Sichon Heritage
วัดนาแล

แต่เดิมวัดนาแลชาวบ้านเรียกว่าแลนา เพราะพื้นที่วัดเป็นนา ส่วนคำว่าแลนามาจาก ณ สถานที่แห่งนี้มีเจดีย์โบราณ 1 องค์มีพระพุทธรูปบนเจดีย์ชาวบ้านจึงเชื่อว่า พระท่านกำลังนั่งแลนา ในกาลต่อมาเลยเพี้ยนกลายมาเป็นนาแล ต่อมามีผู้คนเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงมีการทำนา ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักจึงอาจเป็นที่มาว่าชื่อบ้านนาแลที่เพี้ยนมาจากนั่งแล เดิมวัดนาแลเป็นที่เลี้ยงควายเพราะไม่มีประตูและรั้ววัด ลานวัดก็ไม่มีใช้ลานต้นพิกุนทำกิจกรรม พื้นที่ก็ต่ำเวลาฝนตกจะนั่งไม่ได้ หลังจากท่านพระครูอินทวัชรคุณเป็นเจ้าอาวาสจึงพัฒนาในหลาย ๆ อย่าง ท่านชอบเดินทางไปยังวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศเพื่อดูว่า วัดอื่นเขาพัฒนากันอย่างไรแล้วจึงกลับมาพัฒนาวัดนาแลให้ดีขึ้นโดยร่วมกับนายบรรเจิดซึ่งเป็นพระเพื่อนที่บวชอยู่ในขณะนั่น (เจ้าของร้านขายกะปิเจ๊พา) พัฒนาวัด มีการปรับพื้นที่ถมทราย บูรณะโรงครัว สร้างโบสถ์ โรงธรรม อาคาร และเมรุใหม่ นอกจากนี้ยังรณรงค์เรื่องความสะอาดให้เกิดขึ้นในวัด เมื่อชาวบ้านเห็นจึงช่วยกันรักษาความสะอาดและเห็นความสำคัญของวัดนาแลมากขึ้น ต่อมาได้สร้างรั้วล้อมวัดเพื่อไม่ให้ควายเข้ามาในวัด และปิดประตูด้านทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ปิดทางทิศใต้ คงไว้แค่ประตูด้านทิศเหนือ เพราะท่านพระครูท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์ให้คำแนะนำว่า ควรปิดประตูทั้ง 3 ด้าน หากไม่ปิดวัดจะไม่เจริญ เพราะการมีประตู 3 ทางเหมือนวัดอกแตก และแบ่งระหว่างเขตของสงฆ์และเขตฆารวาสอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่งพระครูอินทวัชรคุณได้แต่งบทประพันธ์เกี่ยวกับวัดนาแลไว้ว่า “วัดนาแลพระ วัดคงอร่ามด้วยประชาดีแล นาอยู่คงบุญญาถ่องแท้ แลลิ่วลิบลับตานาดูมากนา พระอยู่สงัดพำนักแท้แก่คู่.... พ่อท่านจีน พ่อท่านร่าน พ่อท่านเพชร (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) ได้สร้างโรงเรียน และทำคุณประโยชน์แก่ชุมชน สังคม บ้านเมืองมากมาย และพัฒนาวัด บำรุงโรงเรียน สอนศาสนาผู้คนอย่างต่อเนื่องจนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของผู้คนใกล้ใกล จนใน ปี 2558 ทางวัดได้นำอิฐโบราณมาแปรรูปทำเป็นเจดีย์ โดยประดิษฐานไว้ที่เดิม ที่เคยมีเจดีย์องค์เดิมอยู่ โดยภายในบรรจุ พระธาตุ และอัฐิธาตุของพ่อท่านสงค์ พ่อท่านจีน และ พ่อท่านร่านด้วย โดยอิฐทั้งหมดสมัยก่อนพ่อท่านจีนท่านได้รื้อซากเจดีย์และอิฐต่างๆมาสร้างเสนาสนะภายในวัดและเอาไปสร้างโรงเรียน ซึ่งในภายหลังเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก็ได้นำกลับมาจากอาคารเก่าเกือบทั้งหมด


