ทุกครั้งที่จะขึ้นไปขุดขี้ค้างคาวนายเสกสันต์ นาคกลัดจะขอเทดาเขาพลีเมืองเสมอว่า ขอขึ้นไปขุดขี้ค้างคาวเพื่อดำรงชีพและจะปลอดภัยทุกครั้ง เดิมบริเวณนี้เป็นทุ่งกว้าง เป็นป่าไส มีต้นไม้ขนาดเล็ก ชาวบ้านเล่าลือกันว่า ดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์มีเทดา (เทวดา) อารักษ์อยู่ ทุกครั้งที่มีการนำคนมาฆ่าจะมีผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่ยืนคล่อมตัวคนที่จะถูกฆ่าเสมอ ชาวบ้านเล่าาบต่อกันว่า เทดาที่คุ้มครองพื้นที่แห่งนี้คือ เทดาทุ่งพลีเมือง ชาวบ้านต่างมาขอพร สมัยก่อนที่จะมีศาลาเทดา เวลาชาวบ้านขอพรได้ตามหวังจะแก้บนกันตลอดแนวเขา ครั้งหนึ่งเคยมีการจ้างรถตักหน้าขุดหลังมาไถที่แต่รถกลับเสียขุดต่อไม้ได้ ตกกลางคืนมีเสือมานอนเฝ้าหน้ารถจึงมีการบนบานว่า ขอให้รถสตาร์ทติดและทำงานได้อย่างราบรื่น จากคำขอที่ว่า หากเป็นตามคำขอจะมาสร้างศาลาให้ท่านเทดา ณ จุดนี้ (คือบริเวณหน้าถ้ำพลีเมืองที่พบศิวลึงค์) ศาลาเทดาจึงถูกสร้างขึ้นและมีการปั้นเสือคู่กัน นายเสกสันต์ นาคกลัดเล่าว่า หลังจากพบศิงลึงค์องค์ที่ 1 เขามีสัมผัสสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องราวในอดีตได้ ประกอบกับมีพระมาช่วยเบิกเนตรจึงทำให้ทราบว่า ตรงบริเวณใดใช้ประกอบพิธีกรรมอะไร นอกจากนี้บริเวณริมป่าตามแนวตีนเขายังพบแผ่นกินโบราณที่ถูกสกัดไว้เป็นแผ่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกหลายแผ่นที่วางซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ นายสุรินทร์ ชนสินธุ์เล่าว่า ครั้งเป็นเด็กครูเคยให้มาขนแผ่นหินไปไว้ในวัดจอมทองเพื่อเป็นแหล่งศึกษาด้วย นอกจากนี้สมัยที่ชาวบ้านยังไถนากับควาย ขณะไถนาหัวคันไถเกิดไปสะดุดเจอพานทองเหลือง ด้านในมีเครื่องเส้นไหว้หลายอย่าง เช่น เหรียญ เต้าปูนสัมริด หลังจากพบสิ่งของเหล่านี้คนที่พบได้เรียกขาวบ้านที่ทำนาบริเวณใกล้เคียงให้มาดูและแบ่งของที่พบให้คนที่มาดูจนหมด ต่อจากนั้นมีคนชื่อว่านายปลื้มมาขุดเพื้อหาสมบัติต่อจากที่พบพานใส่เครื่องเส้นไหว้ ยิ่งขุดไปเรื่อย ๆ ยิ่งเจอน้ำและขุดไปเรื่อย ๆ จนไปสิ้นสุดที่ยอดจอมปลวก นายปลื้มบอกว่า ไม่ขุดต่อแล้วเพราะเจอแต่ขี้ควายทั้งนั้น ชาวบ้านต่างเชื่อว่าที่นายปลื้มไม่พบสมบัติเพราะไม่มีศรัทธาต่อสิ่งที่พบ และสิ่งที่พบสันนิษฐานว่าอาจ 130 ปีล่วงมาแล้ว
ศาลพ่อท่านม่วงทองตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2483 สร้างขึ้นโดยชาวแต้จิ๋ว ศาลเดิมตั้งอยู่ในป่าพรุ เป็นอาคารไม้เมื่อถึงฤดูน้ำหลากฝนตกหนักน้ำจะท่วมถึงจึงย้ายมาสร้างใหม่ ณ พื้นที่ปัจจุบัน มีจารึกภาษาจีนระบุว่า “หลี่จี่ หลี่หลิง ชาวผูหนิงเป็นผู้จ่ายเงินก่อสร้างในปี พ.ศ. 2483” สำหรับรูปเคารพจะมี 3 ศาสนาอยู่ในศาลแห่งนี้ กล่าวคือ พ่อท่านม่วงทองเป็นรูปเคารพของคนไทยเชื้อสายไทยแท้ พ่อท่านขอยเตี๋ย (นำมาจากวัดขอยเตี๋ย ปัจจุบันร้างไปแล้ว) เป็นรูปเคารพของคนจีน และพ่อท่านกลายเป็นรูปเคาระของอิสลาม โกเคียงให้ข้อมูลว่า “รูปเคารพทั้งสามถูกนำมาจากประเทศจีนโดยตรง” ปัจจุบันมีการเสริมรูปเคารพ กวนอู และเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปด้วย
