"จุดเริ่มต้นของการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ ต. ฉลอง อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช"
บริษัทแรกที่เข้ามาสัมปทานเหมืองแร่ คือ บริษัทราดตรุดเบซินทินเดร็คยิงโนไลเอบิลลิตี้ (Ratrut Basin Tin Dreding, No Liability) วันที่เริ่มทำเหมืองแร่ คือ วันที่ 22 เดือนกรกฎาคมคม พ.ศ. 2471 รัศมีของการทำเหมืองแร่คือ 1,000 กว่าไร ใช้เรือขุดในการขุดแร่และขุดตามลำคลอง เพราะไม่มีรถขุดหน้าดินอย่างเช่นปัจจุบันนี้ต้องขุดตามแนวลำคลองเท่านั้น ไม่สามารถขุดที่หน้าดินสูง ๆ เรือขุดจะถูกบรรทุกมาทางอ่าวไทย เข้ามายังคลองท่าควาย ก่อนการทำเหมืองบริษัททำการสร้างและเดินรถไฟจากปากคลองปากน้ำสิชลไปยังเหมืองแร่ของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 10 หมู่บ้านเขาใหญ่ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จีงหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางทั้งสิ้น 25.300 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟดังกล่าวได้ระบุว่าเป็น "รถรางกรมโลหกิจ" มีกำหนดหมดอนุญาตให้บริษัทใช้ได้ในระยะเวลา 25 ปี เมื่อสร้างรางรถไฟเสร็จได้ลำเลียงเครื่องจักรเพื่อไปทำเรือขุดและจัดตั้งสำนักงานที่เรียกว่า “ห้าง” ไว้ ณ ที่แห่งนี้ และกิจการก็ได้ดำเนินไปภายใต้การนำของอังกฤษ คนงานที่เข้ามาทำเหมืองในยุคนี้มาจาากประเทศมาเลเซียถึง 80% (เป็นคนมาเลเซีนเชื้อสายจีน) คนงานเหล่านี้เคยทำเหมืองแร่อยู่ที่มาเลเซียแต่เหมืองแร่ล่มจึงเดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ ณ ที่แห่งนี้ นอกจากนั้นเป็นคนงานของอังกฤษ ส่วนผู้รักษาความปลอดภัย (แขกยาม) จะต้องมาจากประเทศอินเดียหรือบังคลาเทศเท่านั้น ขณะนั้นมีเสียงร่ำลือว่าเงินสะพัดมาก มีการใช้เงินดอลล่าด้วยเช่นกัน เมื่อถามถึงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนงานพบว่า ชาวมาเลเซียได้สร้างที่พักในเหมือง ขณะที่ชาวจีนได้เข้ามาทำาชีพค้าขายอยู่ในเหมืองเช่นกัน ซึ่งกลุ่มคนจีนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณสำนักเนียมจนกระทั่งปัจจุบัน ยุคนี้มีแรงงานนับพันคน (นอกจากคนงานในเมือง วิถีชีวิตของคนทั่วไปก็มีการร่อนแร่ด้วยเช่นกัน เราจะพบว่าแทบทุกบ้านจะต้องมี “เลียง” ไว้สำหรับร่อนแร่ ซึ่งทำควบคู่กับการทำนา)
นายนุศาสตร์ สัตยานุมัฎฐ์เล่าว่า “บิดาของเขาเรียนจบชั้นประถมศึกษาที่ 4 มีโอกาสเข้าทำงานในเหมืองแร่ในตำแหน่งเสมียน มีหน้าที่คอยเช็กคนงานในเหมือง สามารถพูดได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษามลายู แต่ไม่สามารถเขียนสื่อสารได้” หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดาของคุณนุศาสตร์จึงหยุดทำงานในเหมือง และเสียชีวิตในวัย 87 ปี
