Sichon Heritage
ประเพณี
/ ประเพณี
21 พ.ย. 2566
645
ถ้ำเขาพรงตะวันออก

ประเพณีที่จัดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษคือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นถ้ำ สำหรับการแห่ผ้าขึ้นถ้ำในสมัยก่อนไม่มีทางเดินที่สะดวกเช่นทุกวันนี้ เมื่อถึงช่วงวันวิสาขบูชาผู้เฒ่า ผู้แก่ 10-20 คนจะร่วมกันแห่ผ้าขึ้นไปบนถ้ำตามทางเดินที่เป็นป่ารกเพื่อไปสักการะพระในถ้ำและถือปฎิบัติกันมาจวบจนปัจจุบัน

21 พ.ย. 2566
564
วัดถ้ำเทียนถวาย

ครั้งอดีตเคยมีการทำเทียนถวายวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

1 พ.ค. 2567
221
ศาลาพ่อท่านนาคราช

พิธีบวงสรวงประจำปี ในทุก ๆ ปีชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อจัดเตรียมข้าวปลาอาหารมาจัดพิธีบวงสรวง และมีการรับคณะโนรามาแสดงด้วย

1 พ.ค. 2567
294
ศาลพระเสื้อเมืองอลอง

ในทุกปีจะมีพิธีบวงสรวงศาลพระเสื้อเมืองในช่วงเดือนเมษายน พิธีกรรมนี้ปฎิบัติสืบต่อกันมาช้านานตั้งแต่ครั้งอดีต สิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานพิธีคือ การเชื้อโนรา (การเชื้อโนรา คือ นำคณะโนรามาแสดงในงาน แต่ทางภาคใต้จะใช้คำว่า เชื้อ) เมื่อถึงวันงานชาวบ้านจะพร้อมใจกันมากราบไหว้ มีการนิมนต์พระมาฉันข้าว ต่างคนต่างทำอาหารมาเลี้ยงพระ และช่วยกันลงเงินลงแรงเพื่อให้งานลุล่วงไป ประเพณีเช่นนี้สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตไม่ทราบว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เด่นชัดคือความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้ มีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างถิ่นมาสักการะ บ้างก็มาบนบาน เมื่อได้ดั่งที่ปรารถนาจะมาแก้บนด้วยข้าวเหนียวเปียก

1 พ.ค. 2567
501
พระลากวัดเขาน้อย

ทุกปีเมื่อถึงช่วงชักพระเดือน 11 จะมีการอัญเชิญพระลากทองคำขึ้นเรือพระและแห่ไปยังหน้าอำเภอสิชล และพักแรมที่หน้าอำเภอ 2 คืนเพื่อให้คนสักการะก่อนจะอัญเชิญกลับวัดเขาน้อย ในอดีตเมื่อถึงช่วงเดือน 5 ของทุกปีจะมีประเพณีชักพระเดือน 5 พระลากวัดเขาน้อยได้ถูกอัญเชิญขึ้นเรือพระในช่วงเดือน 5 ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีการอัญเชิญพระลากลงมาสรงน้ำพระอีกด้วย

1 พ.ค. 2567
258
ศาลาทวดปู่หูน้ำฉา

หลังจากพระเข้าพรรษา 9 วัน ที่ศาลาทวดปู่หูน้ำฉาแห่งนี้จะจัดพิธีทำบุญตักบาตร ทำบุญเสดาะเคราะห์ ขอพรทวดปู่หูน้ำฉาขึ้น เป็นวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็น 100 ปี ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566 แรม 9 ค่ำ เดือน 8 มีการนิมนต์พระมาทำพิธี มีมหรสพหนังตะลุง โนรา มีการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน มีพิธีสะเดาะเคราะห์โดยชาวบ้านจะสร้างแพขึ้นมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตัดเล็บ ตัดผมแล้วนำไปลอยแพ เมื่อแพล่องไปจะมีทำเนียมอยู่หนึ่งอย่างคือ โจรจะต้องไปรออยู่ปลายทางแล้วทำการปล้นแพ คนในแพต้องจ่ายเงินให้โจรแพจึงจะผ่านไปได้ ครั้งหนึ่งในงานมีพิธีเชิญทวดปู่หูน้ำฉาเข้าทรงด้วยการเชื้อโนรา ขณะดนตรี ปี่ กลองกำลังเล่น มีชายแก่คนหนึ่งปกติเดินเหินไม่สะดวก เลื้อยเหมือนงูมาหาของเส้นไหว้ ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่า ทวดปู่หูน้ำฉามาเข้าทรงอย่างแน่นอน ณ ศาลาทวดปู่หูน้ำฉาแห่งนี้เป็นที่เคารพศรัทธาของชางบ้านมาช้านาน ไม่สามารถลบหลู่ได้ เขื่อกันว่า ถ้าหากมีคนมาเล่นน้ำแล้วทำท่าคลาน 4 ขา เหมือนช้างในคลองจะมีอันเป็นไปหนึ่งอย่าง เข่น ปวดท้อง เป็นต้น ที่เป็นเช่นนั้นเชื่อว่าเพราะบารมีตาแก้ว การคลานสี่ขาประหนึ่งทำท่าช้างจึงไม่สามารถลบหลู่ได้

1 พ.ค. 2567
408
ศาลพ่อท่านม่วงทอง

กิจกรรมที่จัดขึ้นในทุก ๆ ปี ถือว่าต้องปฏิบัติและไหว้เจ้า คือ 1) 15 ค่ำ เดือน 8 จีนไหว้พระจันทร์ 2) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จีนไหว้ส่งสิ้นปีเก่า 3) ขึ้น 4 ค่ำเดือนอ้าย จีนไหว้รับปีใหม่ 4) ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย จีนไหว้เจ้า การจัดงานประจำปีจะมีในเดือน 3 หลังตรุษจีน 15 วันสำหรับบุญใหญ่ ๆ ที่ทำคือ จะมีการไหว้ส่งก๋งขึ้นสวรรค์และไหว้รับ กรณีวันเทศกาลช่วง 15 ค่ำเดือน 8 เริ่มต้นจากปีใหม่จีนตรงกับช่วงเวียนเทียนในพุทธศาสนา ก่อน 15 ค่ำ 7-8 วันจะมีพิธีรับเทวดา นอกจากนี้ยังมีพิธีแก้บนหลังจาก 15 ค่ำ นับจากตรุษจีน 15 วัน พิธีแก้บนที่จัดขึ้นมี 1 ครั้งในรอบปี คนที่มาบนบานที่ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทองเมื่อสำเร็จตามที่บนไว้จะต้องมาแก้บนในวันที่ศาลเจ้าจัดขึ้น กรรมการศาลเจ้าจะประสานงานเพื่อืำพิธีแก้บนและมีการรับมหรสพมาแสดง สมัยก่อนจะมีการแสดงหนังตะลุงแต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นลิเก (ช่วงแรกคนนิยมหนะงตะลุงแต่พอยุคหลังความนิยมเสื่อมถอยจึงรับลิเกแทน ลิเกอยู่คู่ศาลเจ้ามาเกือบ 20 ปีแล้ว คณะลิเกที่มาแสดงอาจปักหลักที่ศาลเจ้า 7, 10, 15 วันแล้วจนกว่าคนที่บนไว้จะแก้บนเสร็จ (งานเทศกาลจัดต่อเนื่องทุกปี เว้นว่างเฉพาะช่วงโควิด 2 ปี ปัจจุบันจัดปกติแล้ว) หลังจากมีการแก้บนเสร็จจะมีการจัดงานหารายได้เข้าศาลเจ้า ประเพณีที่นี้จะมีกาประมูลเต่า เต่าในที่นี้คือขนมเต่าขาว ไม่ใช่ขนมเต่าแดงเหมือนที่จังหวัดภูเก็ต ขนมเต่าจะทำจากแป้งและน้ำตาลมากวนเทลงพิมพ์รูปเต่า เคี้ยวหนึบ ๆ รายได้ที่มาจากการประมูลเต่าในแต่ละปีหลักแสนบาท เมื่อถึงช่วงเวลาทำขนมเต่ากรรมการจะติดต่อร้านขนมให้ทำขนมเต่า 3 ขนาดคือขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ (เท่าเต่าทะเล) ตัวเล็กและตัวกลางจะนำมาขายในศาลเจ้า 5 วัน และตัวใหญ่จะนำมาประมูล สมัยก่อนซื้อมาตัวละ 10 บาท ขาย 20 บาท ขนาดกลางซื้อมา 20 ขาย 40 บาท ปัจจุบันขายเช่นนี้ไม่ได้อีกแล้วกำไรจะอยู่ที่ 20% ของราคาต้นทุน รายได้ทั้งหมดจะนำเข้าศาลเจ้า สำหรับเต่าตัวใหญ่จะถูกนำมาประมูล การประมูลเต่าจะเริ่มจาก 1) ไข่เต่าอาจจะมี 5-6 ลูก อาจเริ่มจาก 500 บาท ราคาอาจจะถึง 5,000 บาท (ไข่เต่าทำมาเพื่อคนที่ต้องการมีบุตร) 2) หางเต่า อาจได้ราคา 5,000, 6,000 และ 8,000 บาทแล้วแต่ความต้องการ 3) ขาขวา-ขาซ้าย 4) หัวเต่าอาจมีราคาถึง 100,000 บาท พอเหลือแต่ตัวเต่าก็จะประมูลอีกอาจมีราคา 5,000 บาทขึ้นไป ประมูลเสร็จจะมีการตัดแบ่งให้คนในงานกิน (ความเชื่อของคนจีนในแต่ละปีจะประมูลไปเป็นส่วน ๆ เพื่อช่วยก๋ง) ที่กล่าวมาทั้งหมดก่อนจะนำเต่ามาจะมีเจ้าภาพซื้อเต่ามาให้ศาลเจ้าก่อนประมาณ 10,000 บาท ปัจจุบันการหารายได้เข้าศาลเจ้าจะมีการขายลอตเตอรี่เข้ามาช่วยอีกทางหนึ่งด้วย รายได้จะถูกนำมาจ้างกรรมเฝ้าศาลและจ่ายค่าไฟ

