Sichon Heritage
ถ้ำนาคราช
เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านต่างเชื่อว่าในถ้ำเป็นที่อยู่ของพญานาค

92 views
×

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ศาลาพ่อท่านนาคราช

ศาลาพ่อท่านนาคราชตั้งอยู่หัวเขาพรงตะวันออก ด้านหน้ามีคลองท่าเชี่ยวไหลผ่าน ลักษณะศาลาก่อด้วยปูนสี่เสา ไม่กั้นฝาทั้งสี่ด้าน มุงหลังคากระเบื้อง ภายในมีการตั้งหินลักษณะคล้ายพญานาคบ้าง คล้ายจระเข้บ้าง ซึ่งหินเหล่านี้นำมาจากถ้ำนาคราช

อ่านเพิ่มเติม
ศาลพระเสื้อเมืองอลอง

พระเสื้อเมือง บ้างเรียก ผีเสื้อเมือง หรือ ผีเสื้อ เป็นเทวดาผู้รักษาบ้านเมือง เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง มีการสร้างเทวรูปพระเสื้อไว้ในศาล สำหรับศาลพระเสื้อเมืองอลอง (ท่านในฐาน) ที่เห็นปัจจุบันคือศาลที่สร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2550 ภายในศาลมีเทวรูปหนึ่งองค์ เทวรูปเสื้อเมืองมือขวา ถือจักรอันเป็นอาวุธของพระรามหรือพระนารายณ์ ศาลเดิมเป็นศาลาไม้ รูปเคารพทำจากไม้ตะเคียนแกะสลัก

อ่านเพิ่มเติม
บ่อน้ำซับหน้าถ้ำนาคราช
บ่อน้ำซับ/น้ำทรัพย์แห่งนี้ปรากฏอยู่ในลำคลองท่าเชี่ยว บริเวณหน้าศาลาพ่อท่านนาคราช เหตุที่เรียกบ่อน้ำซับเนื่องจากเป็นแหล่งน้ำออกหรือรูน้ำที่ออกตลอดปีหรือน้ำซับผิวดิน ที่มีน้ำไหลออกมาอยู่ตลอดปีไม่เหือดแห้ง ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นมาหลายชั่วอายุคน มาภายหลังเรียก บ่อทรัพย์ ปัจจุบันบ่อน้ำทรัพย์แห่งนี้เริ่มแห้งเหือดเนื่องจากมีการสร้างเขื่อน และมีการกักเก็บน้ำไว้ช่วงต้นน้ำเพื่อทำการเกษตร
อ่านเพิ่มเติม
พ่อท่านเขาเกียรติ

พ่อท่านเขาเกียรติเป็นพระพุทธรูปบางมารวิชัย หรือพระพุทธรูปชนะมาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระบาททั้งสองข้างไขว้กัน และเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน พระรัศมีเป็นเปลว พระศกขมวดเป็นก้นหอย มีเส้นขอบไรพระศก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กหยักเป็นคลื่น พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิสั้นเป็นรูปหางปลาอยู่เหนือพระถัน ประทับเหนือฐานสามเหลี่ยม หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นแฉกคล้ายรูปพัด พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ลำคอเป็นปล้อง

อ่านเพิ่มเติม
พระวิษณุ พระวิษณุ/นารายณ์

พระวิษณุ พระวิษณุ/นารายณ์ สวมหมวกทรงกระบอกสูงเรียบไม่มีลวดลาย คาดผ้าห้อยด้านหน้าเป็นวงโค้ง และผูกห้อยด้านหลัง มีสี่กร พระกรขวาบนหัก พระกรขวาล่างถือธรณี(ก้อนดิน) พระกรซ้ายและขวาล่าง มีหินเชื่อมถึงฐาน เป็นเทคนิคการสลักเพื่อไม่ไห้หักง่าย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 41.5 สร้างจากกินปูน

อ่านเพิ่มเติม