ในทุกปีจะมีพิธีบวงสรวงศาลพระเสื้อเมืองในช่วงเดือนเมษายน พิธีกรรมนี้ปฎิบัติสืบต่อกันมาช้านานตั้งแต่ครั้งอดีต สิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานพิธีคือ การเชื้อโนรา (การเชื้อโนรา คือ นำคณะโนรามาแสดงในงาน แต่ทางภาคใต้จะใช้คำว่า เชื้อ) เมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะพร้อมใจกันมากราบไหว้ มีการนิมนต์พระมาฉันข้าว ต่างคนต่างทำอาหารมาเลี้ยงพระ และช่วยกันลงเงินลงแรงเพื่อให้งานลุล่วงไป ประเพณีเช่นนี้สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตไม่ทราบว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เด่นชัดคือความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้ มีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างถิ่นมาสักการะ บ้างก็มาบนบาน เมื่อได้ดั่งที่ปรารถนาจะมาแก้บนด้วยข้าวเหนียวเปียก
ศาลาพ่อท่านนาคราชตั้งอยู่หัวเขาพรงตะวันออก ด้านหน้ามีคลองท่าเชี่ยวไหลผ่าน ลักษณะศาลาก่อด้วยปูนสี่เสา ไม่กั้นฝาทั้งสี่ด้าน มุงหลังคากระเบื้อง ภายในมีการตั้งหินลักษณะคล้ายพญานาคบ้าง คล้ายจระเข้บ้าง ซึ่งหินเหล่านี้นำมาจากถ้ำนาคราช
พ่อท่านเขาเกียรติเป็นพระพุทธรูปบางมารวิชัย หรือพระพุทธรูปชนะมาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระบาททั้งสองข้างไขว้กัน และเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน พระรัศมีเป็นเปลว พระศกขมวดเป็นก้นหอย มีเส้นขอบไรพระศก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กหยักเป็นคลื่น พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิสั้นเป็นรูปหางปลาอยู่เหนือพระถัน ประทับเหนือฐานสามเหลี่ยม หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นแฉกคล้ายรูปพัด พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ลำคอเป็นปล้อง
พระวิษณุ พระวิษณุ/นารายณ์ สวมหมวกทรงกระบอกสูงเรียบไม่มีลวดลาย คาดผ้าห้อยด้านหน้าเป็นวงโค้ง และผูกห้อยด้านหลัง มีสี่กร พระกรขวาบนหัก พระกรขวาล่างถือธรณี(ก้อนดิน) พระกรซ้ายและขวาล่าง มีหินเชื่อมถึงฐาน เป็นเทคนิคการสลักเพื่อไม่ไห้หักง่าย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง ขนาด (เซนติเมตร) ส. 41.5 สร้างจากกินปูน