29 พ.ค. 2567
294
พระพุทธรูปโบราณ ณ ถ้ำเขาพรงตะวันออก

ด้วยความเก่าแก่ของพระพุทธรูปภายในถ้ำจึงเป็นที่สนใจของใครหลายคน หลายครั้งนักแสวงลาภได้เข้าไปเพื่อค้นหาสิ่งมีค่า ซึ่งตามความเชื่อของคนโบราณเชื่อกันว่า ได้ใส่แก้ว แหวน เงิน ทอง ของมีค่าไว้ในองค์พระ จึงมีการเจาะหาสมบัติหาลายแทงเลยทำให้พระพุทธรูปที่อยู่ในถ้ำถูกทำลาย องค์หลัก ๆ ที่ถูกบันทึกว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์คือ องค์เขียวและองค์ขาว โดยมีคำกล่าวถึงพระสององค์นี้ว่า “พระเขียวโฉ่ฉาว พระขาวขวางกัน หัวรีต่อหัวสั้น ตรงไหนตรงนั้นแหละ” คำกล่าวนี้เชื่อกันว่า คือลายแทงสมบัติแต่ก็ไม่มีใครสามารถตีความหมายได้ ชาวบ้านเล่าต่อกันว่า พระในถ้ำศักดิ์สิทธิ์มาก หากใครคิดทำลายจะต้องมีอันเป็นไปไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

29 พ.ค. 2567
299
พระพุทธรูปภายในถ้ำมืด

"เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของทวดเขียว" คนในแถบนี้ไม่มีใครกล้าหยิบหรือนำอะไรออกจากถ้ำ เพราะต่างเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ชื่อว่า “ทวดเขียว” มีคนเล่าว่า ในช่วงค่ำขณะเดินทางมาจาก ต. ฉลอง ต้องเดินทางผ่านช่องเขาไปทางหน้าถ้ำ พวกเขาเห็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำยืนคล่อมทางอยู่ กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องเดินลอดหว่างขาชายรูปร่างสูงใหญ่นั้นไป และหากชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นภายในหมู่บ้านจะมีงูบองหลา (จงอาง) มาแสดงให้เห็นเพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง ครั้งหนึ่ง ณ ถ้ำมืดมีพระที่จำวัดอยู่ที่วัดถ้ำเทียนถวายเคยเห็นเด็กใส่ชุดโบราณกระโดดอยู่หน้าถ้ำ นอกจากนี้ยังมีพวกแสวงโชค แสวงหาของขลังมาตีพระพุทธรูปในถ้ำเพื่อต้องการเหล็กไหล สมัยก่อนมีคนมาทำพิธีเพื่อขอเหล็กไหลจากถ้ำ (ตามความเชื่อเหล็กไหลคือของศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่า มีเทพรักษาสถิตอยู่แตกต่างกันตามชนิดของเหล็กไหล) คนที่มาแสวงหาเหล็กไหลส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เพราะคนในชุมชนเองไม่กล้าขึ้นไปหาเพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์

29 พ.ค. 2567
261
พระพุทธรูปภายในถ้ำแจ้ง

"เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของทวดเขียว" คนในแถบนี้ไม่มีใครกล้าหยิบหรือนำอะไรออกจากถ้ำ เพราะต่างเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ชื่อว่า “ทวดเขียว” มีคนเล่าว่า ในช่วงค่ำขณะเดินทางมาจาก ต. ฉลอง ต้องเดินทางผ่านช่องเขาไปทางหน้าถ้ำ พวกเขาเห็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำยืนคล่อมทางอยู่ กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องเดินลอดหว่างขาชายรูปร่างสูงใหญ่นั้นไป และหากชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นภายในหมู่บ้านจะมีงูบองหลา (จงอาง) มาแสดงให้เห็นเพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง นอกจากนี้ยังมีพวกแสวงโชค แสวงหาของขลังมาตีพระพุทธรูปในถ้ำเพื่อต้องการเหล็กไหล สมัยก่อนมีคนมาทำพิธีเพื่อขอเหล็กไหลจากถ้ำ (ตามความเชื่อเหล็กไหลคือของศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่า มีเทพรักษาสถิตอยู่แตกต่างกันตามชนิดของเหล็กไหล) คนที่มาแสวงหาเหล็กไหลส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เพราะคนในชุมชนเองไม่กล้าขึ้นไปหาเพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์ ณ ถ้ำแจ้งจะมีความศักดิ์สิทธิ์มากหากใครหยิบอะไรในถ้ำไปจะต้องนำกลับมาคืนมิเช่นนั้นจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นกับผู้ที่เอาไป และมีคนเคยเห็นงูบองหลา (จงอาง) มาเลื้อยอยู่หน้าถ้ำ

29 พ.ค. 2567
255
ภาพเขียนสีภายในถ้ำวังใหญ่

"เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของทวดเขียว" คนในแถบนี้ไม่มีใครกล้าหยิบหรือนำอะไรออกจากถ้ำ เพราะต่างเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ชื่อว่า “ทวดเขียว” มีคนเล่าว่า ในช่วงค่ำขณะเดินทางมาจาก ต. ฉลอง ต้องเดินทางผ่านช่องเขาไปทางหน้าถ้ำ พวกเขาเห็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำยืนคล่อมทางอยู่ กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องเดินลอดหว่างขาชายรูปร่างสูงใหญ่นั้นไป และหากชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นภายในหมู่บ้านจะมีงูบองหลา (จงอาง) มาแสดงให้เห็นเพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง นอกจากนี้หน้าถ้ำภาพเขียนสีเมื่อถึงฤดูฝน น้ำจะตกจากภูเขาโดยรอบแล้วตกลงยังพื้นที่ตรงนั้นประมาณ 10 ไร่ เมื่อน้ำตกลงมาก็ไปตามช่องไม่ใหญ่มากด้านล่าง ไม่มีใครทราบว่าน้ำที่ตกลงมาไปสิ้นสุดที่ใด พอประมาณการได้ว่าถ้ำแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับถ้ำเขาพรงคือข้างล่างอาจจะมีแอ่งน้ำที่ใหญ่มากรองรับอยู่ นอกจากนี้ยังมีพวกแสวงโชค แสวงหาของขลังมาตีพระพุทธรูปในถ้ำเพื่อต้องการเหล็กไหล สมัยก่อนมีคนมาทำพิธีเพื่อขอเหล็กไหลจากถ้ำ (ตามความเชื่อเหล็กไหลคือของศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่า มีเทพรักษาสถิตอยู่แตกต่างกันตามชนิดของเหล็กไหล) คนที่มาแสวงหาเหล็กไหลส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เพราะคนในชุมชนเองไม่กล้าขึ้นไปหาเพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์