เจดีย์ร่มโพธ์ร่มไทร (เจดีย์แหลมเขาคอกวาง) เจดีย์ตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาคอกวาง บนยอดเขาลูกโดดซึ่งตั้งตรงปลายแหลม ลักษณะของภูเขาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 28 เมตร เจดีย์ตั้งอยู่ตรงกลางของภูเขา รอบเจดีย์มีการก่อแนวกำแพงหินกันดินไว้ทางด้านเหนือ ด้านใต้และด้านตะวันตกในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อปรับระดับพื้นที่ด้านบนให้ราบเรียบ เจดีย์ตั้งค่อนไปทางด้านเหนือของแนวกำแพง บริเวณเชิงเขาเป็นสวนมะพร้าว มีการทำถนนอ้อมไว้
ณ ศาลเจ้าแห่งนี้มีรูปเคารพได้แก่ ต้าแปะกง (เชื่อกันว่าคนท้องถิ่นเรียกต้าแปะกงเพี้ยนเป็นตาปะขาว) เทพกวนอู เจ้าแม่กวนอิม และพระพุทธรูป ไม่มีป้ายจารึก ศาลเจ้าตาปะขาวมี 2 ศาล ศาลแรกจะอยู่ด้านล่างมีขนาดเล็กและศาลใหม่อยู่ด้านบน
ศาลพ่อขุนทะเล คือศาลที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ที่ตั้งศาลอยู่บริเวณปากน้ำสิชล ภายในศาลพวงมาลัยเรือและก้อนหินที่ได้จากการระเบิดหินเป็นเครื่องสักการะ นอกจากนี้ยังมีองค์จตุคามรามเทพประดิษฐานอยู่ด้วย
เป็นเขื่อนขนาดเล็กที่สร้างจากการเรียงโขดหินอย่างเป็นระเบียบเป็นแนวยาว เพื่อกันการกัดเซาะของน้ำและการงอกของทราย ปลายเขื่อนมีประภาคารเพื่อส่งสัญญาณให้เรือที่เดินทางรู้ว่าต้องแล่นเรือไปทางใดล
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด ส. 102 สร้างจากหินศิลา
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 124 สร้างจากหินศิลา
ผอบดินเผา พร้อมฝา ทรงคล้ายก้อนอิฐ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการคว้านรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางด้านใน พร้อมฝา สภาพชำรุด แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ ส. 8.5 ก. 15 ย. 16 สร้างจากดินเผา
ผอบหิน พร้อมฝา ผอบหินทรงกลม ตรงกลางคว้านเป็นรูรูปสี่เหลี่ยมลึกสอบลง กินหลุมรูปสี่เหลี่ยมทั้งฝาและตัวผอบ ขนาด (เซนติเมตร) ตัวผอบ สผ. 26 ส. 12 สร้างจากหิน
พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 20.3 สร้างจากสำริด
พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม นั่งเรียนกันสองแถว แถวละ 3 องค์ รวมทั้งหมด 6 องค์ องค์กลางบน นั่งในซุ้มปราสาทเรือนยอดแบบขอม ขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธสองข้างด้านล่างมีพระพุทธนั่งเรียงกันสามองค์ ทั้งหมดขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ขนาด (เซนตอเมตร) ก. 7.1 ส. 11.2 สร้างจากดินเผา
พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์ ขนาด (เซนติเมตร) ส. 67.5 สร้างจากหินศิลา ลักษณะบั้นพระองค์เล็กพระโสณีผายพระเพลาใหญ่พระกรทั้ง 4 ข้างสลักแยกออกจากพระวรกายทรงยืนอยู่บนฐานที่มีเดือยและสวมกีรีฎมกุฏทรงเตี้ยทรงพระภูษาโจงยาวครอบข้อพระบาทและขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี ไม่มีผ้าคาดพระโสณี