เป็นเตารูปทรงคล้ายจอมปลวก สูง 80 เซนติเมตร กว้างด้านละ 2 เมตร มีช่องเข้าทางทิศตะวันออก วัสดุที่ครอบเตาเป็นตะกรันเหล็ก ลักษณะของเตาที่พบมีความสอดคล้องกับเตาถลุงเหล็กที่พบทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างทางเหนือสมัยถูกต้อนมายังเมืองอลองเมื่อครั้งอดีต
เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา
ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง คำว่า ย่อมุมไม้สิบสอง เป็นคำอธิบายลักษณะส่วนมุมของอาคาร เจดีย์ พระเมรุหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ทำให้มุมมีหยักเป็นเหลี่ยมออกมา แทนที่ตรงมุมจะมีเพียงมุมเดียว กลับทำหักย่อลงทำให้เป็น 3 มุม เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่สิ่งก่อสร้าง การย่อมุมทำให้มุมหนึ่งเกิดเป็น 3 มุม อาคาร เจดีย์ หรือ พระเมรุ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างทรงสี่เหลี่ยมมี 4 มุม จึงกลายเป็น 12 มุม สำหรับการย่อมุมใรทาลสถาปัตยกรรมคือ การแตกมุมใหญ่ให้เป็นมุมย่อยหลายๆ มุม แต่ยังรวมอยู่ในรูปของมุมใหญ่ ตามหลักที่นิยมมาแต่โบราณมักเป็นเลขคี่ เช่น แตกเป็นสาม เป็นห้า เรียกว่าย่อไม้สิบสอง ย่อไม้ยี่สิบ การเรียกนับสิบสองหรือยี่สิบ คือเรียกตามจำนวนที่ย่อไม้ทั้งสี่มุมเป็นชื่อจำนวนที่ย่อรวมกัน สำหรับเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองนี้ เป็นอิทธิพลการสร้างเจดีย์ของภาคกลางและภาคเหนือไม่ใช่อิทธิพลของนครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่า แนวคิดนี้เชื่อว่าน่าจะเป็นแนวคิดของช่างในสมัยสุโขทัย เห็นได้จากเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ฐานขององค์ระฆังที่เป็นรูปวงกลมจะวางอยู่บนฐานเจดีย์ที่มีผังเป็นสี่เหลี่ยม แต่เพื่อให้เกิดความกลมกลืนสัมพันธ์กับระหว่างรูปทรงเหลี่ยมกับทรงกลม จึงเกิดแนวคิดในการตัดทอนเหลี่ยมมุม ให้ทั้งสองรูปทรงมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่ติดขัด ภายในเจดีย์มีการบรรจุกระดูกเอาไว้
ปัจจุบันศาลเจ้าแห่งนี้เหลือแค่เพียงโครงสร้างไม้ หลังคายังคงมุงกระเบื้อง ตั้งอยู่บนเนินสูงในสวนปาล์มของชาวบ้าน ไม่เหลือร่องรอยอย่างอื่นให้ศึกษา