29 พ.ค. 2567
108
ถ้ำเหว

"เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของทวดเขียว" คนในแถบนี้ไม่มีใครกล้าหยิบหรือนำอะไรออกจากถ้ำ เพราะต่างเชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ชื่อว่า “ทวดเขียว” มีคนเล่าว่า ในช่วงค่ำขณะเดินทางมาจาก ต. ฉลอง ต้องเดินทางผ่านช่องเขาไปทางหน้าถ้ำ พวกเขาเห็นผู้ชายตัวสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำยืนคล่อมทางอยู่ กลุ่มคนเหล่านี้จึงต้องเดินลอดหว่างขาชายรูปร่างสูงใหญ่นั้นไป และหากชาวบ้านมีลางสังหรณ์ว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นภายในหมู่บ้านจะมีงูบองหลา (จงอาง) มาแสดงให้เห็นเพื่อเป็นการเตือนให้ระวัง นอกจากนี้ยังมีพวกแสวงโชค แสวงหาของขลังมาตีพระพุทธรูปในถ้ำเพื่อต้องการเหล็กไหล สมัยก่อนมีคนมาทำพิธีเพื่อขอเหล็กไหลจากถ้ำ (ตามความเชื่อเหล็กไหลคือของศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่า มีเทพรักษาสถิตอยู่แตกต่างกันตามชนิดของเหล็กไหล) คนที่มาแสวงหาเหล็กไหลส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ เพราะคนในชุมชนเองไม่กล้าขึ้นไปหาเพราะเชื่อว่ามีอาถรรพ์

29 พ.ค. 2567
310
บ้านไม้กึ่งปูนของตระกูล นพเดช

"ภูมิปัญญาการสร้างบ้าน" บนบ้านจะมีการเจาะไม้กระดานสำหรับเป็นช่องปัสสาสะของผู้หญิงในยามค่ำคืน สาเหตุที่ต้องเจาะไม่กระดานให้เป็นช่องปัสสาวะเนื่องจาก สมัยก่อนห้องน้ำจะอยู่ด้านล่างแยกกับตัวบ้าน เมื่อตกกลางคืนอาจเกิดอันตรายกับผู้หญิงได้ถ้าหากจะเข้าห้องน้ำ เช่น อาจมีโจรมาดักปล้น เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงเจาะแผ่นกระดานด้านบนบ้านไว้สำหรับใช้ปัสสาวะ นอกจากนี้บนเรือนหลังนี้ยังมี “ขื่อ” สร้างไว้สำหรับจับคนป่วย คนสติไม่ดี หรือคนกระทำผิดมามัดไว้ก่อนจะส่งทางการ ลักษณะของขื่อ คือ จะมีเสาร้อยด้วยน็อตอยู่ 1 เสาทำจากไม้ ตอกลงไปบนกระดานของบ้าน มีโซ้ร้อยไว้เป็นช่วง ๆ ไว้สำหรับจองจำคนที่มีอาการไม่ปกติ และล้อมรอบด้วยกรงขนาดไม่ใหญ่มากนัก ปัจจุบันถูกตัดออกไปหมดแล้ว นอกจากนี้ที่หน้ายังมีต้นมะม่วงแก้มแดงที่โตมากต้นหนึ่ง มีอายุ 100-200 ปี หลายครั้งที่มีคนเห็นผู้หญิงอุ้มเด็กเดินเข้าไปยังต้นมะม่วงนี้

29 พ.ค. 2567
245
บ่อน้ำซับหน้าถ้ำนาคราช

บริเวณหน้าศาลาพ่อท่านนาคราชมีคลองไหลผ่าน 2 ฝั่ง ครั้งอดีตชาวบ้านเล่าลือกันว่ามีไม้โซ่งอกตรงกลางลำคลอง เมื่อมีน้ำจากทั้งสองฝั่งโอบล้อมไม้โซ่จึงกลายเป็นเป็นพญาไม้ (ชาวบ้านเชื่อว่า ไม้โซ่คือของขลังที่เรียกว่า “เพชรหน้าทั่ง” หรือแร่ไพไรต์ (Pyrite) ถือเป็นเครื่องรางที่บรรดานักเล่นของขลังเสาะแสวงหา โดดเด่นด้านอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม โดยหากจัดอันดับให้เหล็กไหลเป็นสุดยอดแล้ว เพชรหน้าทั่งก็ต้องเป็นอันดับสองของดี แม้จะไม่ได้มีราคาแพง แต่ก็เป็นสิ่งที่นักสะสมอยากหาเก็บไว้ และค่อนข้างหาได้ยากในปัจจุบัน จะพบเจอได้ตามแหล่งถ้ำที่มีน้ำไหลผ่าน แหล่งใหญ่ ๆ พบที่ภาคใต้ เช่น พัทลุง นครศรีธรรมราช ยะลา) ครั้งหนึ่งเคยนำเพชรหน้าทั่งที่พบไปทำมวลสารของพระปิดตาด้วยเช่นกัน ประกอบับบริเวณหน้าศาลพ่อท่านนาคราชจะมีวังน้ำอยู่และตรงนั้นจะเป็นบ่อน้ำทรัพย์ บ่อน้ำทรัพย์แห่งนี้น้ำไม่เคยแล้ง จึงมีการก่ออิฐขึ้นเป็นบ่อให้ชาวบ้านได้ใช้สอย โดยเฉพาะในเดือนห้าหน้าร้อนหลายคนจะพากันไปอาบน้ำที่นี้ จึงมีคนคิดจะขุดบ่อน้ำเพิ่มแต่ขุดเท่าไหร่ก็ไม่มีน้ำออกมา สำหรับบ่อน้ำทรัพย์แห่งนี้ไว้ใช้อาบเพียงอย่างเดียว ถ้าจะใช้รักษาโรคภัยต้องไปที่บ่อน้ำทิพย์ (สระอ่างทอง) ทางทิศตะวันตกของเขาพรง ด้วยเหตุนี้เองจึงสนับสนุนความเชื่อที่ว่า แหล่งน้ำบริเวณนี้เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์

29 พ.ค. 2567
322
เลียงร่อนแร่

"จุดเริ่มต้นของการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ ต. ฉลอง อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช"

บริษัทแรกที่เข้ามาสัมปทานเหมืองแร่ คือ บริษัทราดตรุดเบซินทินเดร็คยิงโนไลเอบิลลิตี้ (Ratrut Basin Tin Dreding, No Liability) วันที่เริ่มทำเหมืองแร่ คือ วันที่ 22 เดือนกรกฎาคมคม พ.ศ. 2471 รัศมีของการทำเหมืองแร่คือ 1,000 กว่าไร ใช้เรือขุดในการขุดแร่และขุดตามลำคลอง เพราะไม่มีรถขุดหน้าดินอย่างเช่นปัจจุบันนี้ต้องขุดตามแนวลำคลองเท่านั้น ไม่สามารถขุดที่หน้าดินสูง ๆ เรือขุดจะถูกบรรทุกมาทางอ่าวไทย เข้ามายังคลองท่าควาย ก่อนการทำเหมืองบริษัททำการสร้างและเดินรถไฟจากปากคลองปากน้ำสิชลไปยังเหมืองแร่ของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 10 หมู่บ้านเขาใหญ่ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จีงหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางทั้งสิ้น 25.300 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟดังกล่าวได้ระบุว่าเป็น "รถรางกรมโลหกิจ" มีกำหนดหมดอนุญาตให้บริษัทใช้ได้ในระยะเวลา 25 ปี เมื่อสร้างรางรถไฟเสร็จได้ลำเลียงเครื่องจักรเพื่อไปทำเรือขุดและจัดตั้งสำนักงานที่เรียกว่า “ห้าง” ไว้ ณ ที่แห่งนี้ และกิจการก็ได้ดำเนินไปภายใต้การนำของอังกฤษ คนงานที่เข้ามาทำเหมืองในยุคนี้มาจาากประเทศมาเลเซียถึง 80% (เป็นคนมาเลเซีนเชื้อสายจีน) คนงานเหล่านี้เคยทำเหมืองแร่อยู่ที่มาเลเซียแต่เหมืองแร่ล่มจึงเดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ ณ ที่แห่งนี้ นอกจากนั้นเป็นคนงานของอังกฤษ ส่วนผู้รักษาความปลอดภัย (แขกยาม) จะต้องมาจากประเทศอินเดียหรือบังคลาเทศเท่านั้น ขณะนั้นมีเสียงร่ำลือว่าเงินสะพัดมาก มีการใช้เงินดอลล่าด้วยเช่นกัน เมื่อถามถึงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนงานพบว่า ชาวมาเลเซียได้สร้างที่พักในเหมือง ขณะที่ชาวจีนได้เข้ามาทำาชีพค้าขายอยู่ในเหมืองเช่นกัน ซึ่งกลุ่มคนจีนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณสำนักเนียมจนกระทั่งปัจจุบัน ยุคนี้มีแรงงานนับพันคน (นอกจากคนงานในเมือง วิถีชีวิตของคนทั่วไปก็มีการร่อนแร่ด้วยเช่นกัน เราจะพบว่าแทบทุกบ้านจะต้องมี “เลียง” ไว้สำหรับร่อนแร่ ซึ่งทำควบคู่กับการทำนา)