73 views
×

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
เจดีย์บ้านไสอิฐ

เจดีย์บ้านไสอิฐ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานกว้าง 190 เซนติเมตร สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ด้านเหนือและด้านตะวันตกยังคงสมบูรณ์กว่าด้านอื่น ส่วนด้านทิศใต้ถูกเจาะพังทลายจนถึงส่วนแกนกลางเจดีย์ บริเวณฐานเจดีย์ด้านเหนือ และด้านตะวันตกมีร่องรอยการก่อฐานประกบฐานเขียง หนาด้านละประมาณ 20 เซฯติเมตร และบนฐานเขียงด้านตะวันตกยังมีร่องรอยการก่ออิฐประกบเข้ากับองค์เจดีย์ เพื่อขยายขนาดขององค์เจดีย์ให่ใหญ๋ขึ้น แต่ร่องรอยที่มีอยู่ปรากฏเพียง 3 ชั้นอิฐเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม
พระวิษณุ ประติมากรรมนูนสูง

พระวิษณุ ประติมากรรมนูนสูงรูปพระวิษณุหิน 2 กร ประทับยืนสมภังค์ (ยืนตรง) พระเศียรชำรุดแต่มีแผ่นหลังที่มีร่องรอยศิรจักร พระหัตถ์ขวาทรงถือก้อนดิน (ธรณี) พระหัตถ์ซ้ายทรงคทา ทรงโธตียาวลงมาถึงข้อพระบาทขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี คาดผ้าที่พระโสณีห้อยเป็นวงโค้ง มีชายผ้าห้อยด้านหน้า ขนาด (ซม.) ส. 31 ฐก. 13 หนา 6 ทำจากหิน

อ่านเพิ่มเติม
ช้างแผ่นดุนทอง

"ลักษณะเฉพาะของ “ช้างแผ่นดุนทอง” การดุน หมายถึง การทำให้แผ่นโลหะต่างๆ เช่น แผ่นเงิน แผ่นทอง ฯลฯ เป็นรูปรอยนูนขึ้นมา เรียกกรรมวิธีนี้ว่า ดุนลาย และอาจเรียกลวดลายที่ทำขึ้นนี้ว่า ลายดุน สำหรับวัตถุโบราณที่พบบนเขาคาชิ้นนี้ดุนด้วยแผ่นทองรูปช้างพลายเต็มตัว มีงา มีหางและกำลังเหลียวมอง สันนิษฐานว่าสร้างตอนกษัตริย์เสด็จเยือนในการลงเสาเอกของเทวาลัย กรมศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราชได้เคยมาดูเช่นกันแต่คุณวิลาศไม่ได้มอบให้ ความเก่าแก่ของช้างแผ่นดุนทองคำชิ้นนี้มีอายุราว ศตวรรษที่ 13-14 ในยุคตามพรลิงค์ "

อ่านเพิ่มเติม
เจดีย์วัดนาแล

เจดีย์ที่พบมี 2 องค์ ทรงระฆังคว่ำ ขณะค้นพบเหลือแค่คอเจดีย์ มีพระพุทธรูปประดิษฐานบนยอดคอเจดีย์ สร้างด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ กว้างแผ่นละประมาณ 3.5 นิ้ว ยาวประมาณ 13.5 นิ้ว

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์ ฐาน 4 เหลี่ยม และ 8 เหลี่ยม สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง

ศิวลึงค์ ฐาน 4 เหลี่ยม และ 8 เหลี่ยม สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 36 สผ. 9 สร้างจากหินทราย

อ่านเพิ่มเติม
ศิวลึงค์

ศิวลึงค์ ขนาด (เซนติเมตร) ส. 45 ฐก. 15 สร้างจากหินปูน

อ่านเพิ่มเติม
ชิ้นส่วนยอดสถูป

ชิ้นส่วนยอดสถูป ขนาด (เซนติเมตร) สูง 16 สร้างจากดินเผา

อ่านเพิ่มเติม