Sichon Heritage
ศาลพ่อขุนทะเล
เรื่องเล่าประเพณี

สำหรับศาลพ่อขุนทะเลเป็นอีกศาลหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในบนิเวชณบ้านปากน้ำ กล่าวคือแต่เดิมบริเวณที่ตั้งศาลเป็นปากน้ำสิชลมีหินก้อนใหญ่อยู่ก้อนหนึ่ง เมื่อเรือวิ่งเข้ามาจะสะดุดก้อนหินก้อนนั้นส่งผลกระทบต่อการเดินเรือ ทำให้เวลาการเดินเรือช้าลง ทหารเรือจึงต้องมาดำนำเพื่อระเบิดหิน ครั้งนั้นทหารเรือเคยมาสร้างร่องน้ำแต่ไม่สำเร็จ กรมอุทกศาสตร์จึงต้องระเบิดหิน ขณะระเบิดเกิดอุบัติเหตุอยู่หลาบครั้งส่งผลให้ทหารไม่กล้าระเบิดอีกต่อไป กรมอุทกศาสตร์จึงเชิญนายกมลรองผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นมาทำพิธีจึงสามารถระเบิดหินได้ ขณะที่ทหารเรือกำลังระเบิดหินพบกับพวงมาลัยเรือเลยนำประดับไว้บนหิน (เมื่อก่อนที่ศาลจะมีหินอยู่ก้อนหนึ่ง) และตั้งชื่อเป็นศาลพ่อขุนทะเล ต่อมากลุ่มเกษตรกรสิชลระดมทุนสร้างศาลหลังจากนั้นเทศบาลสิชลเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ปัจจุบันเขตพื้นที่เป็นการดูแลของเทศบาล

ประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พิธีปล่อยสัตว์คืนสู่ทะเล

65 views
×

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม
เจดีย์โบราณ (เขาคอกวาง ต. สิชล)

เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้

อ่านเพิ่มเติม
ศาลเจ้าตาปะขาว

ณ ศาลเจ้าแห่งนี้มีรูปเคารพได้แก่ ต้าแปะกง (เชื่อกันว่าคนท้องถิ่นเรียกต้าแปะกงเพี้ยนเป็นตาปะขาว) เทพกวนอู เจ้าแม่กวนอิม และพระพุทธรูป ไม่มีป้ายจารึก ศาลเจ้าตาปะขาวมี 2 ศาล ศาลแรกจะอยู่ด้านล่างมีขนาดเล็กและศาลใหม่อยู่ด้านบน

อ่านเพิ่มเติม
เขื่อนกั้นทรายและคลื่นที่ร่องน้ำปากน้ำสิชล

เป็นเขื่อนขนาดเล็กที่สร้างจากการเรียงโขดหินอย่างเป็นระเบียบเป็นแนวยาว เพื่อกันการกัดเซาะของน้ำและการงอกของทราย ปลายเขื่อนมีประภาคารเพื่อส่งสัญญาณให้เรือที่เดินทางรู้ว่าต้องแล่นเรือไปทางใดล

อ่านเพิ่มเติม
ศาลาเทดา (เทวดา) เขาพลีเมือง

ศาลาเทดาเขาพลีเมืองสร้างด้วยปูน สี่เสา ตัวอาคารโล่ง ด้านในมีรูปปั้นเทดาเป็นชายสูงวัย รูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา ผมยาวเกล้ามวยผม นุ่งขาว ห่มขาว ถือไม้เท้า ด้านหน้ามีรูปปั้นเสื้อ

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด ส. 102 สร้างจากหินศิลา

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง  สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 124 สร้างจากหินศิลา

อ่านเพิ่มเติม
ผอบดินเผา พร้อมฝา

ผอบดินเผา พร้อมฝา ทรงคล้ายก้อนอิฐ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการคว้านรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางด้านใน พร้อมฝา สภาพชำรุด แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ ส. 8.5 ก. 15 ย. 16 สร้างจากดินเผา

อ่านเพิ่มเติม
ผอบหิน พร้อมฝา

ผอบหิน พร้อมฝา ผอบหินทรงกลม ตรงกลางคว้านเป็นรูรูปสี่เหลี่ยมลึกสอบลง กินหลุมรูปสี่เหลี่ยมทั้งฝาและตัวผอบ ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ สผ. 26 ส. 12 สร้างจากหิน

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 20.3 สร้างจากสำริด

อ่านเพิ่มเติม
พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม

พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม นั่งเรียนกันสองแถว แถวละ 3 องค์ รวมทั้งหมด 6 องค์ องค์กลางบน นั่งในซุ้มปราสาทเรือนยอดแบบขอม ขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธสองข้างด้านล่างมีพระพุทธนั่งเรียงกันสามองค์ ทั้งหมดขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนตอเมตร) ก. 7.1 ส. 11.2 สร้างจากดินเผา

อ่านเพิ่มเติม
พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์

พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์ ขนาด (เซนติเมตร) ส. 67.5 สร้างจากหินศิลา ลักษณะบั้นพระองค์เล็กพระโสณีผายพระเพลาใหญ่พระกรทั้ง 4 ข้างสลักแยกออกจากพระวรกายทรงยืนอยู่บนฐานที่มีเดือยและสวมกีรีฎมกุฏทรงเตี้ยทรงพระภูษาโจงยาวครอบข้อพระบาทและขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี ไม่มีผ้าคาดพระโสณี

อ่านเพิ่มเติม