นายนุศาสตร์ สัตยานุมัฎฐ์เล่าว่า “บิดาของเขาเรียนจบชั้นประถมศึกษาที่ 4 มีโอกาสเข้าทำงานในเหมืองแร่ในตำแหน่งเสมียน มีหน้าที่คอยเช็กคนงานในเหมือง สามารถพูดได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษามลายู แต่ไม่สามารถเขียนสื่อสารได้” หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดาของคุณนุศาสตร์จึงหยุดทำงานในเหมือง และเสียชีวิตในวัย 87 ปี 

กระทั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษต้องออกจากประเทศไทยจึงมอบบริษัทเหมืองแร่ให้ นายชม เพชรชู กำนัน ต. ฉลอง (ในขณะนั้น) เป็นผู้ดูแลประทานบัตรเหมืองแต่ไม่มีอำนาจในการทำเหมืองแร่ ห้างที่เป็นสำนักงานยังคงอยู่จนปัจจุบันเพราะเอกสารสิทธ์ยังเป็นของนายชม เพรชชู แม้ว่าปัจจุบันจะใช้เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราแล้วก็ตาม หลังจากบ้านเมืองสงบจากภาวะสงครามได้ 6-7 ปี กลุ่มทุนจีนได้ขอประทานบัตรเหมืองแร่ต่อภายใต้การนำของ “บริษัทนิวเฉียงพร้า”  ซึ่งมี “นายสงวน สิทธิอำนวย” เป็นเจ้าของบริษัท เดิมที่นายสงวน สิทธิอำนวยเคยทำเหมืองแร่ที่ห้วยมุด อ. นาสาร จ. สุราษฎร์ธานีมาก่อน กระทั่งหมดประทานบัตรและพื้นที่ในการขุดแร่ก็หมดลงจึงมาขอทำประทานบัตรที่นี้ ขณะเดียวกันนายสงวน สิทธิอำนวยยังได้ทำการบุกเบิกเส้นทางจากบ้านสำนักเนียมไปยังห้วยมุด โดยการใช้รถแบคโฮ (ขณะนั้นนายสงวน สิทธิอำนวยมีรถแบคโฮตัวแรกในพื้นที่) ทำทางมาเรื่อย ๆ โดยใช้การไหลของกระแสน้ำเป็นตัวนำทาง เนื่องจากสมัยนั้นยังคงเป็นป่า เป็นเขาการดูกระแสน้ำไหลจึงเป็นเหมือนเข็มทิศไม่ให้หลงทาง ในยุคที่นายสงวน สิทธิอำนวยได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองเขาไม่มีรถขุดตักหน้าหลัง (รถแบคโฮ) สามารถตักหน้าดินที่มีความสูงเกิน 30 เมตรได้ ต้องทำเฉพาะพื้นที่หน้าดินต่ำเท่านั้นเพราะมีแค่รถแทรกเตอร์ คนงานที่ทำงานในเหมืองจะเป็นคนในพื้นที่แต่ขณะที่หัวหน้างานเขาจะจ้างคนนอกพื้นที่ เช่น ช่างเชื่อม หรือช่างอื่น ๆ คนงานประมาณ 100 กว่าคน

หลังจากนายสงวน สิทธิอำนวยหมดความสามารถที่จะทำเหมืองแล้วจึงขายต่อให้กับ “บริษัทเซียร่าไมนิ่ง” (เป็นบริษัทของออสเตรเลีย คุณนุศาสตร์เองได้ทำงานในบริษัทนี้อยู่ 2 เดือน) มีนายจอร์นเป็นผู้ดูแลเหมือง ดำเนินกิจการประมาณ 10-20 ปี กิจการเหมืองภายใต้การนำของออสเตรเลียดำเนินอยู่ได้ไม่นานก็ต้องถอยไปเนื่องจากรถที่ใช้ขุดไม่มีกำลังพอที่จะขุดหน้าดินที่สูงเกิน 30 เมตรได้ ขณะนั้นคนงานในเหมืองคือคนในพื้นที่ตรงนี้ แต่ถ้าเป็นหัวหน้างานจะเป็นคนนอกพื้นที่เช่นเดียวกับยุคของนายสงวน สิทธิอำนวย

เมื่อ “บริษัทเซียร่าไมนิ่ง” ไม่สามารถดำเนินกิจการเหมืองแร่ได้อีกแล้ว “บริษัทวีระประดิษฐ์” จึงขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ต่อ (บริษัทนี้เป็นของคนไทย ในจังหวัดภูเก็ต) ขณะนั้นเจ้าของบริษัทรู้จักกันในฉายา “ฮิตเลอร์” เพราะเผด็จการและจริงจัง การทำเหมืองในยุคนี้รถแบคโฮมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถตักดินที่มีหน้าดินสูงได้ดีมาก ฮิตเลอร์สามารถทำกำไรมหาศาลจากเหมืองแห่งนี้ เขาขุดแร่จนเกลี้ยง อย่างไรก็ดีคุณนุศาสตร์เล่าว่า “การตื่นตัวของคนในยุคปัจจุบันเป็นอุปสรรคอย่างมากในการทำเหมืองแร่ เพราะเขาเหล่านั้นตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น”

ลักษณะของการทำเหมิองแร่ที่ ต. ฉลอง อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช

แร่ที่พบในพื้นที่ ต. ฉลอง อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช คือ “แร่ดีบุก” และ “แร่วุลแฟรม” แต่แร่ดีบุกจะมีค่ากว่าแร่วุลแฟร เพราะทำไปทำได้หลายอย่าง ปกติแร่ที่พบจะมี 2 แหล่ง คือ ลานแร่และสายแร่ สำหรับในพื้นที่แห่งนี้จะเป็นแบบ “ลานแร่” ขนาดของแร่ที่ได้จะเป็นขนาดไม่ใหญ่ ฝังตัวอยู่ในทรายตามลำน้ำ ใช้วิธีการร่อนแร่จึงจะได้แร่มา (แหล่งแร่ที่เกิดจากสายแร่ผุพังและถูกพัดพาโดยกระบวนการทางน้ำ) ส่วนสายแร่จะมีขนาดใหญ่เป็นทางยาว ใหญ่ อาจต้องใช้วิธีการระเบิดเพื่อให้ได้แร่ (สายแร่ส่วนใหญ่เกิดจากการตกตะกอนของแร่จากน้ำร้อนโดยผนังของหินเหย้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ การสะสมตัวของแร่เกิดขึ้นในช่องว่างของหินโดยไม่แทรกเข้าไปในชั้นหินเหย้า จึงสามารถแบ่งแยกขอบเขตของช่องว่างและเนื้อหินเหย้าได้อย่างชัดเจน) สำหรับในพื้นที่สิชลมี 2 บริษัทที่ทำเหมืองแร่แบบสายแร่ คือ เหมืองแร่วรพันธ์ (บ้านสำนักเนียน) และบริษัทแฟร์เบอร์เบอร์ลิน (บ้านยอดเหลือง)

ลักษณะการทำเหมืองแร่ของ ต. ฉลอง จะใช้เรือขุดและระบบสูบแร่ขึ้นไปบนราง ต่อจากนั้นจะมีเครื่องบด (Crusher) ทำการบดหินดินทรายที่ผสมมากับแร่ หลังจากนั้นจะถูกส่งต่อมายังเครื่องปั่น และมาสิ้นสุดที่โต๊ะสำหรับร่อนให้แร่แห้งและแยกแร่ออกพร้อมบรรจุขาย สมัยนั้นขายแบบ 60 กิโลกรัม/หาบ ปริมาณแร่ที่ได้ในแต่ละวันต่ำสุดอยู่ที่ 60 หาบ สูงสุด 100 กว่าหาบ เมื่อได้แร่แล้วผู้จัดการต้องทำการขอโค้วต้าไปยังตัวเมืองนครศรีธรรมราช และแร่เหล่านี้จะถูกขายต่อให้กับ “บริษัทไทยซาโก้” ซึ่งเป็นโรงถลุงแร่โรงเดียวในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ จ. ภูเก็ต แร่จากทั่วประเทศจะถูกลำเลียงมาถลุงที่นี้ทั้งสิ้น การลำเลียงแร่ไปยังบริษัทไทยซาโก้ ถูกกำหนดเส้นทางมาอย่างเคร่งครัดว่า ต้องผ่านเส้นทางใดบ้างเพื่อป้องกันการโจรกรรมแร่ ถ้าออกนอกเส้นทางจะถูกโดนดำเนินคดีทัน คุณนุศาสตร์เล่าต่อว่า แร่บางส่วนถูกลักลอบนำไปขายยังโรงถลุงแร่ที่ประเทศสิงคโปร์ด้วยเช่นกัน


