Sichon Heritage
บ้านไม้กึ่งปูนของตระกูล นพเดช

"ภูมิปัญญาการสร้างบ้าน" บนบ้านจะมีการเจาะไม้กระดานสำหรับเป็นช่องปัสสาสะของผู้หญิงในยามค่ำคืน สาเหตุที่ต้องเจาะไม่กระดานให้เป็นช่องปัสสาวะเนื่องจาก สมัยก่อนห้องน้ำจะอยู่ด้านล่างแยกกับตัวบ้าน เมื่อตกกลางคืนอาจเกิดอันตรายกับผู้หญิงได้ถ้าหากจะเข้าห้องน้ำ เช่น อาจมีโจรมาดักปล้น เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงเจาะแผ่นกระดานด้านบนบ้านไว้สำหรับใช้ปัสสาวะ นอกจากนี้บนเรือนหลังนี้ยังมี “ขื่อ” สร้างไว้สำหรับจับคนป่วย คนสติไม่ดี หรือคนกระทำผิดมามัดไว้ก่อนจะส่งทางการ ลักษณะของขื่อ คือ จะมีเสาร้อยด้วยน็อตอยู่ 1 เสาทำจากไม้ ตอกลงไปบนกระดานของบ้าน มีโซ้ร้อยไว้เป็นช่วง ๆ ไว้สำหรับจองจำคนที่มีอาการไม่ปกติ และล้อมรอบด้วยกรงขนาดไม่ใหญ่มากนัก ปัจจุบันถูกตัดออกไปหมดแล้ว นอกจากนี้ที่หน้ายังมีต้นมะม่วงแก้มแดงที่โตมากต้นหนึ่ง มีอายุ 100-200 ปี หลายครั้งที่มีคนเห็นผู้หญิงอุ้มเด็กเดินเข้าไปยังต้นมะม่วงนี้

56 views
×

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ถ้ำเขาพรง นับเป็นถ้ำเก่าแก่ถ้ำหนึ่งของหมู่ 15 ต. ทุ่งปรัง อ.สิชล สถานที่ตั้งอยู่บนภูเขามีพระพุทธรูปทั้งพระนออนและพระนั่งประดิษฐานอยู่ในถ้ำและมีของเก่าแก่มากมายที่เหมาะกับเป็นแหล่งศึกษาด้านประวัติศาสตร์และศาสนา สำหรับถ้ำเขาพรงมีสองฝั่งคือ ถ้ำเขาพรงตะวันออกและถ้ำเขาพรงตะวันตก จากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์นายวิชัย อาจหาญ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าถ้ำเขาพรงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริเวณนี้ยังมีถ้ำนาคราชอีกถ้ำหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม
วัดถ้ำเทียนถวาย
วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดเก่าแก่ ถูกสร้างโดยวิธีการขว้างด้วยเลฑฑุบาต(เลฑฑุบาตมีความหมายทางตรงว่า “ก้อนดิน อาณาเขตที่สร้างด้วยก้อนดิน” แต่ความหมายทั่วไปคือ “วัดสำคัญในเมืองนั้น ๆ ที่ถูกสร้างโดยการใช้วิธีเลฑฑุบาต ซึ่งครั้งอดีตการสร้างวัดกำหนดว่าวัดนั้น ๆ จะได้อาณาเขตเท่าใดต้องทำพิธีปั้นดินเป็นก้อน ๆ แล้วขว้างออกไปเพื่อให้ได้อาณาเขต การวัดระยะทางเช่นนี้วัดจากคนขว้างจนถึงที่ก้อนดินตกเป็น 1 เลฑฑุบาต เนื่องจากเมื่อก่อนยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนั้น ๆ จึงใช้วิธีนี้แทน วิธีนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2) วัดถ้ำเทียนถวายเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือจดเขาวัดถ้ำ ทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทางสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 20 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2428 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง วิหาร กว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีฌาปนสถาน หอระฆัง โรงครัว และกุฏิเจ้าอาวาส ปูชณียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูง 80 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 พระประธานประจำศาลาการเปรียญปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 48 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527
อ่านเพิ่มเติม
เรือนเก่าอดีตเจ้าเมืองอลอง (ขุนทิพย์ขุนทิพย์พิมลแห่งแขวงสุชลฉลอง)
ปัจจุบันเรือนเก่าหลังนี้หลงเหลือแค่ตอเสาที่สร้างจากไม้แกนขี้เหล็กทั้งต้น ชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเรือนถูกรื้อไปสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งเรือนเก่าของขุนทิพย์
อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปโบราณ ณ ถ้ำเขาพรงตะวันออก
ภายในถ้ำเขาพรงมีพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชจำนวนหลายสิบองค์ ทั้งพระพุทธรูปโบราณประทับนั่งขัดสมาธิ จำนวน 27 องค์ พระพุทธไสยาสน์ 1 องค์ ขนาดยาวประมาณ 7 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยพระพุทธรูปทั้งหมดประดิษฐานบนแท่นคอนกรีตสูงจากพื้นดินราว 1 เมตร ต่อเนื่องกับผนังถ้ำตลอดแนวยาวกว่า 32 เมตร พระพุทธรูปที่พบทำจากปูนปั้นและหินทรายขนาดต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปภายในถ้ำมืด

ถ้ำมืดตั้งอยู่ภายในเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปซึ่งเป็นร่องรอยของอารยธรรมสมัยอยุธยา ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) 

อ่านเพิ่มเติม
พระพุทธรูปภายในถ้ำแจ้ง

ถ้ำแจ้งตั้งอยู่ภายในเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปโบราณมีลักษณะหูยาวลงมา มีดอกบัวห้อยสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสมัยมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อยู่บริเวณด้านตะวันออกของเขาวัดถ้ำ ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) 

อ่านเพิ่มเติม
ภาพเขียนสีภายในถ้ำวังใหญ่

ถ้ำภาพเขียนสีอยู่ด้านทิศเหนือของเขาวัดถ้ำ บริเวณที่รัยกว่า "ในวัง" มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขาหันไปทางทิศใต้ ลักษณะเป็นโพรงถ้ำแนวนอนแคบ ๆ ภายในมีภาพเขียนสีโบราณที่ถูกเขียนไว้ตามฝาผนังถ้ำ เขียนเป็นรูปอดีตพุทธประทับนั่งเรียงกันเป็นแถว จำนวน 15 องค์ ปัจจุบันภาพลบเลือนไปมากแล้ว จากร่องรอยที่เหลืออยู่สันนิษฐานว่า แต่ละองค์แสดงปางมารวิชัย และมีพุทธลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ปรากฏว่า มีอดีตพุทธบางองค์ประทับนั่งบนฐานสูง และมีการค้นพบถ้วยชามโบราณอีกด้วย ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรูบริเวณก้น เครื่องถ้วยจีนราชวงศ์หมิง (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) และชิ้นส่วนปะติมากรรมสำริด เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม
ถ้ำเหว

ถ้ำตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาวัดถ้ำ ภายในถ้ำยังไม่มีใครลงไปสำรวจอย่างจริงจังแต่มีลักษณะเป็นเหวลึกลงไป ในถ้ำล้วนเป็นแหล่งอารยธรรมที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการค้นพบวัตถุโบราณหลากหลายชนิดภายในถ้ำ เช่น หม้อดินเผาเจาะรู ถ้วยชามจีน (แตกเป็นส่วนต่าง ๆ) 

อ่านเพิ่มเติม