กระทั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษต้องออกจากประเทศไทยจึงมอบบริษัทเหมืองแร่ให้ นายชม เพชรชู กำนัน ต. ฉลอง (ในขณะนั้น) เป็นผู้ดูแลประทานบัตรเหมืองแต่ไม่มีอำนาจในการทำเหมืองแร่ ห้างที่เป็นสำนักงานยังคงอยู่จนปัจจุบันเพราะเอกสารสิทธ์ยังเป็นของนายชม เพรชชู แม้ว่าปัจจุบันจะใช้เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราแล้วก็ตาม หลังจากบ้านเมืองสงบจากภาวะสงครามได้ 6-7 ปี กลุ่มทุนจีนได้ขอประทานบัตรเหมืองแร่ต่อภายใต้การนำของ “บริษัทนิวเฉียงพร้า” ซึ่งมี “นายสงวน สิทธิอำนวย” เป็นเจ้าของบริษัท เดิมที่นายสงวน สิทธิอำนวยเคยทำเหมืองแร่ที่ห้วยมุด อ. นาสาร จ. สุราษฎร์ธานีมาก่อน กระทั่งหมดประทานบัตรและพื้นที่ในการขุดแร่ก็หมดลงจึงมาขอทำประทานบัตรที่นี้ ขณะเดียวกันนายสงวน สิทธิอำนวยยังได้ทำการบุกเบิกเส้นทางจากบ้านสำนักเนียมไปยังห้วยมุด โดยการใช้รถแบคโฮ (ขณะนั้นนายสงวน สิทธิอำนวยมีรถแบคโฮตัวแรกในพื้นที่) ทำทางมาเรื่อย ๆ โดยใช้การไหลของกระแสน้ำเป็นตัวนำทาง เนื่องจากสมัยนั้นยังคงเป็นป่า เป็นเขาการดูกระแสน้ำไหลจึงเป็นเหมือนเข็มทิศไม่ให้หลงทาง ในยุคที่นายสงวน สิทธิอำนวยได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองเขาไม่มีรถขุดตักหน้าหลัง (รถแบคโฮ) สามารถตักหน้าดินที่มีความสูงเกิน 30 เมตรได้ ต้องทำเฉพาะพื้นที่หน้าดินต่ำเท่านั้นเพราะมีแค่รถแทรกเตอร์ คนงานที่ทำงานในเหมืองจะเป็นคนในพื้นที่แต่ขณะที่หัวหน้างานเขาจะจ้างคนนอกพื้นที่ เช่น ช่างเชื่อม หรือช่างอื่น ๆ คนงานประมาณ 100 กว่าคน
หลังจากนายสงวน สิทธิอำนวยหมดความสามารถที่จะทำเหมืองแล้วจึงขายต่อให้กับ “บริษัทเซียร่าไมนิ่ง” (เป็นบริษัทของออสเตรเลีย คุณนุศาสตร์เองได้ทำงานในบริษัทนี้อยู่ 2 เดือน) มีนายจอร์นเป็นผู้ดูแลเหมือง ดำเนินกิจการประมาณ 10-20 ปี กิจการเหมืองภายใต้การนำของออสเตรเลียดำเนินอยู่ได้ไม่นานก็ต้องถอยไปเนื่องจากรถที่ใช้ขุดไม่มีกำลังพอที่จะขุดหน้าดินที่สูงเกิน 30 เมตรได้ ขณะนั้นคนงานในเหมืองคือคนในพื้นที่ตรงนี้ แต่ถ้าเป็นหัวหน้างานจะเป็นคนนอกพื้นที่เช่นเดียวกับยุคของนายสงวน สิทธิอำนวย
เมื่อ “บริษัทเซียร่าไมนิ่ง” ไม่สามารถดำเนินกิจการเหมืองแร่ได้อีกแล้ว “บริษัทวีระประดิษฐ์” จึงขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ต่อ (บริษัทนี้เป็นของคนไทย ในจังหวัดภูเก็ต) ขณะนั้นเจ้าของบริษัทรู้จักกันในฉายา “ฮิตเลอร์” เพราะเผด็จการและจริงจัง การทำเหมืองในยุคนี้รถแบคโฮมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถตักดินที่มีหน้าดินสูงได้ดีมาก ฮิตเลอร์สามารถทำกำไรมหาศาลจากเหมืองแห่งนี้ เขาขุดแร่จนเกลี้ยง อย่างไรก็ดีคุณนุศาสตร์เล่าว่า “การตื่นตัวของคนในยุคปัจจุบันเป็นอุปสรรคอย่างมากในการทำเหมืองแร่ เพราะเขาเหล่านั้นตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น”
ลักษณะของการทำเหมิองแร่ที่ ต. ฉลอง อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช
แร่ที่พบในพื้นที่ ต. ฉลอง อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช คือ “แร่ดีบุก” และ “แร่วุลแฟรม” แต่แร่ดีบุกจะมีค่ากว่าแร่วุลแฟร เพราะทำไปทำได้หลายอย่าง ปกติแร่ที่พบจะมี 2 แหล่ง คือ ลานแร่และสายแร่ สำหรับในพื้นที่แห่งนี้จะเป็นแบบ “ลานแร่” ขนาดของแร่ที่ได้จะเป็นขนาดไม่ใหญ่ ฝังตัวอยู่ในทรายตามลำน้ำ ใช้วิธีการร่อนแร่จึงจะได้แร่มา (แหล่งแร่ที่เกิดจากสายแร่ผุพังและถูกพัดพาโดยกระบวนการทางน้ำ) ส่วนสายแร่จะมีขนาดใหญ่เป็นทางยาว ใหญ่ อาจต้องใช้วิธีการระเบิดเพื่อให้ได้แร่ (สายแร่ส่วนใหญ่เกิดจากการตกตะกอนของแร่จากน้ำร้อนโดยผนังของหินเหย้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ การสะสมตัวของแร่เกิดขึ้นในช่องว่างของหินโดยไม่แทรกเข้าไปในชั้นหินเหย้า จึงสามารถแบ่งแยกขอบเขตของช่องว่างและเนื้อหินเหย้าได้อย่างชัดเจน) สำหรับในพื้นที่สิชลมี 2 บริษัทที่ทำเหมืองแร่แบบสายแร่ คือ เหมืองแร่วรพันธ์ (บ้านสำนักเนียน) และบริษัทแฟร์เบอร์เบอร์ลิน (บ้านยอดเหลือง)
ลักษณะการทำเหมืองแร่ของ ต. ฉลอง จะใช้เรือขุดและระบบสูบแร่ขึ้นไปบนราง ต่อจากนั้นจะมีเครื่องบด (Crusher) ทำการบดหินดินทรายที่ผสมมากับแร่ หลังจากนั้นจะถูกส่งต่อมายังเครื่องปั่น และมาสิ้นสุดที่โต๊ะสำหรับร่อนให้แร่แห้งและแยกแร่ออกพร้อมบรรจุขาย สมัยนั้นขายแบบ 60 กิโลกรัม/หาบ ปริมาณแร่ที่ได้ในแต่ละวันต่ำสุดอยู่ที่ 60 หาบ สูงสุด 100 กว่าหาบ เมื่อได้แร่แล้วผู้จัดการต้องทำการขอโค้วต้าไปยังตัวเมืองนครศรีธรรมราช และแร่เหล่านี้จะถูกขายต่อให้กับ “บริษัทไทยซาโก้” ซึ่งเป็นโรงถลุงแร่โรงเดียวในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ จ. ภูเก็ต แร่จากทั่วประเทศจะถูกลำเลียงมาถลุงที่นี้ทั้งสิ้น การลำเลียงแร่ไปยังบริษัทไทยซาโก้ ถูกกำหนดเส้นทางมาอย่างเคร่งครัดว่า ต้องผ่านเส้นทางใดบ้างเพื่อป้องกันการโจรกรรมแร่ ถ้าออกนอกเส้นทางจะถูกโดนดำเนินคดีทัน คุณนุศาสตร์เล่าต่อว่า แร่บางส่วนถูกลักลอบนำไปขายยังโรงถลุงแร่ที่ประเทศสิงคโปร์ด้วยเช่นกัน
เป็นเตารูปทรงคล้ายจอมปลวก สูง 80 เซนติเมตร กว้างด้านละ 2 เมตร มีช่องเข้าทางทิศตะวันออก วัสดุที่ครอบเตาเป็นตะกรันเหล็ก ลักษณะของเตาที่พบมีความสอดคล้องกับเตาถลุงเหล็กที่พบทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างทางเหนือสมัยถูกต้อนมายังเมืองอลองเมื่อครั้งอดีต
เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณ 1 เมตรเศษ พุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักต์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างยกสูงขึ้น พุทธลักษณะของพระลากวัดเขาน้อยคือ เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร เนื้อทองสำริด ความสูงประมาณหนึ่งเมตรเศษพุทธศิลป์งดงามยิ่ง พระพักตร์เป็นศิลปะจีน ส่วนหางของพระขนงและพระเนตรทั้งสองข้างจะยกสูงขึ้น พระโอษมีสีแดง เมื่อถึงช่วงประเพณีชักพระของทุกปีชาวบ้านจะอัญเชิญพระลากวัดเขาน้อยขึ้นเรือพนมพระเพื่อให้ชาวบ้านสักการะบูชา
ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อย เป็นแหล่งศึกษาด้านศิลปกรรมเนื่องจากมีพระพุทธรูปโบราณหลากหลายยุค ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยอยุธยา พุทธศิลป์จะมีลักษณะบ่งบอกความเป็นท้องถิ่น หนึ่งในนั้นมีพระพุทธรูปทรงเครื่องด้วย
คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องสันนิษฐานว่ามีหลายคติ เช่น พระพุทธเจ้าเคยเป็นเจ้าชายมาก่อน จึงมีศักดิ์ที่สามารถทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราชได้ หรือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเปรียบได้กับพระจักรพรรดิราชาธิราช คือเป็นพระราชาแห่งพระราชาทั้งหลาย นอกจากนี้ยังมีคติเรื่องชมพูบดีสูตร กล่าวคือพระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิเพื่อสั่งสอนพญามหาชมพู รวมทั้งหมายถึงพระศรีอารยเมตไตรย หรือพระอนาคตพุทธเจ้า
ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง คำว่า ย่อมุมไม้สิบสอง เป็นคำอธิบายลักษณะส่วนมุมของอาคาร เจดีย์ พระเมรุหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ทำให้มุมมีหยักเป็นเหลี่ยมออกมา แทนที่ตรงมุมจะมีเพียงมุมเดียว กลับทำหักย่อลงทำให้เป็น 3 มุม เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่สิ่งก่อสร้าง การย่อมุมทำให้มุมหนึ่งเกิดเป็น 3 มุม อาคาร เจดีย์ หรือ พระเมรุ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างทรงสี่เหลี่ยมมี 4 มุม จึงกลายเป็น 12 มุม สำหรับการย่อมุมใรทาลสถาปัตยกรรมคือ การแตกมุมใหญ่ให้เป็นมุมย่อยหลายๆ มุม แต่ยังรวมอยู่ในรูปของมุมใหญ่ ตามหลักที่นิยมมาแต่โบราณมักเป็นเลขคี่ เช่น แตกเป็นสาม เป็นห้า เรียกว่าย่อไม้สิบสอง ย่อไม้ยี่สิบ การเรียกนับสิบสองหรือยี่สิบ คือเรียกตามจำนวนที่ย่อไม้ทั้งสี่มุมเป็นชื่อจำนวนที่ย่อรวมกัน สำหรับเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองนี้ เป็นอิทธิพลการสร้างเจดีย์ของภาคกลางและภาคเหนือไม่ใช่อิทธิพลของนครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่า แนวคิดนี้เชื่อว่าน่าจะเป็นแนวคิดของช่างในสมัยสุโขทัย เห็นได้จากเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ฐานขององค์ระฆังที่เป็นรูปวงกลมจะวางอยู่บนฐานเจดีย์ที่มีผังเป็นสี่เหลี่ยม แต่เพื่อให้เกิดความกลมกลืนสัมพันธ์กับระหว่างรูปทรงเหลี่ยมกับทรงกลม จึงเกิดแนวคิดในการตัดทอนเหลี่ยมมุม ให้ทั้งสองรูปทรงมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่ติดขัด ภายในเจดีย์มีการบรรจุกระดูกเอาไว้
ปัจจุบันศาลเจ้าแห่งนี้เหลือแค่เพียงโครงสร้างไม้ หลังคายังคงมุงกระเบื้อง ตั้งอยู่บนเนินสูงในสวนปาล์มของชาวบ้าน ไม่เหลือร่องรอยอย่างอื่นให้ศึกษา