29 พ.ค. 2567
230
พระวิษณุ ประติมากรรมนูนสูง

นายเนียม ประจันพล อายุ 87 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 15 บ้านราชพฤกษ์ ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช พบเทวรูปพระวิษณุที่โบราณสถานเขาคา บริเวณโบราณสถานหมายเลข 4 (ประมาณ 50 ปีมาแล้ว) และได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่บ้านตน ต่อมาได้มอบให้สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ได้รับมอบเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ปัจจุบันถูกจัดเก็บ ณ ห้องทะเบียน/ตู้เหล็ก/ชั้น 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ครั้งที่ค้นพบพระวิษณุได้ฝันว่า “มีคนมาบอกให้ไปบนเขาคา และจะมีของอยู่ตรงนั้น” ในฝันมีคนมาบอกว่า “ให้ไปนำพระวิษณุมาไว้ เดินขึ้นไปจะอยู่บริเวณเชิงเขาหลังโรงเรียนวัดสวนศิขรบรรพต ให้รีบไปนำมามาไว้เดี๋ยวนานไปจะมีการทับถมของดิน ของจะหายไป” หลังตื่นเช้ามานายเนียม ประจันพลได้ไปตามคำที่คนในฝันบอก ปรากฎว่า เดินขึ้นไปบนเชิงเขาก็พบกับ พระวิษณุตั้งอยู่ตรงตามที่คนในฝันบอก มีคนเดินขึ้นไปมากมายแต่ไม่พบ เมื่อนายเนียม ปนะจันพลเดินขึ้นไปกลับพบ พบปี พ.ศ. 2537-2538 โดยประมาณ หลังโรงเรียนวัดสวนศิขรบรรพต บริเวณเชิงเขาด้านหลัง เนื่องจากบริเวณนั้นเคยมีดินสไลด์มาจากเนินหมาย 2 บนเขาคา ตอนพบครั้งแรกเข้าใจว่า สิ่งที่พบคือพระพุทธรูปเศียรขาดกำลังจะนำไปต่อให้สมบูรณ์ เนื่องจากความเชื่อโบราณไม่ให้นำพระเศียรขาดมาไว้ที่บ้าน แต่นายจำรัส เพชรทับทราบข่าวจึงได้ให้ข้อมูลว่า นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปแต่คือพระวิษณุ อย่านำไปต่อ นายเนียม ประจันพลจึงนำมาเก็บไว้ที่บ้าน หลังจากนั้นสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราชลงพื้นที่มาตรวจสอบและยืนยันว่านี้คือ พระวิษณุจริง อายุราวศตวรรษที่ 12-13 ประมาณ 1,400 ปี ต่อมานายเนียม ประจันพลได้ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบันถูกจัดเก็บที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

29 พ.ค. 2567
277
ช้างแผ่นดุนทอง

ในราวปี พ.ศ. 2536-2538 ไม่แน่ชัด ราว ๆ 28-29 ปีมาแล้ว ขณะที่สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราชทำการบูรณะโบราณสถานเขาคา นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์กลับจากทำสวนแตงโม ได้เดินขึ้นไปบนเนินหมายเลข 2 บนเขาคา ซึ่งขณะนั้นมีการปรับปรุงพื้นที่บนเขาคาโดยสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช คนงานที่ปรับปรุงพื้นที่ได้ขุดไถดิน และรถไถได้ดันดินที่ไถไปทิ้ง นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์เดินผ่านมาจึงเห็นช้างแผ่นดุนทองวางอยู่บนกองดินที่ถูกนำไปทิ้ง ความฝันหลังจากได้ครอบครอง “ช้างแผ่นดุนทอง” หลังจากได้ครอบครองช้างแผ่นดุนทองแล้ว นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์ฝนว่ามีคนมาบอกว่า “ลูกเห้อ (ลูกเอ่ย) อย่าให้ไป ไว้ให้ลูกให้หลานอย่าเห็นแก่เงินแก่ทอง” นายวิลาศ เกียรติรุ่งโรจน์จึงเก็บไว้จนปัจจุบัน และหลังจากได้ครอบครองมีผู้คนแวะเวียนมาเยี่ยมชมมากมาย หลายคนถูกหวยรวยเบอร์เพราะเห็นเลขเด็ดบนแผ่นช้างดุนทองคำ

29 พ.ค. 2567
102
ศาลเจ้าตาปะขาว

นายเชาวลิต อิศรเดชให้ข้อมูลว่าตั้งแต่เขาเกิดก็เห็นศาลแห่งนี้แล้วแต่เป็นแค่ศาลเล็ก ๆ ทำด้วยสังกะสี เวลาผ่านไปมีเถ้าแก่ในสิชลมาปรับปรุง เช่น โกเส โกติ้น เฮ้งซุ้ย เป็นต้น ถือเป็นศาลแรกในปากน้ำ นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลว่า เริ่มต้นชุมตรงนี้มีกลุ่มคน 3 กลุ่มอาศัยอยู่คือ หนึ่งกลุ่มชาวจีนที่อพยพมากเมืองจีนโดยการล่องเรือใบจากไหหลำมาขึ้นฝั่งบริเวณนี้และตั้งรกรากที่นี้ เมื่อกลุ่มคนจีนอพยพมาจึงมาตั้งศาลเจ้าตาปะขาว กลุ่มที่สองคือมุสลิมมาทำประมงหาปลา กลุ่มที่สามคือชาวไทยเข้ามาเป็นลูกจ้าง พื้นที่บริเวณนี้แรกว่าปากน้ำสิชล เมื่อครั้งอดีตปากน้ำสิชลยังไม่มีวัดหรือสถานที่ไว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มชาวจีนจึงตั้งศาลเจ้าขึ้นมาเรียกว่า “ศาลตาปะขาว” เพื่อไว้เป็นที่สักการะเมื่อต้องออกเรือไปทำธุระกิจ เดิมที่มีการตั้งศาลเจ้าเล็ก ๆ ไว้ 1 ศาลอยู่ด้านล่างของศาลปัจจุบัน มีป้ายบอกชื่อศาลเจ้าว่า “ศาลเจ้าตาปะขาว” ด้านในจะมีไม้แกะสลักเป็นรูปเทพเจ้าต่าง ๆ ลักษณะเป็นรูปขุนศึก รูปแกะสลักเหล่านี้กลุ่มชาวจีนได้นำลงเรือมาจากเมืองจีนแล้วนำขึ้นมาสักการะยังสถานที่นี้ อายุของศาลเจ้าไม่ทราบแน่ชัด นายสุธรรม วิชชุไตรภพกล่าวว่า ตั้งแต่เกิดได้เห็นศาลเจ้าตั้งอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาคนรุ่นที่สองเช่น รุ่นบิดาของนายสุธรรม วิชชุไตรภพได้ร่วมกันพัฒนาศาลเจ้าจนมีความเจริญสูงสุดถึงขั้นรับคณะงิ้วมาแสดง (เริ่มประมาณปี พ.ศ. 2514) ต่อมามีการแสดงลิเก โนรา และหนังตะลุง และสุดท้ายคนรุ่นที่สามคือกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ได้มีการบริหารศาลเจ้าให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร้วมในการพัฒนาศาลเจ้า ใครสามารถเข้ามาเป็นเถ้าแก่ในการดูแลศาลเจ้าก็ได้โดยผ่านการสมัครเข้ามาและจะทำการทอดเบี้ย ในการตัดสินว่าใครจะได้เป็นเถ้าแก่ เถ้าแก่จะมีสิทธิ์ในการบริหารทุกอย่าง ส่วนผู้อาวุโสจะยกไว้เป็นที่ปรึกษา สำหรับความเชื่อของชาวปากน้ำที่ศรัทธาในศาลเจ้าตาปะขาวคือ เชื่อถือมาแต่ครั้งโบราณ และเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาต่อศาลเจ้าตาปะขาวคือ เหตุการณ์ไฟไหม้ที่ปากน้ำ ชาวบ้านรีบเข้าไปช่วยกันดับไฟ และเรื่องโรคติดต่ออหิวาตะกะโรค และสุดท้ายเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเรือญี่ปุ่นมาจอดที่ปากน้ำสิชลแต่เข้ามาไม่ได้ ทุกครั้งที่เกิดเหตุชาวบ้านจะเห็นตาปะขาวมาแสดงกายและช่วยให้เหตุการณ์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อที่มีต่อศาลตาปะขาวว่า ด้วยอาชีพประมงที่ทำอยู่ต้องเผชิญกับความอันตรายขณะออกทะเลจึงต้องหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ดังนั้นจึงเชื่อมั่นในศาลเจ้าตาปะขาวว่าสามารถคุ้มครองภัยให้กับชาวประมงได้ ทุกครั้งที่มีการออกเรือจะมีการบนบาน ขอพร จุดประทัดเพื่อเป็นการเบิกฤกษ์ มีการถวายหัวหมูบ้าง เครื่องไหว้เจ้าบ้างซึ่งชาวจีนเองมีประเพณีเหล่านี้อยู่แล้วก่อนออกเรือ เมื่อกล่าวถึงชาวจีนที่มาทำการค้าและครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินแถบนี้นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลว่า มี 3 คนคือ หนึ่งพื้นที่ปากน้ำสิชลถึงตลาดบนบริเวณนี้ที่เป็นตลาดและพื้นที่ส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) จะเป็นของแจ็กช้าว (ตระกูลชีวานิชย์) สองแ”จ็กหมายโก้” (ปัจจุบันนามสกุล ศิริชล) จะครอบครองที่ดินทั้งทะเลและภูเขา และสามแจ็กกิมหู้ (ตระกูลวิชชุไตรภพ มารดาของนายสุธรรม วิชชุไตรภพถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน) หากใครจะเข้ามาบริเวณนี้ค่อนข้างยากเพราะชาวจีนทั้งสามตระกูลข้างต้นได้ครอบครองหมดแล้ว กลุ่มคนทั้งสามนี้เองก็ศรัทธาในศาลตาปะขาวมาก นอกจากนี้นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในศาลตาปะขาวหลังเก่ากับหลังใหม่เป็นคนละองค์กันเพราะตำนานไม่เหมือนกัน ศาลตาปะขาวหลังใหม่สร้างโดยคนในพื้นที่ แต่ศาลตาปะขาวหลังเก่า (องค์เล็ก) สร้างโดยชาวจีนที่แล่นเรือใบมาตามล่าปลาจะละเม็ดดำ ตามล่ามาจนถึงที่ตรงนี้ซึ่งเรียกว่าท่าเรือไฟ มาติดลมพายุอยู่แรมเดือนจึงใช้เวลาที่ออกเรือไม่ได้มาตั้งศาลตาปะขาว เดิมบริเวณตรงนี้ที่ตั้งศาลเก่าเป็นป่ารก ด้วยเหตุนี้เองนายสุธรรม วิชชุไตรภพจึงลคาดการว่าศาลตรงนี้มาจากไหหลำและต้นตะกูลของนายสุธรรม วิชชุไตรภพเองก็จะไหว้ที่ศาลเก่าทุกปี บริเวณแถบนี้จึงเป็นชาวจีนไหหลำเสียส่วนใหญ่

