Sichon Heritage
ศาลเจ้าตาปะขาว
เรื่องเล่าประเพณี

นายเชาวลิต อิศรเดชให้ข้อมูลว่าตั้งแต่เขาเกิดก็เห็นศาลแห่งนี้แล้วแต่เป็นแค่ศาลเล็ก ๆ ทำด้วยสังกะสี เวลาผ่านไปมีเถ้าแก่ในสิชลมาปรับปรุง เช่น โกเส โกติ้น เฮ้งซุ้ย เป็นต้น ถือเป็นศาลแรกในปากน้ำ นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลว่า เริ่มต้นชุมตรงนี้มีกลุ่มคน 3 กลุ่มอาศัยอยู่คือ หนึ่งกลุ่มชาวจีนที่อพยพมากเมืองจีนโดยการล่องเรือใบจากไหหลำมาขึ้นฝั่งบริเวณนี้และตั้งรกรากที่นี้ เมื่อกลุ่มคนจีนอพยพมาจึงมาตั้งศาลเจ้าตาปะขาว กลุ่มที่สองคือมุสลิมมาทำประมงหาปลา กลุ่มที่สามคือชาวไทยเข้ามาเป็นลูกจ้าง พื้นที่บริเวณนี้แรกว่าปากน้ำสิชล เมื่อครั้งอดีตปากน้ำสิชลยังไม่มีวัดหรือสถานที่ไว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มชาวจีนจึงตั้งศาลเจ้าขึ้นมาเรียกว่า “ศาลตาปะขาว” เพื่อไว้เป็นที่สักการะเมื่อต้องออกเรือไปทำธุระกิจ เดิมที่มีการตั้งศาลเจ้าเล็ก ๆ ไว้ 1 ศาลอยู่ด้านล่างของศาลปัจจุบัน มีป้ายบอกชื่อศาลเจ้าว่า “ศาลเจ้าตาปะขาว” ด้านในจะมีไม้แกะสลักเป็นรูปเทพเจ้าต่าง ๆ ลักษณะเป็นรูปขุนศึก รูปแกะสลักเหล่านี้กลุ่มชาวจีนได้นำลงเรือมาจากเมืองจีนแล้วนำขึ้นมาสักการะยังสถานที่นี้ อายุของศาลเจ้าไม่ทราบแน่ชัด นายสุธรรม วิชชุไตรภพกล่าวว่า ตั้งแต่เกิดได้เห็นศาลเจ้าตั้งอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาคนรุ่นที่สองเช่น รุ่นบิดาของนายสุธรรม วิชชุไตรภพได้ร่วมกันพัฒนาศาลเจ้าจนมีความเจริญสูงสุดถึงขั้นรับคณะงิ้วมาแสดง (เริ่มประมาณปี พ.ศ. 2514) ต่อมามีการแสดงลิเก โนรา และหนังตะลุง และสุดท้ายคนรุ่นที่สามคือกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ได้มีการบริหารศาลเจ้าให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร้วมในการพัฒนาศาลเจ้า ใครสามารถเข้ามาเป็นเถ้าแก่ในการดูแลศาลเจ้าก็ได้โดยผ่านการสมัครเข้ามาและจะทำการทอดเบี้ย ในการตัดสินว่าใครจะได้เป็นเถ้าแก่ เถ้าแก่จะมีสิทธิ์ในการบริหารทุกอย่าง ส่วนผู้อาวุโสจะยกไว้เป็นที่ปรึกษา สำหรับความเชื่อของชาวปากน้ำที่ศรัทธาในศาลเจ้าตาปะขาวคือ เชื่อถือมาแต่ครั้งโบราณ และเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาต่อศาลเจ้าตาปะขาวคือ เหตุการณ์ไฟไหม้ที่ปากน้ำ ชาวบ้านรีบเข้าไปช่วยกันดับไฟ และเรื่องโรคติดต่ออหิวาตะกะโรค และสุดท้ายเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเรือญี่ปุ่นมาจอดที่ปากน้ำสิชลแต่เข้ามาไม่ได้ ทุกครั้งที่เกิดเหตุชาวบ้านจะเห็นตาปะขาวมาแสดงกายและช่วยให้เหตุการณ์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อที่มีต่อศาลตาปะขาวว่า ด้วยอาชีพประมงที่ทำอยู่ต้องเผชิญกับความอันตรายขณะออกทะเลจึงต้องหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ดังนั้นจึงเชื่อมั่นในศาลเจ้าตาปะขาวว่าสามารถคุ้มครองภัยให้กับชาวประมงได้ ทุกครั้งที่มีการออกเรือจะมีการบนบาน ขอพร จุดประทัดเพื่อเป็นการเบิกฤกษ์ มีการถวายหัวหมูบ้าง เครื่องไหว้เจ้าบ้างซึ่งชาวจีนเองมีประเพณีเหล่านี้อยู่แล้วก่อนออกเรือ เมื่อกล่าวถึงชาวจีนที่มาทำการค้าและครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินแถบนี้นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลว่า มี 3 คนคือ หนึ่งพื้นที่ปากน้ำสิชลถึงตลาดบนบริเวณนี้ที่เป็นตลาดและพื้นที่ส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) จะเป็นของแจ็กช้าว (ตระกูลชีวานิชย์) สองแ”จ็กหมายโก้” (ปัจจุบันนามสกุล ศิริชล) จะครอบครองที่ดินทั้งทะเลและภูเขา และสามแจ็กกิมหู้ (ตระกูลวิชชุไตรภพ มารดาของนายสุธรรม วิชชุไตรภพถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน) หากใครจะเข้ามาบริเวณนี้ค่อนข้างยากเพราะชาวจีนทั้งสามตระกูลข้างต้นได้ครอบครองหมดแล้ว กลุ่มคนทั้งสามนี้เองก็ศรัทธาในศาลตาปะขาวมาก นอกจากนี้นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในศาลตาปะขาวหลังเก่ากับหลังใหม่เป็นคนละองค์กันเพราะตำนานไม่เหมือนกัน ศาลตาปะขาวหลังใหม่สร้างโดยคนในพื้นที่ แต่ศาลตาปะขาวหลังเก่า (องค์เล็ก) สร้างโดยชาวจีนที่แล่นเรือใบมาตามล่าปลาจะละเม็ดดำ ตามล่ามาจนถึงที่ตรงนี้ซึ่งเรียกว่าท่าเรือไฟ มาติดลมพายุอยู่แรมเดือนจึงใช้เวลาที่ออกเรือไม่ได้มาตั้งศาลตาปะขาว เดิมบริเวณตรงนี้ที่ตั้งศาลเก่าเป็นป่ารก ด้วยเหตุนี้เองนายสุธรรม วิชชุไตรภพจึงลคาดการว่าศาลตรงนี้มาจากไหหลำและต้นตะกูลของนายสุธรรม วิชชุไตรภพเองก็จะไหว้ที่ศาลเก่าทุกปี บริเวณแถบนี้จึงเป็นชาวจีนไหหลำเสียส่วนใหญ่

ประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พิธีทอดขนมเต่า หลังตรุษจีน 15 วัน

72 views
×

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม
เจดีย์โบราณ (เขาคอกวาง ต. สิชล)

เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้

อ่านเพิ่มเติม
ศาลพ่อขุนทะเล

ศาลพ่อขุนทะเล คือศาลที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ที่ตั้งศาลอยู่บริเวณปากน้ำสิชล ภายในศาลพวงมาลัยเรือและก้อนหินที่ได้จากการระเบิดหินเป็นเครื่องสักการะ นอกจากนี้ยังมีองค์จตุคามรามเทพประดิษฐานอยู่ด้วย

อ่านเพิ่มเติม
เขื่อนกั้นทรายและคลื่นที่ร่องน้ำปากน้ำสิชล

เป็นเขื่อนขนาดเล็กที่สร้างจากการเรียงโขดหินอย่างเป็นระเบียบเป็นแนวยาว เพื่อกันการกัดเซาะของน้ำและการงอกของทราย ปลายเขื่อนมีประภาคารเพื่อส่งสัญญาณให้เรือที่เดินทางรู้ว่าต้องแล่นเรือไปทางใดล

อ่านเพิ่มเติม
ศาลาเทดา (เทวดา) เขาพลีเมือง

ศาลาเทดาเขาพลีเมืองสร้างด้วยปูน สี่เสา ตัวอาคารโล่ง ด้านในมีรูปปั้นเทดาเป็นชายสูงวัย รูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา ผมยาวเกล้ามวยผม นุ่งขาว ห่มขาว ถือไม้เท้า ด้านหน้ามีรูปปั้นเสื้อ

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด ส. 102 สร้างจากหินศิลา

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง  สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 124 สร้างจากหินศิลา

อ่านเพิ่มเติม
ผอบดินเผา พร้อมฝา

ผอบดินเผา พร้อมฝา ทรงคล้ายก้อนอิฐ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการคว้านรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางด้านใน พร้อมฝา สภาพชำรุด แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ ส. 8.5 ก. 15 ย. 16 สร้างจากดินเผา

อ่านเพิ่มเติม
ผอบหิน พร้อมฝา

ผอบหิน พร้อมฝา ผอบหินทรงกลม ตรงกลางคว้านเป็นรูรูปสี่เหลี่ยมลึกสอบลง กินหลุมรูปสี่เหลี่ยมทั้งฝาและตัวผอบ ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ สผ. 26 ส. 12 สร้างจากหิน

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 20.3 สร้างจากสำริด

อ่านเพิ่มเติม
พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม

พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม นั่งเรียนกันสองแถว แถวละ 3 องค์ รวมทั้งหมด 6 องค์ องค์กลางบน นั่งในซุ้มปราสาทเรือนยอดแบบขอม ขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธสองข้างด้านล่างมีพระพุทธนั่งเรียงกันสามองค์ ทั้งหมดขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนตอเมตร) ก. 7.1 ส. 11.2 สร้างจากดินเผา

อ่านเพิ่มเติม
พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์

พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์ ขนาด (เซนติเมตร) ส. 67.5 สร้างจากหินศิลา ลักษณะบั้นพระองค์เล็กพระโสณีผายพระเพลาใหญ่พระกรทั้ง 4 ข้างสลักแยกออกจากพระวรกายทรงยืนอยู่บนฐานที่มีเดือยและสวมกีรีฎมกุฏทรงเตี้ยทรงพระภูษาโจงยาวครอบข้อพระบาทและขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี ไม่มีผ้าคาดพระโสณี

อ่านเพิ่มเติม