กิจกรรมที่จัดขึ้นในทุก ๆ ปี ถือว่าต้องปฏิบัติและไหว้เจ้า คือ 1) 15 ค่ำ เดือน 8 จีนไหว้พระจันทร์ 2) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จีนไหว้ส่งสิ้นปีเก่า 3) ขึ้น 4 ค่ำเดือนอ้าย จีนไหว้รับปีใหม่ 4) ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย จีนไหว้เจ้า การจัดงานประจำปีจะมีในเดือน 3 หลังตรุษจีน 15 วันสำหรับบุญใหญ่ ๆ ที่ทำคือ จะมีการไหว้ส่งก๋งขึ้นสวรรค์และไหว้รับ กรณีวันเทศกาลช่วง 15 ค่ำเดือน 8 เริ่มต้นจากปีใหม่จีนตรงกับช่วงเวียนเทียนในพุทธศาสนา ก่อน 15 ค่ำ 7-8 วันจะมีพิธีรับเทวดา นอกจากนี้ยังมีพิธีแก้บนหลังจาก 15 ค่ำ นับจากตรุษจีน 15 วัน พิธีแก้บนที่จัดขึ้นมี 1 ครั้งในรอบปี คนที่มาบนบานที่ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทองเมื่อสำเร็จตามที่บนไว้จะต้องมาแก้บนในวันที่ศาลเจ้าจัดขึ้น กรรมการศาลเจ้าจะประสานงานเพื่อืำพิธีแก้บนและมีการรับมหรสพมาแสดง สมัยก่อนจะมีการแสดงหนังตะลุงแต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นลิเก (ช่วงแรกคนนิยมหนะงตะลุงแต่พอยุคหลังความนิยมเสื่อมถอยจึงรับลิเกแทน ลิเกอยู่คู่ศาลเจ้ามาเกือบ 20 ปีแล้ว คณะลิเกที่มาแสดงอาจปักหลักที่ศาลเจ้า 7, 10, 15 วันแล้วจนกว่าคนที่บนไว้จะแก้บนเสร็จ (งานเทศกาลจัดต่อเนื่องทุกปี เว้นว่างเฉพาะช่วงโควิด 2 ปี ปัจจุบันจัดปกติแล้ว) หลังจากมีการแก้บนเสร็จจะมีการจัดงานหารายได้เข้าศาลเจ้า ประเพณีที่นี้จะมีกาประมูลเต่า เต่าในที่นี้คือขนมเต่าขาว ไม่ใช่ขนมเต่าแดงเหมือนที่จังหวัดภูเก็ต ขนมเต่าจะทำจากแป้งและน้ำตาลมากวนเทลงพิมพ์รูปเต่า เคี้ยวหนึบ ๆ รายได้ที่มาจากการประมูลเต่าในแต่ละปีหลักแสนบาท เมื่อถึงช่วงเวลาทำขนมเต่ากรรมการจะติดต่อร้านขนมให้ทำขนมเต่า 3 ขนาดคือขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ (เท่าเต่าทะเล) ตัวเล็กและตัวกลางจะนำมาขายในศาลเจ้า 5 วัน และตัวใหญ่จะนำมาประมูล สมัยก่อนซื้อมาตัวละ 10 บาท ขาย 20 บาท ขนาดกลางซื้อมา 20 ขาย 40 บาท ปัจจุบันขายเช่นนี้ไม่ได้อีกแล้วกำไรจะอยู่ที่ 20% ของราคาต้นทุน รายได้ทั้งหมดจะนำเข้าศาลเจ้า สำหรับเต่าตัวใหญ่จะถูกนำมาประมูล การประมูลเต่าจะเริ่มจาก 1) ไข่เต่าอาจจะมี 5-6 ลูก อาจเริ่มจาก 500 บาท ราคาอาจจะถึง 5,000 บาท (ไข่เต่าทำมาเพื่อคนที่ต้องการมีบุตร) 2) หางเต่า อาจได้ราคา 5,000, 6,000 และ 8,000 บาทแล้วแต่ความต้องการ 3) ขาขวา-ขาซ้าย 4) หัวเต่าอาจมีราคาถึง 100,000 บาท พอเหลือแต่ตัวเต่าก็จะประมูลอีกอาจมีราคา 5,000 บาทขึ้นไป ประมูลเสร็จจะมีการตัดแบ่งให้คนในงานกิน (ความเชื่อของคนจีนในแต่ละปีจะประมูลไปเป็นส่วน ๆ เพื่อช่วยก๋ง) ที่กล่าวมาทั้งหมดก่อนจะนำเต่ามาจะมีเจ้าภาพซื้อเต่ามาให้ศาลเจ้าก่อนประมาณ 10,000 บาท ปัจจุบันการหารายได้เข้าศาลเจ้าจะมีการขายลอตเตอรี่เข้ามาช่วยอีกทางหนึ่งด้วย รายได้จะถูกนำมาจ้างกรรมเฝ้าศาลและจ่ายค่าไฟ
เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้
ณ ศาลเจ้าแห่งนี้มีรูปเคารพได้แก่ ต้าแปะกง (เชื่อกันว่าคนท้องถิ่นเรียกต้าแปะกงเพี้ยนเป็นตาปะขาว) เทพกวนอู เจ้าแม่กวนอิม และพระพุทธรูป ไม่มีป้ายจารึก ศาลเจ้าตาปะขาวมี 2 ศาล ศาลแรกจะอยู่ด้านล่างมีขนาดเล็กและศาลใหม่อยู่ด้านบน
ศาลพ่อขุนทะเล คือศาลที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ที่ตั้งศาลอยู่บริเวณปากน้ำสิชล ภายในศาลพวงมาลัยเรือและก้อนหินที่ได้จากการระเบิดหินเป็นเครื่องสักการะ นอกจากนี้ยังมีองค์จตุคามรามเทพประดิษฐานอยู่ด้วย
เป็นเขื่อนขนาดเล็กที่สร้างจากการเรียงโขดหินอย่างเป็นระเบียบเป็นแนวยาว เพื่อกันการกัดเซาะของน้ำและการงอกของทราย ปลายเขื่อนมีประภาคารเพื่อส่งสัญญาณให้เรือที่เดินทางรู้ว่าต้องแล่นเรือไปทางใดล
ศาลาเทดาเขาพลีเมืองสร้างด้วยปูน สี่เสา ตัวอาคารโล่ง ด้านในมีรูปปั้นเทดาเป็นชายสูงวัย รูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา ผมยาวเกล้ามวยผม นุ่งขาว ห่มขาว ถือไม้เท้า ด้านหน้ามีรูปปั้นเสื้อ
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด ส. 102 สร้างจากหินศิลา
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 124 สร้างจากหินศิลา
ผอบดินเผา พร้อมฝา ทรงคล้ายก้อนอิฐ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการคว้านรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางด้านใน พร้อมฝา สภาพชำรุด แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ ส. 8.5 ก. 15 ย. 16 สร้างจากดินเผา
ผอบหิน พร้อมฝา ผอบหินทรงกลม ตรงกลางคว้านเป็นรูรูปสี่เหลี่ยมลึกสอบลง กินหลุมรูปสี่เหลี่ยมทั้งฝาและตัวผอบ ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ สผ. 26 ส. 12 สร้างจากหิน
พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 20.3 สร้างจากสำริด
พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม นั่งเรียนกันสองแถว แถวละ 3 องค์ รวมทั้งหมด 6 องค์ องค์กลางบน นั่งในซุ้มปราสาทเรือนยอดแบบขอม ขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธสองข้างด้านล่างมีพระพุทธนั่งเรียงกันสามองค์ ทั้งหมดขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนตอเมตร) ก. 7.1 ส. 11.2 สร้างจากดินเผา
พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์ ขนาด (เซนติเมตร) ส. 67.5 สร้างจากหินศิลา ลักษณะบั้นพระองค์เล็กพระโสณีผายพระเพลาใหญ่พระกรทั้ง 4 ข้างสลักแยกออกจากพระวรกายทรงยืนอยู่บนฐานที่มีเดือยและสวมกีรีฎมกุฏทรงเตี้ยทรงพระภูษาโจงยาวครอบข้อพระบาทและขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี ไม่มีผ้าคาดพระโสณี