29 พ.ค. 2567
92
ศาลพ่อขุนทะเล

สำหรับศาลพ่อขุนทะเลเป็นอีกศาลหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในบนิเวชณบ้านปากน้ำ กล่าวคือแต่เดิมบริเวณที่ตั้งศาลเป็นปากน้ำสิชลมีหินก้อนใหญ่อยู่ก้อนหนึ่ง เมื่อเรือวิ่งเข้ามาจะสะดุดก้อนหินก้อนนั้นส่งผลกระทบต่อการเดินเรือ ทำให้เวลาการเดินเรือช้าลง ทหารเรือจึงต้องมาดำนำเพื่อระเบิดหิน ครั้งนั้นทหารเรือเคยมาสร้างร่องน้ำแต่ไม่สำเร็จ กรมอุทกศาสตร์จึงต้องระเบิดหิน ขณะระเบิดเกิดอุบัติเหตุอยู่หลาบครั้งส่งผลให้ทหารไม่กล้าระเบิดอีกต่อไป กรมอุทกศาสตร์จึงเชิญนายกมลรองผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นมาทำพิธีจึงสามารถระเบิดหินได้ ขณะที่ทหารเรือกำลังระเบิดหินพบกับพวงมาลัยเรือเลยนำประดับไว้บนหิน (เมื่อก่อนที่ศาลจะมีหินอยู่ก้อนหนึ่ง) และตั้งชื่อเป็นศาลพ่อขุนทะเล ต่อมากลุ่มเกษตรกรสิชลระดมทุนสร้างศาลหลังจากนั้นเทศบาลสิชลเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ปัจจุบันเขตพื้นที่เป็นการดูแลของเทศบาล

29 พ.ค. 2567
157
เขื่อนกั้นทรายและคลื่นที่ร่องน้ำปากน้ำสิชล

"ที่มาของการสร้างเขื่อนกันน้ำที่ปากน้ำสิชล" ก่อนหน้านี้ตรงนี้ไม่มีเขื่อนหินกั้นน้ำ ตรงกลางจะเป็นร่องน้ำ หินไม่เสมอกันมีทั้งเล็กใหญ่ เวลาเรือเข้าจะวิ่งชนหินเหล่านั้นก่อให้เกิดความเสียหายเยอะมากจึงคิดสร้างเขื่อนกั้นน้ำขึ้นมา ประกอบกับที่หาดทรายตรงนี้เมื่อประทะกระแสน้ำก็จะพัดทรายเข้ามาทำให้ทรายเข้ามาต่อร่องน้ำเกือบติดกัน เมื่อน้ำเหนือมาน้ำจะท่วมและไหลเชี่ยว ปากร่องน้ำก็ถูกคลื่นลมกัดเซาะส่งผลให้ในอดีตแถบนี้เปรียบเสมือนสุสานเรือ ช่วงที่เผชิญปัญหาหนัก ๆ คือเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ช่วงนี้เรื่ออับปางเยอะ ปีหนึ่งเสียหายหลายร้อยล้าน เช่นเดียสกันกับปากน้ำท่าหมากและปากดวดที่ต้องเผชิญปัญหานี้จึงปิดตัวลง ส่วนเรือที่เข้ามาเมื่อก่อนจำกัดความหนักอยู่ที่ 10-15 ตัน แต่หลังจากสร้างเขื่อนสามารถให้เรือหนัก 40-50 ตันวิ่งเข้ามาได้ นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลว่า เขื่อนที่ปากน้ำสิชลนี้คือเขื่อนกั้นน้ำแรกในประเทศไทย เป็นความคิดในการแก้ปัญหาร่องน้ำได้อย่างไร จึงคิดว่าน่าจะมีเขื่อนกั้นทรายแบบนี้ขึ้นมา จึงยื่นหนังสือต่อรัฐบาลเพราะอนุมัติการสร้างเขื่อนกันทรายแห่งนี้ขึ้น สำหรับเขื่อนกั้นทรายที่ปากน้ำสิชลมี 2 เขื่อน สำหรับเขื่อนที่หนึ่งใช้เวลาถึง 15 ปีจึงดำเนินการสร้างเขื่อนกั้นทรายโดยใช้หินมาสร้าง เขื่อนตัวที่ 1 สร้างมาเกือบ 30 กว่าปีแล้ว หลังสร้างตัวที่หนึ่งสำหรับยังแก้ปัญหาได้ไม่สมบูรณ์จึงสร้างตัวที่สองขึ้นมาอีก เพราะหากมีเขื่อนแค่ฝั่งเดียวน้ำจะซัดเรือแตกอีกจึงขอสร้างเขื่อนที่ 2 ขึ้น เขื่อนตัวที่สองใช้เวลาขอรัฐบาลเพียงไม่ถึงปี โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้เขื่อนที่สร้างสมบูรณ์พร้อมรับเรือเข้า พร้อมกับส่งหนักสือไป 3 ฉบับถึงรัฐบาล ฉบับที่ 1 บอกเหตุผลของการสร้างเขื่อนเพิ่ม ฉบับที่ 2 เพื่อสอบถามการดำเนินการสร้าง และฉบับที่ 3 เพื่อขอบคุณที่มาสร้างเขื่อนให้ชาวปากน้ำสิชล เขื่อนตัวแรกใช้เวลาสร้างห่างจากตัวที่สองประมาณ 2-3 ปี นายสุธรรม วิชชุไตรภพให้ข้อมูลเสริมว่า เขื่อนแห่งนี้ถือเป็นเขื่อนแรกและเขื่อนต้นแบบให้ที่อิ่น ๆ แก้ปัญหาเรืออับปาง เขื่อนเช่นนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยแท้

