้ หลังจากท่านพระครูอินทวัชรคุณเป็นเจ้าอาวาสจึงพัฒนาในหลาย ๆ อย่าง ท่านชอบเดินทางไปยังวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศเพื่อดูว่า วัดอื่นเขาพัฒนากันอย่างไรแล้วจึงกลับมาพัฒนาวัดนาแลให้ดีขึ้นโดยร่วมกับนายบรรเจิดซึ่งเป็นพระเพื่อนที่บวชอยู่ในขณะนั่น (เจ้าของร้านขายกะปิเจ๊พา) พัฒนาวัด มีการปรับพื้นที่ถมทราย บูรณะโรงครัว สร้างโบสถ์ โรงธรรม อาคาร และเมรุใหม่ นอกจากนี้ยังรณรงค์เรื่องความสะอาดให้เกิดขึ้นในวัด เมื่อชาวบ้านเห็นจึงช่วยกันรักษาความสะอาดและเห็นความสำคัญของวัดนาแลมากขึ้น ต่อมาได้สร้างรั้วล้อมวัดเพื่อไม่ให้ควายเข้ามาในวัด และปิดประตูด้านทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ปิดทางทิศใต้ คงไว้แค่ประตูด้านทิศเหนือ เพราะท่านพระครูท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์ให้คำแนะนำว่า ควรปิดประตูทั้ง 3 ด้าน หากไม่ปิดวัดจะไม่เจริญ เพราะการมีประตู 3 ทางเหมือนวัดอกแตก และแบ่งระหว่างเขตของสงฆ์และเขตฆารวาสอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่งพระครูอินทวัชรคุณได้แต่งบทประพันธ์เกี่ยวกับวัดนาแลไว้ว่า “วัดนาแลพระ วัดคงอร่ามด้วยประชาดีแล นาอยู่คงบุญญาถ่องแท้ แลลิ่วลิบลับตานาดูมากนา พระอยู่สงัดพำนักแท้แก่คู่....
พ่อท่านจีน พ่อท่านร่าน พ่อท่านเพชร(เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) ได้สร้างโรงเรียน และทำคุณประโยชน์แก่ชุมชน สังคม บ้านเมืองมากมาย และพัฒนาวัด บำรุงโรงเรียน สอนศาสนาผู้คนอย่างต่อเนื่องจนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของผู้คนใกล้ใกล จนใน ปี 2558 ทางวัดได้นำอิฐโบราณมาแปรรูปทำเป็นเจดีย์ โดยประดิษฐานไว้ที่เดิม ที่เคยมีเจดีย์องค์เดิมอยู่ โดยภายในบรรจุ พระธาตุ และอัฐิธาตุของพ่อท่านสงค์ พ่อท่านจีน และ พ่อท่านร่านด้วย โดยอิฐทั้งหมดสมัยก่อนพ่อท่านจีนท่านได้รื้อซากเจดีย์และอิฐต่างๆมาสร้างเสนาสนะภายในวัดและเอาไปสร้างโรงเรียน ซึ่งในภายหลังเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก็ได้นำกลับมาจากอาคารเก่าเกือบทั้งหมด
เจดีย์ที่พบมี 2 องค์ ทรงระฆังคว่ำ ขณะค้นพบเหลือแค่คอเจดีย์ มีพระพุทธรูปประดิษฐานบนยอดคอเจดีย์ สร้างด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ กว้างแผ่นละประมาณ 3.5 นิ้ว ยาวประมาณ 13.5 นิ้ว
ศิวลึงค์ ฐาน 4 เหลี่ยม และ 8 เหลี่ยม สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 36 สผ. 9 สร้างจากหินทราย