29 พ.ค. 2567
242
วัดนาแล

แต่เดิมวัดนาแลชาวบ้านเรียกว่าแลนา เพราะพื้นที่วัดเป็นนา ส่วนคำว่าแลนามาจาก ณ สถานที่แห่งนี้มีเจดีย์โบราณ 1 องค์มีพระพุทธรูปบนเจดีย์ชาวบ้านจึงเชื่อว่า พระท่านกำลังนั่งแลนา ในกาลต่อมาเลยเพี้ยนกลายมาเป็นนาแล ต่อมามีผู้คนเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงมีการทำนา ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักจึงอาจเป็นที่มาว่าชื่อบ้านนาแลที่เพี้ยนมาจากนั่งแล เดิมวัดนาแลเป็นที่เลี้ยงควายเพราะไม่มีประตูและรั้ววัด ลานวัดก็ไม่มีใช้ลานต้นพิกุนทำกิจกรรม พื้นที่ก็ต่ำเวลาฝนตกจะนั่งไม่ได้ หลังจากท่านพระครูอินทวัชรคุณเป็นเจ้าอาวาสจึงพัฒนาในหลาย ๆ อย่าง ท่านชอบเดินทางไปยังวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศเพื่อดูว่า วัดอื่นเขาพัฒนากันอย่างไรแล้วจึงกลับมาพัฒนาวัดนาแลให้ดีขึ้นโดยร่วมกับนายบรรเจิดซึ่งเป็นพระเพื่อนที่บวชอยู่ในขณะนั่น (เจ้าของร้านขายกะปิเจ๊พา) พัฒนาวัด มีการปรับพื้นที่ถมทราย บูรณะโรงครัว สร้างโบสถ์ โรงธรรม อาคาร และเมรุใหม่ นอกจากนี้ยังรณรงค์เรื่องความสะอาดให้เกิดขึ้นในวัด เมื่อชาวบ้านเห็นจึงช่วยกันรักษาความสะอาดและเห็นความสำคัญของวัดนาแลมากขึ้น ต่อมาได้สร้างรั้วล้อมวัดเพื่อไม่ให้ควายเข้ามาในวัด และปิดประตูด้านทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ปิดทางทิศใต้ คงไว้แค่ประตูด้านทิศเหนือ เพราะท่านพระครูท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์ให้คำแนะนำว่า ควรปิดประตูทั้ง 3 ด้าน หากไม่ปิดวัดจะไม่เจริญ เพราะการมีประตู 3 ทางเหมือนวัดอกแตก และแบ่งระหว่างเขตของสงฆ์และเขตฆารวาสอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่งพระครูอินทวัชรคุณได้แต่งบทประพันธ์เกี่ยวกับวัดนาแลไว้ว่า “วัดนาแลพระ วัดคงอร่ามด้วยประชาดีแล นาอยู่คงบุญญาถ่องแท้ แลลิ่วลิบลับตานาดูมากนา พระอยู่สงัดพำนักแท้แก่คู่.... พ่อท่านจีน พ่อท่านร่าน พ่อท่านเพชร (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) ได้สร้างโรงเรียน และทำคุณประโยชน์แก่ชุมชน สังคม บ้านเมืองมากมาย และพัฒนาวัด บำรุงโรงเรียน สอนศาสนาผู้คนอย่างต่อเนื่องจนเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของผู้คนใกล้ใกล จนใน ปี 2558 ทางวัดได้นำอิฐโบราณมาแปรรูปทำเป็นเจดีย์ โดยประดิษฐานไว้ที่เดิม ที่เคยมีเจดีย์องค์เดิมอยู่ โดยภายในบรรจุ พระธาตุ และอัฐิธาตุของพ่อท่านสงค์ พ่อท่านจีน และ พ่อท่านร่านด้วย โดยอิฐทั้งหมดสมัยก่อนพ่อท่านจีนท่านได้รื้อซากเจดีย์และอิฐต่างๆมาสร้างเสนาสนะภายในวัดและเอาไปสร้างโรงเรียน ซึ่งในภายหลังเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก็ได้นำกลับมาจากอาคารเก่าเกือบทั้งหมด


29 พ.ค. 2567
120
เจดีย์วัดนาแล

ณ วัดสโมสรสันนิบาต (นาแล) มีเจดีย์ที่มีพระนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก (หันออกนา มีนาด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของวัด) พระที่ประดิษฐานในเจดีย์มีความสูงประมาณ 10 นิ้ว ปัจจุบันเหลืออยู่องค์ 1 อีกองค์หนึ่งเพื่อนของพ่อท่านจีนนำไปประดิษฐานที่วัดแถวปากพนัง พระที่พบอายุราวช่วงสมัยอยุธยา ขุดพบมาแล้ว 130 ปี เจดีย์มีอยู่ 2 องค์ แต่ไม่มียอดสร้างไว้เพียงคอระฆัง เนื่องจากตำนานที่ว่ากันว่า มีลายแทงสมบัติหากใครได้ไปนั่งบนเจดีย์แล้วเพ่งตามแสงตามทิศลงในนาก็จะพบสมบัติ และเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา บ้างก็ว่ามีพระพุทธรูปอยู่บนเจดีย์นั้นคอยมองมาที่นาอยู่เสมอเลยเรียกตามอาการของพระพุทธรูปองค์นั้นว่าแลนา ชาวบ้านเองก็เล่าลือว่า หากนั่งบนคอระฆังเจดีย์แล้วสายตาของผู้นั่งจะต้องไปตกที่ตรงนั้น เมื่อมีผู้ทดลองมากขึ้นจึงเกิดความสงสัยว่าบริเวณนี้น่าจะมีอะไรสักอย่างหนึ่งจึงมีการขุดหาสมบัติจากคำว่านั่งแล แต่ไม่ทราบว่าผู้ที่ขุดได้สมบัติอะไรบ้าง ในเจดีย์พบอิฐโบราณและหม้อดินที่ใส่กระดูก อิฐเป็นอิฐโบราณขาดครึ่งนิ้วจะได้ความยาว 15 นิ้ว ขาดครึ่งนิ้วจะได้ความกว้าง 4 นิ้ว ในปี พ.ศ. 2532 ทางสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราชได้มาเก็บไปหมดแล้ว ครั้งหนึ่งเจดีย์ถูกรื้อและสร้างโบสถ์แต่ปัจจุบันโบสถ์ถูกรื้อและสร้างเจดีย์องค์จำลองไว้ให้เป็นเหมือนเดิม

29 พ.ค. 2567
110
เจดีย์โบราณหน้าวัดเขาน้อย

ภายในเจดีย์มีการบรรจุกระดูกเอาไว้ด้วย สันนิษฐานว่ากระดูกนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกแบ่งมาจากของพระพยมวัง เนื่องจากสมัยนั้นตอนที่พระพนมวังและนางสะเดียงทองมอบหมายหน้าที่ให้ลูกหลานไปหักป่าให้เป็นนาในเมืองต่าง ๆ ได้ส่งเจ้าเชียงแสนซึ่งเป็นหลานของนางสะเดียงทองมาที่เมืองอลองเพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำนา ส่วนให้เมื่อลูกหลานเดินทางไปที่ใดมักนำกระดูกของพระพนมวังไปด้วยทุกที่ ฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่ากระดูกนั้นคือของพระพนมวังซึ่งอายุของกระดูกประมาณ 700 ปี

29 พ.ค. 2567
110
ศาลเจ้าโคกหลา

ศาลเจ้าโคกหลาแห่งนี้เป็นศาลเจ้าชาวไทยเชื้อสายจีน โคกหลาคือหลา (ศาลา) เก่า ที่ตั้งอยู่บนเนินสูงซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่า โคก ครั้งอดีตเมื่อถึงประเพณีชักพระเดือน 11 (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) ชาวบ้านละแวกวัดเขาน้อยจะประดับเรือพนมพระและเรือพนมพระถูกลากจากวัดเขาน้อย ผ่านทุ่งนาและค้างแรมที่โคกหลา 1 คืน ก่อนจะลากลับมาที่วัดเขาน้อยอีกครั้งในวันถัดไป สมัยนั้นใช้หนวน (หนวนหรือหลวน เป็นคำที่คนท้องถิ่นในภาคใต้ใช้เรียกพาหนะที่คล้ายเกวียนแต่ไม่มีล้อ ซึ่งทั่วไปจะหมายถึง เลื่อน ที่ใช้บรรทุกของหนัก) ในการลาก ตามความเชื่อที่ลากไปโคกหลาเพราะต้องการลากเพื่อให้เกิดเป็นพิธี ไม่ต้องลากไปไกลก็ได้แต่ตลอดคืนที่เรือพนมพระไปค้างคืนจะต้องมีคนคุมอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันการลากพระได้เปลี่ยนไปเป็นการค้างคืนที่หน้าอำเภอสิชลแทน

29 พ.ค. 2567
89
พ่อท่านเขาเกียรติ

พ่อท่านเขาเกียรติ คือพระประธานองค์ใหญ่ของวัดเขาเกียรติ (วัดเขาเกียรติ ตั้งอยู่หัวเขาเกียรติทางด้านทิศเหนือ) อายุไม่ต่ำกว่า 300 ปี โดยชาวบ้านเชื่อว่า เป็นพระประธานสมัยอยุทธยาตอนกลาง กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2234 ประเพทราชายกทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราช ตามหลักฐานบอกไว้ว่าศึกครานั้นพระเพทราชาได้สร้างพระพุทธรูปไว้ที่วัดเขาเกียรติ 1 องค์ จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่าพระประธานองค์นี้ถูกสร้างในสมัยนั้น นายชัยชนะ ใจสบาย อายุ 66 ปี บอกว่า เมื่อก่อนมีเจดีย์อยู่บนเขาเกียรติองค์หนึ่งแต่มีแค่อิฐ เล่าลือกันว่าถูกช้างแทงจนพังทลายลง บริเวณฐานของเจดีย์ยังพบหัวนะโมโบราณจำนวนมาก ปัจจุบันอิฐเหล่านั้นถูกนำมาไว้ด้านล่างและสร้างที่ประดิษฐานพ่อท่านเขาเกียรติเอาไว้

29 พ.ค. 2567
379
ศาลาเทดา (เทวดา) เขาพลีเมือง

ทุกครั้งที่จะขึ้นไปขุดขี้ค้างคาวนายเสกสันต์ นาคกลัดจะขอเทดาเขาพลีเมืองเสมอว่า ขอขึ้นไปขุดขี้ค้างคาวเพื่อดำรงชีพและจะปลอดภัยทุกครั้ง เดิมบริเวณนี้เป็นทุ่งกว้าง เป็นป่าไส มีต้นไม้ขนาดเล็ก ชาวบ้านเล่าลือกันว่า ดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์มีเทดา (เทวดา) อารักษ์อยู่ ทุกครั้งที่มีการนำคนมาฆ่าจะมีผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่ยืนคล่อมตัวคนที่จะถูกฆ่าเสมอ ชาวบ้านเล่าาบต่อกันว่า เทดาที่คุ้มครองพื้นที่แห่งนี้คือ เทดาทุ่งพลีเมือง ชาวบ้านต่างมาขอพร สมัยก่อนที่จะมีศาลาเทดา เวลาชาวบ้านขอพรได้ตามหวังจะแก้บนกันตลอดแนวเขา ครั้งหนึ่งเคยมีการจ้างรถตักหน้าขุดหลังมาไถที่แต่รถกลับเสียขุดต่อไม้ได้ ตกกลางคืนมีเสือมานอนเฝ้าหน้ารถจึงมีการบนบานว่า ขอให้รถสตาร์ทติดและทำงานได้อย่างราบรื่น จากคำขอที่ว่า หากเป็นตามคำขอจะมาสร้างศาลาให้ท่านเทดา ณ จุดนี้ (คือบริเวณหน้าถ้ำพลีเมืองที่พบศิวลึงค์) ศาลาเทดาจึงถูกสร้างขึ้นและมีการปั้นเสือคู่กัน นายเสกสันต์ นาคกลัดเล่าว่า หลังจากพบศิงลึงค์องค์ที่ 1 เขามีสัมผัสสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องราวในอดีตได้ ประกอบกับมีพระมาช่วยเบิกเนตรจึงทำให้ทราบว่า ตรงบริเวณใดใช้ประกอบพิธีกรรมอะไร นอกจากนี้บริเวณริมป่าตามแนวตีนเขายังพบแผ่นกินโบราณที่ถูกสกัดไว้เป็นแผ่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกหลายแผ่นที่วางซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ นายสุรินทร์ ชนสินธุ์เล่าว่า ครั้งเป็นเด็กครูเคยให้มาขนแผ่นหินไปไว้ในวัดจอมทองเพื่อเป็นแหล่งศึกษาด้วย นอกจากนี้สมัยที่ชาวบ้านยังไถนากับควาย ขณะไถนาหัวคันไถเกิดไปสะดุดเจอพานทองเหลือง ด้านในมีเครื่องเส้นไหว้หลายอย่าง เช่น เหรียญ เต้าปูนสัมริด หลังจากพบสิ่งของเหล่านี้คนที่พบได้เรียกขาวบ้านที่ทำนาบริเวณใกล้เคียงให้มาดูและแบ่งของที่พบให้คนที่มาดูจนหมด ต่อจากนั้นมีคนชื่อว่านายปลื้มมาขุดเพื้อหาสมบัติต่อจากที่พบพานใส่เครื่องเส้นไหว้ ยิ่งขุดไปเรื่อย ๆ ยิ่งเจอน้ำและขุดไปเรื่อย ๆ จนไปสิ้นสุดที่ยอดจอมปลวก นายปลื้มบอกว่า ไม่ขุดต่อแล้วเพราะเจอแต่ขี้ควายทั้งนั้น ชาวบ้านต่างเชื่อว่าที่นายปลื้มไม่พบสมบัติเพราะไม่มีศรัทธาต่อสิ่งที่พบ และสิ่งที่พบสันนิษฐานว่าอาจ 130 ปีล่วงมาแล้ว

29 พ.ค. 2567
61
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนหักหาย สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ได้จากวัดนาขอม อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ.2511 ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อาคารจัดแสดงโถง

29 พ.ค. 2567
97
ศิวลึงค์ ฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนแหว่ง สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

ได้จากวัดนาขอม อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. 2511
ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อาคารจัดแสดงโถง

29 พ.ค. 2567
80
ศิวลึงค์ ฐาน 4 เหลี่ยม และ 8 เหลี่ยม สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง

พบในบริเวณโบราณสถานที่ดินของ นายลิขิต เห็นจริง บ้านสระกูด ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อาคารจัดแสดงห้องพราหมณ์ ฮินดู ในตู้รูปตัว U

29 พ.ค. 2567
83
ศิวลึงค์

หน่วยศิลปากรที่ 8 ได้จากการขุดแต่งฯโบราณสถานเขาคา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2532 มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2533 ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อาคารโถง

29 พ.ค. 2567
293
ผอบดินเผา พร้อมฝา

นายเสกสันต์ นาคกลัด ได้มาจากถ้ำเขาพลีเมือง ต.สิชล อ.สิชล จ.นครศรีฯ มอบให้เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2557 โดยได้รับเงินรางวัล (สองชิ้น) 450,000 บาท
ปัจจุบันตัดแสดงที่ห้องพราหมณ์ ฮินดู ตู้ศิวลึงค์ทองคำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

29 พ.ค. 2567
280
ผอบหิน พร้อมฝา

นายเสกสันต์ นาคกลัด ได้มาจากถ้ำเขาพลีเมือง ต.สิชล อ.สิชล จ.นครศรีฯ มอบให้เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2557 โดยได้รับเงินรางวัล (สองชิ้น) 450,000 บาท ปัจจุบันจัดแสดงที่อาคารจัดแสดง ห้องพราหมณ์-ฮินดู ตู้ศิวลึงค์ทองคำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช

29 พ.ค. 2567
93
พระวิษณุ พระวิษณุ/นารายณ์

พบในซากเทวสถานบ้านพังกำ กรมศิลปากรได้รับมอบมาจาก นายมาตร หงษ์ชู โดยมอบเงินรางวัลให้แก่ผู้พบ 50,000 บาท เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2526 ปัจจุบันจัดแสดงที่อาคารจัดแสดงห้องพราหมณ์-ฮินดู ในตู้รูปตัว U พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

29 พ.ค. 2567
256
พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สภาพชำรุด ไม่แข็งแรง

พบในบริเวณวัดจอมทอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช รับมาจาก วัดจอมทอง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2511 ปัจจุบันตัดแสดงที่อาคารจัดแสดงห้องพระพุทธศาสนา ตู้ M 1 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

29 พ.ค. 2567
343
พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม

พบที่วัดนาขอม อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช นายลภ ดำรักษ์ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2518 ปัจจุบันจัดแสดงที่อาคารจัดแสดง ห้องพระพุทธศาสนา ตู้ M 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

29 พ.ค. 2567
271
ชิ้นส่วนยอดสถูป

หน่วยศิลปากรที่ 8 ได้จากการขุดแต่งฯโบราณสถานเขาคา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2533 (ขุดแต่งปี 2531) ปัจจุบันจัดแสดงที่ คลังบน 2 ตู้เหล็ก 10 ชั้น 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

29 พ.ค. 2567
101
พระวิษณุศิลา/เทวรูปพระนารายณ์

พบที่วัดจอมทอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช